พื้นที่ซ้อมขีดเขียน

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

[ [ ไฟล์:นันทนจิต_(LEISURE)_แนวคิดที่ควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้.pdf ] ]

ชีวิตของนิสิตปรัชญาคงหนีไม่พ้นการอ่าน เรียกได้ว่าเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการอ่าน มากกว่าการกระทำอย่างอื่น เช่นพูด ฟังกับเขียน อันที่จริงทั้งสี่อย่างนี้ก็เป็นกิจกรรมหลักของนิสิตปรัชญาทุกคน แต่ผมเชื่อว่าเวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการอ่านมากกว่าอย่างอื่น ผมได้ให้ลิงค์เกี่ยวกับข้อแนะนำในการอ่านบทความปรัชญาไปบ้าง ก็คิดว่าเป็นประโยชน์พอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม คิดว่าเราน่าจะมีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นภาษาไทยในบริบทที่ใกล้ตัวเราบ้าง ปัญหาหลักที่ผมพบเกี่ยวกับการอ่านงานทางปรัชญาก็คือว่า เรื่องที่อ่านยากเกินไป อันนี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุด หลายคนบ่นว่าปัญหาอยู่ที่ภาษาอังกฤษ จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะถ้าเรื่องไม่ยาก ก็ย่อมทำความเข้าใจกับภาษาไปได้ แต่บทความทางปรัชญายากเพราะว่า คนเขียนถือว่า คนอ่านควรจะมีความรู้พื้นฐานมาก่อนแล้ว บทความโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวารสารดังๆ เช่น Ethics, Mind หรือ Journal of Philosophy อ่านยากทั้งนั้น แม้กระทั่งอาจารย์ปรัชญาชาวตะวันตกเอง ก็ยังบอกว่ายาก และจะไม่ไปอ่านถ้าไม่จำเป็น มีน้อยมากๆที่จะมีอาจารย์ปรัชญาคนไหนจะหยิบวารสารเหล่านี้ขึ้นมาอ่าน ราวกับอ่าน magazine ทำอย่างนั้นไม่ได้ และคนที่ทำแสดงว่าไม่รู้วิธีการวิจัยทางปรัชญาจริงๆ สิ่งที่นักปรัชญาทำเป็นหลัก ก็คือคุยกัน (กับกินเบียร์) แล้วจะอ่านบทความในวารสารเหล่านี้ก็ต่อเมื่อ มีโครงการที่เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องอ่านโดยตรง เช่นจะเขียนบทความในหัวข้อเดียวกัน หรืออะไรทำนองนี้ ไม่มีใครที่อยู่ดีๆลุกขึ้นมาอ่าน Mind ราวกับว่าเป็นการอ่านผ่อนคลายหลังอาหาร แล้วทีนี้ถ้าเราต้องอ่าน เพราะเป็นนิสิตและถูกบังคับให้อ่าน จะทำอย่างไร? สิ่งแรกก็คือ เราต้องจัดการให้ตัวเราเองมีพื้นความรู้พอที่จะอ่านบทความเหล่านี้ได้รู้เรื่อง เรื่องนี้ไม่ถึงกับยากมาก แต่ต้องใช้เวลา นิสิตในโลกตะวันตกส่วนมากมีภาษีดีกว่าเรา เพราะเขาอ่านหนังสือปรัชญามาเป็นเวลานาน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่เป็นอย่างนั้น คนที่ไม่มีพื้นมาก็ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น เดี๋ยวนี้มีตัวช่วยเยอะ เช่น encyclopedia ที่อยู่ออนไลน์ เขียนโดยนักปรัชญาเก่งๆ เชื่อถือได้ เช่น Stanford Encyclopedia หรือ Internet Encyclopedia (ของ Stanford ดีกว่า) ก็สามารถช่วยเรื่องพื้นความรู้ได้มาก (ที่มีคนแนะนำว่า อย่าไปอ่าน encyclopedia พวกนี้เพราะเป็นความรู้พื้นๆ ก็อย่าไปซีเรียสกับเขามาก เพราะเขาเน้นเฉพาะความรู้เฉพาะทางแคบๆที่ปรากฏใน journal ที่ไม่มีใครอ่านอยู่แล้ว เรียนปรัชญานั้น รู้ยิ่งกว้างยิ่งดี) ทีนี้เมื่อมีพื้นความรู้แล้ว ยังไงต่อ? ก็มาถึงเรื่องภาษา เรื่องนี้ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนต้องช่วยตนเอง ถ้าหากจะให้ผมอธิบายเรื่องศิลปะการอ่านภาษาอังกฤษ ก็ต้องเป็นอีกเรื่องนึง แล้วก็ต้องเปิดอีก blog นึงต่างหาก ดังนั้นจึงขอข้ามเรื่องภาษาไป เอาเฉพาะเนื้อหาปรัชญาล้วนๆ เมื่อเราผ่านพ้นปัญหาเรื่องภาษาไปได้แล้ว สิ่งที่เราทำต่อไปก็คือว่า ถ้าบทความนั้นๆมี abstract นั่นคือสิ่งแรกที่เราอ่าน แต่บางที abstract จะอ่านยากกว่าตัวเนื้อหา เพราะคนเขียนพยายามบรรจุเนื้อหาทั้งหมดไว้ในเนื้อที่สั้นๆ ที่บรรณาธิการกำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อ้อลืมอีกเรื่องที่สำคัญ ก่อนจะอ่าน abstract