นันทนจิต
จาก ChulaPedia
นันทนจิต (LEISURE): แนวคิดที่ควรทาความเข้าใจให้ถ่องแท้ ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์1 ความนา หลังจากที่ได้เคยนาเสนอบทความทางวิชาการเรื่อง “นันทนจิต (Leisure): คาไทยคาใหม่” ไปเมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีการปรับปรุงเล็กน้อยเมื่อปีสองปีที่ผ่านมา สาหรับครั้งนี้ วัตถุประสงค์สาคัญของการเขียนบทความเรื่องนี้ ก็เพื่อที่จะได้นาเสนอรายละเอียดในองค์ประกอบของคาว่า “นันทนจิต (Leisure)” ให้มากขึ้น เพื่อที่ผู้ที่อยู่ในวงวิชาการนันทนาการ (Recreation) ปัจจุบัน จะได้เข้าใจความหมายและความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคาคานี้ให้เป็นที่เข้าใจ มองเห็นความต่างระหว่างคานี้กับคาว่า นันทนาการ อันจะเป็นแนวทางสาคัญในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านนันทนจิตศึกษา (Leisure Study) ในอนาคต ให้เป็นที่เข้าใจกันอย่างแพร่หลายและลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางสาหรับการนาวิชาการด้านนี้ไปใช้ในการพัฒนาประชากรของชาติให้เจริญก้าวหน้าเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาประเทศชาติในโอกาสต่อไป ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในบทความข้างต้น นันทนาการ นันทนจิต นันทนจิตศึกษา หมายถึงอะไร ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงความหมายของคาว่า นันทนาการ ที่มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ แต่ใคร่ขอสรุปประเด็นในหัวข้อนี้เพื่อเป็นความคิดรวบยอด (Concept) ตามแนวคิดและปรัชญาของผู้เขียน ซึ่งก่อนที่จะกล่าวถึงในรายละเอียด ผู้เขียนใคร่ขอนาเสนอผลการค้นคว้าเกี่ยวคา “สันทนาการ” (ซึ่งเป็นคาที่ใช้ก่อนหน้าคาว่า “นันทนาการ”) ที่มีผู้อ้างอิงว่าท่านนั้นท่านนี้เป็นผู้คิดคาขึ้น จากการขอความอนุเคราะห์จากฝ่ายบริการช่วยค้นคว้าวิจัย หอสมุดกลาง ศูนย์วิทย-ทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบว่าท่านใดเป็นคิดคาคานี้ขึ้น ซึ่งจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพร้อยสุพิณ วรวรรณ ณ อยุธยา วันที่ 16 สิงหาคม 2525 พบว่า คาว่า “สันทนาการ” เป็นคาที่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นผู้ทรงคิดคานี้ขึ้น (ดังสาเนาเอกสารในหน้าถัดไป) 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบาเหน็จบานาญ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 3 คาว่า นันทนาการ (Recreation) หมายถึง กิจกรรม (Activity) ที่บุคคลเข้าร่วม ทั้งด้วยความสมัครใจและไม่สมัครใจ ทั้งในเวลาว่างหรือในเวลาที่ไม่ว่าง (หมายถึงเวลาที่เป็นความจาเป็นที่จะต้องเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนาการ (Recreation Activity) ที่มีผู้นากิจกรรมนันทนาการ (Recreation Leader) มาจัดดาเนินการ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการฝึกอบรม หรือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่ผู้สอนนามาให้ผู้เรียนได้เข้าร่วม เพื่อสร้างความผ่อนคลาย และอื่น ๆ) ผลจากการเข้าร่วมในกิจกรรมที่มีผู้จัดให้นั้น อาจจะทาให้ได้รับความสนุกสนาน บางครั้งอาจทาให้ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพิ่มเติม จนนาไปสู่ภาวะที่เรียกว่า นันทนจิต (Leisure) ผู้ที่อยู่ในภาวะ (State) นี้จะเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่ตนเองมีเสรีที่จะเลือก (Freedom of Choice) อันเกิดขึ้นจากแรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) ของตนเอง กิจกรรมนันทนาการที่เลือกเข้าร่วมนั้นเหมาะสม