การบำบัดผสมผสานแบบสั้น
จาก ChulaPedia
หัวข้อ
ผลของโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นโดยใช้การเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการเสพสุราในผู้เสพติดสุรา (Effects of Brief Intervention Program Using Integrated Motivational Interviewing and Cognitive Behavioral Restructuring on Depression and Alcohol Consumption Among Alcohol Dependence) ผู้วิจัย เรืออากาศเอกหญิงพัชชราวลัย กนกจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.เพ็ญพักตร์ อุทิศ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นโดยใช้การเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการเสพสุราในผู้เสพติดสุรา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพติดสุราที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันธัญญารักษ์ จำนวน 36 คน ได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)โปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นฯ 2)แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Beck 3)แบบประเมินพฤติกรรมการเสพสุรา (AUDIT) 4)แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ และ 5) แบบวัดขั้นตอนของความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษา (SOCRATES – 8A) แบบประเมินทั้ง 4 ชุดมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .81, .71, .94 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการเสพสุราของผู้เสพติดสุราหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นฯ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการเสพสุราของผู้เสพติดสุราหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นฯลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ การบำบัดแบบสั้น การเสริมสร้างแรงจูงใจ การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการเสพสุรา ผู้เสพติดสุรา