เราต้องอ่านชื่อเรื่อง และทำความเข้าใจชื่อเรื่องให้แตกฉานเสียก่อน ตรงนี้ต้องใส่ bold face เพราะสำคัญมาก นิสิตหลายคนอ่านบทความไม่รู้เรื่อง เพราะไม่รู้แม้กระทั่งว่าคนเขียนมีภาพรวมอะไรในการเขียนบทความนั้น แทนที่จะมองภาพรวม แต่กลับไปดูรายละเอียดปลีกย่อยทีละประโยคๆ แล้วก็ใช้ความพยายามมหาศาล ซึ่งนับว่าเป็นการใช้พลังงานผิดประเภท เป็นการสิ้นเปลืองมาก (เอาเวลาไปดูฟุตบอลดีกว่า) หลายๆครั้งเราสามารถมองเห็นภาพรวม และทิศทางของบทความได้จากเพียงแค่ชื่อเรื่องเท่านั้น ตัวอย่างที่ผมชอบก็คือบทความเรื่อง “What is it Like to be a Bat?” ของ Thomas Nagel ทีนี้ชื่อนี้แปลเป็นไทยได้ว่า “การเป็นค้างคาวมันเป็นอย่างไร?” ซึ่งเป็นชื่อที่ดีมาก เพราะกำหนดปัญหาของบทความ และนำไปสู่ประเด็นหลักของผู้เขียน ได้แก่การเสนอว่า ภาพอันเป็นอัตวิสัยนั้นไม่สามารถลดทอนลงเป็นคำบรรยายในเชิงภววิสัย หรือในเชิงสาธารณะได้ เนื่องจากมนุษย์ไม่อาจรู้ได้ว่าการเป็นค้างคาวนั้นเป็นอย่างไร เพราะมนุษย์ขาดความสามารถที่จะรับรู้คลื่นเสียงระดับ ultrasonic ที่ค้าวคาวมีแต่มนุษย์ไม่มี ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีรู้ได้ว่า การเป็นค้าวคาวเป็นอย่างไร จะเห็นได้ว่า แค่การวิเคราะห์ชื่อบทความก็ทำให้เราเข้าใจแนวทางหลักของบทความนั้นๆแล้ว ข้อแนะนำอีกอย่างก็คือว่า ถ้าหากว่าเราไม่ได้วิเคราะห์การอ้างเหตุผลของบทความนั้น เพื่อไปเขียน paper หรือไปทำอะไรในทำนองเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องอ่านบทความทุกตัวอักษร นักปรัชญาบางคนละเอียดลออกับการใช้ภาษามากๆ ซึ่งทำให้ถ้าเราอ่านของเขาทุกตัวอักษร นอกจากเราจะงงแล้ว เราอาจไม่รู้เรื่องไปเลยก็ได้ แทนที่จะรู้เรื่องมากขึ้นเมื่ออ่านทุกตัวอย่างที่เราอาจเข้าใจตั้งแต่ต้น H. P. Grice ถือเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งในยุคนี้ แต่ข้อเขียนของเขาอ่านค่อนข้างยาก ไม่ใช่เพราะว่าเนื้อหายาก เนื้อหาจริงๆไม่มีอะไรมากไปกว่าที่จะสรุปได้สั้นๆ แต่ที่ยากอยู่ความละเอียดของเขาในการอ้างเหตุผล ซึ่งถ้าเรารู้โครงสร้างคร่าวๆของการอ้างเหตุผลนั้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปอ่านละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรากำลังเขียน paper แล้วจะ quote Grice เพียงสั้นๆ การอ่านบทความของเขาทั้งหมดจะถือเป็นการเสียเวลา และแสดงว่าคนเขียน paper ทำงานยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก ดังนั้น ถ้าจะสรุป ก็คือว่า การอ่านปรัชญาของเราจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการอ่านนั้นๆเป็นสำคัญ ถ้าอ่านเพื่อเอาไปแค่เล่าให้เพื่อนฟังในชั้นเรียน หรือเอาไปอภิปราย เราไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมดทุกตัวอักษร เอาให้ได้ใจความสำคัญก็พอแล้ว เพราะการอภิปรายนั้นเราไม่ได้เจาะอ่านไปทีละประโยค ทำอย่างนั้นไม่ใช่การอภิปราย แต่เราเอาใจความสำคัญมาคิดต่อ เช่น เราอ่านบทความเรื่องค้าวคาวของ Nagel แล้วเราก็คิดต่อว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าสภาวะอันเป็นอัตวิสัยไม่สามารถทอนลงไปเป็นภววิสัยได้? หัวใจสำคัญของการเรียนปรัชญาไม่ใช่อยู่ที่ว่า เราแปลบทความที่เราอ่านได้หมดทุกประโยค หรือจำที่เขาเขียนได้ทุกหัวข้อ แต่อยู่ที่ว่าเราเองมี “ปฏิสัมพันธ์” อย่างไรกับเรื่องที่เราอ่าน และเรามีท่าทีต่อปัญหาหรือหัวข้อนั้นอย่างไรต่างหาก โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาจาก http://philoflanguage.wordpress.com/2008/10/27/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2/
บทความล่าสุด
บทความที่นิยมสุด

test1


แม่แบบ:1 | [2] 3 #REDIRECT5 6 7 8
9
[1]
  1. 10
12 13


ไฟล์:001.jpgสื่อ:001.jpg


--Pworawit 08:15, 18 สิงหาคม 2553 (BST) ไฟล์:002.jpg


อ้างอิง

เครื่องมือส่วนตัว