หรืออาจมีความท้าทายกับทักษะและความสามารถของตนเอง ทาให้การเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ดาเนินไปด้วยความพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Flow) และผู้เข้าร่วมเองนั้นจะเป็นผู้กาหนดหรือจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ต่อไป หรือจะหยุดการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีหรือไม่ก็ได้ (Self Determination) กิจกรรมที่เข้าร่วมนั้น ต่อไปจะขอเรียกว่า กิจกรรมนันทนจิต (Leisure Activity) อันเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเดียวกันกับการมีภาวะนันทนจิตนั้น จากที่กล่าวข้างต้น ประสบการณ์นันทนจิต (Leisure Experiences) ที่ผู้เข้าร่วมได้รับจะมีคุณภาพมากกว่าที่จะได้รับจากการเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนาการ ที่เรียกว่า ประสบการณ์นันทนาการ (Recreation Experiences) คาสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงคือคาว่า นันทนจิตศึกษา (Leisure Study) ซึ่งอาจมีความหมายออกไปเป็น 2 แนวทาง แนวทางแรกจะหมายถึง ศาสตร์สาขาหนึ่งในระดับปริญญาบัณฑิตหรือระดับบัณฑิตศึกษาในบางมหาวิทยาลัย ที่เรียกว่า นันทนจิตศาสตร์ (Leisure Studies) หรือในบางมหาวิทยาลัยอาจเรียกสาขาวิชานี้ว่า พฤติกรรมนันทนจิต (Leisure Behavior) เช่น สานักวิชาสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการ ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า แห่งเมืองบลูมมิงตัน จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชานี้ ส่วนแนวทางที่สองนั้น ความหมายของนันทนจิตศึกษาจะออกไปในแง่ของการจัดการศึกษาทางด้านนันทนจิตให้แก่กลุ่มบุคคลผู้ด้อยความสามารถ (Persons with Disabilities) ซึ่งกลุ่มบุคคลนี้ไม่จาเป็นว่าจะต้องเป็นคนพิการ (ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี พ.ศ. 2542 ให้คาแปลคา พิการ ว่า เป็นคาวิเศษณ์ (ว.) แปลว่า เสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น, เสียไปจากสภาพเดิม, เช่น แขนพิการ ตาพิการ, บางทีใช้เข้าคู่กับคา พิกล เป็น พิกลพิการ. (ป., ส. วิการ)) แต่อาจจะหมายถึง ผู้สูงวัย เด็กไร้บ้าน ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ผู้ต้องขังในเรือนจาหรือในสถานกักกัน เป็นต้น ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า นันทนจิตศึกษาควรเป็นรายวิชาหนึ่งสาหรับนักเรียนในโรงเรียนที่จะให้ความรู้ความเข้าใจทักษะและ 4 ประสบการณ์ทางด้านนันทนจิตแก่นักเรียน เพื่อที่นักเรียนจะได้มีความตระหนักในเรื่องของเวลาว่าง (เวลาว่าง เป็นคาแปลหนึ่งของคาว่า Leisure) (Leisure awareness) คงมีหลายคนอาจสงสัยว่า ทาไมต้องเป็น “นันทนาการศาสตร์” และ “นันทนาการศาสตร์” เป็นกลุ่มวิชาหนึ่งในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้อย่างไร ทาไมไม่เป็นนันทนาการการกีฬา หรือกีฬานันทนาการ เหมือนกลุ่มวิชาอื่น ๆ ที่มีคาว่า “กีฬา” อยู่ต่อท้ายชื่อกลุ่มวิชา (ยกเว้น กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) เพราะเป็นกลุ่มวิชาที่อยู่ในสานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีคาว่า “กีฬา” อยู่ในชื่อของสานักวิชา (คาว่า “สานักวิชา” หรือภาษาอังกฤษใช้คาว่า “School” เป็นการแบ่งและเรียกชื่อหน่วยงานภายในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522 โดย ศาสตราจารย์ ดร. เทียนฉาย กีระนันทน์ อธิการบดีในขณะนั้น สานักวิชาฯ มีฐานะเทียบเท่ากับคณะ อื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถผลิตบัณฑิตได้ตั้งแต่ระดับปริญญาบัณฑิต จนถึงระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต เพียงแต่ไม่มีภาควิชาเท่านั้น ปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ตามมติที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครั้งที่ 718 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 16 ง ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ทาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553) จากการสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตของสานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ทาให้ทราบความเป็นมาเป็นไปของการมีกลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์อยู่ในหลักสูตร [ทั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา พ.ศ. 2541 และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2546)] พอสรุปได้ว่า เนื่องจาก สานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ ที่ประกอบไปด้วยโปรแกรมวิชาพลศึกษา โปรแกรมวิชาสุขศึกษา และโปรแกรมวิชานันทนาการ เมื่อได้รับการพัฒนาแล้วก็ควรจะมีสาขาวิชาของทั้งสามโปรแกรมอยู่ด้วย โดยโปรแกรมวิชาพลศึกษาก็เป็นกลุ่มวิชาวิทยวิธีการกีฬา โปรแกรมวิชาสุขศึกษาก็เป็นกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ และโปรแกรมวิชานันทนาการก็เป็นกลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์ (มีคาว่า “ศาสตร์” มาต่อ ข้างท้ายคาว่า “นันทนาการ” เพราะสังกัดคณะที่เกี่ยวข้องกับ “วิทยาศาสตร์” นั่นประการหนึ่ง-ผู้เขียน แต่เหตุผลที่สาคัญกว่าก็คือความเป็นมาและพัฒนาการของการศึกษาค้นคว้าที่ยาวนานจนกลายมาเป็นศาสตร์ที่มีความสาคัญในปัจจุบัน สามารถผลิตบัณฑิตเข้าสู่อาชีพทางด้านนันทนาการอันมีลักษณะของความเป็นอาชีพที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่ (1) มีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ (Systematic Body of Knowledge) (2) มี Professional Authority ที่ได้รับจากองค์ความรู้ในข้อที่ (1) (3) เป็นที่ยอมรับของสังคม in which it functions (4) มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และ (5) มี Professional culture based on 5 shared values and traditions (Hartsoe, C. (1973). Recreation: A Professional Transition. Park & RecreationB 8(6). อ้างถึงใน คอร์เดส และ อิบราฮิม, Applications in Recreation & Leisure for Today and the Future, 1996) แม้จะไม่มีคาว่า “การกีฬา” แต่ “นันทนาการ” ก็เป็นศาสตร์ที่สาคัญสาหรับการส่งเสริมและพัฒนาการแสดงความสามารถของนักกีฬาให้ถึงจุดสูงสุด (Peak Performance) ได้เช่นกัน หากได้นาสาระสาคัญ (Essences) ของศาสตร์ด้านนันทนาการมาใช้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้น ตัวอย่างปัญหา เช่น การเลิกเล่นกีฬากลางคันของนักกีฬาที่มีความสามารถสูงบางคน ที่เรียกกันว่า เบอร์น เอาท์ (Burn Out) ทาให้เป็นนักกีฬาที่ขาดความกระฉับกระเฉง มีความสามารถลดลงเหมือนไฟที่มอดดับ ไม่สามารถเล่นกีฬานั้น ๆ ได้อีกต่อไป นับเป็นปัญหาประการหนึ่งที่ทาความหนักใจให้กับผู้บริหารสมาคมกีฬาของชาติ ตัวนักกีฬาเองและผู้เกี่ยวข้อง ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นขณะที่กาลังเป็นนักกีฬาที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและสมาคม อาจจะเริ่มต้นจากปัญหาเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ จนมีอาการกาเริบรุนแรง เมื่อแสดงออกหรือปรากฏอาการขึ้นก็สายไปเสียแล้ว ซึ่งจากปัญหาที่กล่าว หากได้มีการพูดคุยกับนักกีฬา