ฐาปนวัฒน์ สุขปาละ

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 02:54, 13 พฤศจิกายน 2555 โดย 53786133 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

การเปรียบเทียบการฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่งและการปั่นจักรยาน การเปรียบเทียบการฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่งและการปั่นจักรยานที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิกและแอโรบิกของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ฐาปนวัฒน์ สุขปาละ และวิชิต คนึงสุขเกษม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่งและการปั่นจักรยานที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิกและแอโรบิกของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชายของทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18 – 22 ปี จำนวน 27 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 9 คน ได้แก่ กลุ่มฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่ง กลุ่มฝึกแบบสลับช่วงด้วยการปั่นจักรยาน และกลุ่มควบคุม ฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิกและแอโรบิก ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละการเปลี่ยนแปลง และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ภายในแต่ละกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of Variance) โดยหากพบความแตกต่าง จึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของแอลเอสดี ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย หลังการทดลอง 6 สัปดาห์พบว่า กลุ่มฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่งและกลุ่มฝึกแบบสลับช่วงด้วยการปั่นจักรยาน มีผลการพัฒนาค่าเฉลี่ยพลังแบบแอนแอโรบิก ความสามารถสูงสุดแบบแอนแอโรบิก และเวลาในการทดสอบด้วยวิธีของบรูซ สูงกว่ากลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดัชนีความเหนื่อยล้ามีเพียงกลุ่มทดลองที่ 1 ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร้อยละดัชนีความเหนื่อยล้ามีเพียงกลุ่มควบคุมที่มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทั้ง 3 กลุ่ม สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกแบบสลับช่วงด้วยการวิ่งและการฝึกแบบสลับช่วงด้วยการปั่นจักรยานที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ สามารถที่จะพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิก ในด้านพลังแบบแอนแอโรบิกและความสามารถสูงสุดแบบแอนแอโรบิก และความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกในด้านเวลาที่ใช้ในการทดสอบด้วยวิธีของบรูซ ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชายได้ โดยไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: การฝึกแบบสลับช่วง / ความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิก /ความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิก

เครื่องมือส่วนตัว