ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเปลี่ยนจากรถยนต์เป็นรถขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

งานวิิจัย



ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นรถขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร FACTORS AFFECTING INTENTION TO SHIFT MODE FROM PRIVATE CAR TO PUBLIC TRANSPORT IN BANGKOK


ผู้วิจัย



นายวีรพงษ์ ชมภูนุช นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร. สรวิศ นฤปิติ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์


บทคัดย่อ



งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบ ปัจจัยเชิงจิตวิทยา ของผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางเป็นการใช้รถขนส่งสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้ที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลไปทำงานเป็นประจำในกรุงเทพมหานครจำนวน 557 ตัวอย่าง การสำรวจข้อมูล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยข้อมูลที่ได้ถูกนำไปวิเคราะห์เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนที่สองการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis, CFA) และส่วนสุดท้ายการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling, SEM) งานวิจัยนี้สร้าง และตรวจสอบตัวแปรแฝงที่สามารถอธิบายพฤติกรรมความตั้งใจที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางเป็นรถขนส่งสาธารณะโดยมี ตัวแปรแฝง 3 ด้าน ประกอบไปด้วย ทัศนคติที่มีต่อรถขนส่งสาธารณะ การคล้อยตามบุคคลรอบข้าง และการรับรู้ถึงความยากง่ายในการเดินทาง โดยถูกสร้าง และเชื่อมโยงกับพฤติกรรมความตั้งใจตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแบบแผน (TPB) ผลการวิจัย พบว่า การคล้อยตามบุคคลรอบข้าง ส่งผลมากที่สุดต่อความตั้งใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง ความเคยชินมีผลกระทบน้อยต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง และตัวแปรด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้เดินทาง รายได้ ลักษณะการเดินทาง และระยะทางการเดินทาง ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางด้วยเช่นกัน ตัวแปรแฝงทั้งหมดจะถูกรวมเข้าไปในแบบจำลองซึ่งสามารถอธิบายพฤติกรรมความตั้งใจใช้รถขนส่งสาธารณะได้ถึง 45% และผลของงานวิจัยนี้สามารถสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทาง และบ่งบอกถึงตัวแปรแฝงที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เพื่อที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมการใช้รถขนส่งสาธารณะจากตัวแฝงที่ได้


Abstract



This research aimed to explore psychological factors by private vehicle users that influence willingness to use public transport. The target groups were People who usually swith mode to private vehicle to work in Bangkok. The total of 557 samples was collected by interview methods. The data were analyzed in three parts: Descriptive statistics, Confirmatory Factor Analysis (CFA), Structural Equation Modeling (SEM) method. The focus was the construction of latent variables that could explain the behavioral intention to switch mode from private vehicle to public transport. Three latent variables, namely attitudes, subjective norm, and perceived behavioral control were constructed and linked with behavioral intention according to the Theory of planned behavior. It is found that subjective norm has the greatest influence, among three latent variables, in the mode change intention. The habit variable has little influence to the decision. Personal characteristics of travelers, income, travel characteristics, and distance of travel, also affect the mode switch decision. With these latent variables, the combined model could explain approximately 45% of the behavior. The results of the research bring about more understanding on travel behaviors and imply the influence of these variables on mode change decision Transport planners therefore could target the promotion of public transport at these latent variables.


เครื่องมือส่วนตัว