ซักถามทุกข์สุขกันอาจทาให้ทราบปัญหา จะได้หาทางป้องกันและแก้ไข ซึ่งนันทนาการศาสตร์ก็มีศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบาบัดที่เรียกว่า “นันทนาการบาบัด” (Therapeutic Recreation) ที่จะนามาใช้ในการบาบัดรักษา อีกทั้ง นักกีฬาที่เบอร์น เอาท์ ไปแล้ว ก็อาจมีปัญหานั้น ๆ ติดตัวไปด้วย นับเป็นความทุกข์ใจที่ควรได้รับการแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง ก็สามารถนานันทนาการบาบัด มาใช้ในการบาบัดรักษาได้ ทาให้การผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์การกีฬาทาได้ครบวงจรสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น อีกประการหนึ่ง กีฬาซึ่งถือเป็นกิจกรรมนันทนาการที่มีความจาเป็นและมีคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายสาหรับการสร้างความพึงพอใจ การพัฒนาอารมณ์สุข ลดความเครียด เป็นต้น จาเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ดังที่ภาควิชาการจัดบริหารพื้นที่สาหรับนันทนาการและนันทนาการ (Department of Recreation and Park Administration) สานักวิชาสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยอินเดียนา ณ เมืองบลูมมิงตัน ได้จัดให้มีหลักสูตรการจัดการกีฬานันทนาการ (Recreational Sports Management) ระดับบัณฑิตศึกษาขึ้น แสดงว่ากิจกรรมของนันทนาการจาเป็นต้องมีศาสตร์ที่มีปรัชญา หลักการและการปฏิบัติ (Philosophies, Principles and Practices) หรือพูดง่าย ๆ ว่ามี “ศาสตร์” ที่ต้องนามาใช้ในการจัดการ ต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์สังเคราะห์และวิจัย และสามารถนามาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกับ กลุ่มวิชาการจัดการการกีฬาที่สานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จัดให้มีการเรียนการสอนอยู่ ทาให้สานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและมีความภาคภูมิใจที่เรียก “นันทนาการ” ว่า “นันทนาการศาสตร์” (Recreation Sciences) และกาหนดให้กลุ่มวิชา “นันทนาการศาสตร์” เป็นกลุ่มวิชาหนึ่งในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ดังกล่าว 6 ทาไมต้อง “นันทนจิต” ผู้เขียนได้พยายามคิดวิเคราะห์สาระของคาจากทฤษฎี ปรัชญาและหลักการที่เกี่ยวข้อง ความคิดก็มาสะดุดอยู่ที่คาในภาษาอังกฤษที่เป็นแนวคิดของคาคาไทยคาใหม่นี้ในแง่หนึ่ง นั่นคือ State of Mind หรือภาวะของจิต ที่คิดว่าน่าจะเป็นสาระของคาไทยที่เหมาะที่สุด ก็เลยสรุปว่าน่าจะเป็นคาไทยคานี้สาหรับคาภาษาอังกฤษ Leisure คือคาว่า นันทนจิต เนื่องจากเรามีคาว่า “นันทนาการ” ที่มีคาว่า “นันทน” ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคาว่า “นันทน” ใน “นันทนจิต” อยู่แล้ว ส่วนเหตุผลที่ว่าทาไมต้องเป็นคานี้ ผู้เขียนก็จะพยายามกล่าวถึงเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสาหรับการวิพากษ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงวิชาการด้านนันทนาการศาสตร์กันต่อไป ประเด็นสาคัญต่อมาก็คือ ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าเราน่าจะต้องมาทาความเข้าใจกับคาว่า “นันทนาการ” และ “นันทนจิต” กันอีกมาก เพราะความเข้าใจของคนส่วนมากเมื่อกล่าวถึงคาคานี้ก็มักจะมองภาพว่าเป็นการให้ผู้ที่มาอยู่ร่วมกันได้เล่นเกมหรือร้องเพลงหรือมีกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานครึกครื้นเฮฮาในเวลาว่าง หรือมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคาว่า “นันทนาการ” ว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนาน เป็นงานอดิเรก ที่มีกิจกรรมอยู่ประมาณสิบกลุ่มกว่าหรือขึ้นอยู่กับแนวความคิดของแต่ละคนว่าจะเป็นกี่กลุ่มกิจกรรม รวมทั้ง อีกหลายคนที่ผู้เขียนได้เคยพูดคุยด้วยมักจะกล่าวว่า “ไม่เห็นมีอะไร” เป็นต้น ซึ่งเป็นจุดที่ทาให้ผู้เขียนคิดว่าน่าจะต้องมีการทาความเข้าใจกันให้ถ่องแท้และถูกต้อง และผู้เขียนถือเป็นโอกาสดีในการเสนอคาไทยคาใหม่เพื่อใช้ใน วงวิชานันทนาการศาสตร์กันต่อไปด้วย นันทนจิต ต่างกันหรือเหมือนกันกับ นันทนาการ หรือไม่ อย่างไร ในภาษาต่างประเทศมีการใช้คาสองคานี้สลับหรือใช้แทนกันบ่อย ๆ คาว่า นันทนจิต หรือ Leisure นี้ พจนานุกรมออนไลน์ของ MSN Encarta-Dictionary กล่าวว่า เป็นคานาม แปลว่า เวลาว่างจากการทางาน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานได้ เป็นคาที่มีการใช้มาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 13 เป็นคาในภาษาท้องถิ่นของฝรั่งเศส (Via Old French dialect) คือคาว่า leisour ที่แปลว่า การอนุญาตยินยอม หรือถ้าแปลตามตัวอักษรก็แปลว่า “ได้รับอนุญาต” เป็นคาที่ผันแปรมาจากคาว่า leisi ซึ่งเป็นคาในภาษาลาตินว่า licere ซึ่งเกี่ยวกับความเป็นมาและความหมายของคานี้ ผู้เขียนจะได้กล่าวให้ละเอียดยิ่งขึ้นในตอนต่อไป เพราะเป็นประเด็นหลักที่ผู้เขียนต้องการจะเสนอในการเขียนบทความครั้งนี้ ส่วนคาว่า นันทนาการ หรือ Recreation ซึ่งเป็นคานามเช่นกัน เพิ่งมีใช้ในศตวรรษที่ 14 แปลว่า กิจกรรมที่บุคคลเข้าร่วมเพื่อการบันเทิงและการผ่อนคลาย หรือสิ่งที่ทาให้ใจและกายสดชื่นหลังจากการ 7 ทางาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้เข้าร่วมในกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินใจ (Amusement) ดังนั้น จากคาแปลตามพจนานุกรมดังกล่าวจึงถือได้ว่า ความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว และเพื่อเป็นการปูพื้นฐานสาหรับประเด็นที่ผู้เขียนต้องการเสนอ จึงใคร่ขอเสนอความหมายและแนวคิดของนันทนาการ เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้ทบทวนถึงคาที่เราใช้กันมาก่อน ความหมายและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ นันทนาการเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเข้าร่วมในกิจกรรมที่มีรูปแบบ/ประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย ตามความต้องการความสนใจและสมัครใจ และในเวลาว่างหรือในเวลาอิสระ ความหมายของนันทนาการนั้นมีผู้กล่าวถึงมากมายและแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. นันทนาการ หมายถึง การทาให้ร่างกายสดชื่น หรือการทาให้ร่างกายได้สร้างพลังขึ้นมาใหม่ (Re-fresh or Re-create) อันเป็นความหมายดั้งเดิม 2. นักการศึกษา และนักสังคมศาสตร์ให้ความหมายว่า “นันทนาการ” หมายถึง กิจกรรม (Activities) ซึ่งมีชนิดประเภทและรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย 3. นันทนาการ หมายถึง กระบวนการ (Process) กล่าวคือ ในการพัฒนาประสบการณ์ หรือ พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลหรือสังคมโดยอาศัยนันทนาการต้องกระทาเป็นกระบวนการ ผลจากการเข้าร่วมในกระบวนการ เรียกว่า ประสบการณ์ 4. นันทนาการ หมายถึง สวัสดิการสังคม (Social Welfare) ที่รัฐและผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องมีหน้าที่จัดให้บริการแก่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ความหมายของคาว่า นันทนาการที่คนส่วนมากรู้จักกันดี มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรม หรือการมีกิจกรรมเป็นองค์ประกอบที่สาคัญของความหมาย ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้ว นันทนาการมีความหมายมากกว่าการเป็นกิจกรรม เพราะนันทนาการช่วยทาให้เกิดการฟื้นคืนสู่สภาพเดิมของพลังร่างกายและจิตใจ ทาให้ร่างกายและจิตใจเกิดความสมดุล ที่มาของคา “นันทนจิต” แนวคิด ความหมายและคาที่เกี่ยวข้อง นันทนจิต เป็นคาที่ผู้เขียนคิดขึ้นได้เมื่อครั้งไปเข้ารับการศึกษาอบรมเกี่ยวกับ “นันทนาการบาบัด” ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา บลูมมิงตัน รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2546 เป็นคามาจากคาในภาษาไทยว่า “นันทน์” อันเป็นคาที่เป็นทั้งคาในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต และเป็นคานาม มีคาแปลว่า ความสนุก ความยินดี ความรื่นเริง (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530, หน้า 272) มาสมาสกับคาว่า “จิต” ที่เป็นคานาม มีคาแปลว่า ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ 8 คิด และนึก (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530, หน้า 144) เมื่อนาคาแปลของคาทั้งสองมารวมกันน่าจะแปลว่า “ใจที่มีแต่ความสนุกสนานรื่นเริงยินดี” ความหมายของนันทนจิต ดังที่ได้เคยกล่าวถึงเกี่ยวกับคาว่า Leisure ที่ผู้ใช้คานี้ส่วนใหญ่มักจะคิดกันถึงแต่ความหมายที่ว่า “เวลาว่าง” ยกเว้น นิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาพลศึกษา ซึ่งจะหมายรวมถึงบัณฑิตในสาขาวิชาสุขศึกษาและสาขาวิชานันทนาการ และนิสิตนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ เช่น นันทนาการขั้นนา ค่ายพักแรม การเป็นผู้นานันทนาการ เป็นต้น รวมถึงผู้ที่มีความสนใจใฝ่รู้เท่านั้นที่ (บางคนอาจ) จะทราบถึงความหมายของคาว่า Leisure (ซึ่งผู้เขียนจะเขียนคานี้เป็นภาษาไทยว่า นันทนจิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป) ที่ลึกซึ้งมากกว่าคาว่า “เวลาว่าง” และมากความหมายขึ้น ในปี 1899 เว็บเบล็น (Veblen, 1953 อ้างถึงใน Kelly, 1996) ให้คาจากัดความของคา นันทนจิตว่าเป็นการใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แคพแพลน (Kaplan, 1975) ได้ให้คาจากัดความของคานันทนจิต โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คาแพลนยอมรับว่าคาจากัดความที่จะกล่าวไม่ได้เริ่มมาจากพื้นฐานที่จะนาไปสู่การสรุปเดียวกัน ตัวอย่างเช่น คาจากัดความที่เกี่ยวข้องกับ Humanistic or Classic เริ่มต้นจากความคิดรวบยอดของ Humanity และต้องการอิสระจากสิ่งที่เป็นความจาเป็น ในแง่ของการบาบัด (Therapeutic Approach) มีสมมติฐานว่า คนบางคนมีสุขภาพด้อยกว่า และนันทนจิตจะดีสาหรับพวกเขา ในแง่ของรูปแบบที่เน้นปริมาณ (Quantitative Model) จะกล่าวถึงเวลาที่ถูกใช้ว่าใช้ไปอย่างไร ในแง่ที่เกี่ยวกับความคิดด้านสถาบัน (Institutional Concept) จะกล่าวถึงหน่วยงานที่ทาหน้าที่ต่าง ๆ ภายในระบบของสังคมที่นันทนจิตควรจัดให้บริการโดยโรงเรียน ครอบครัว โบสถ์ เศรษฐกิจ และจังหวัด/รัฐ ในแง่ของความคิดรวบยอดที่เกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ (Epistemological Conception) มีพื้นฐานอยู่ที่คุณค่าทางวัฒนธรรม และในแง่ของสังคม (Sociological Approach) เริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่า คาว่า นันทนจิตและคาอื่น ๆ ถูกให้คาจากัดความในบริบททางสังคม โดยผู้มีบทบาททางสังคม (Social Actors) เป็นผู้กาหนดความหมายให้ คาแพลนกล่าวให้ชัดเจนขึ้นว่า คาจากัดความมักจะแตกต่างกันอย่างลิบลับตามวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันของมนุษย์และโลก เมอร์ฟีย์ (Murphy, 1974) ได้จัดประเภทคาจากัดความของคาว่า นันทนจิต ไว้ 6 ประเภท คล้ายกับที่คาแพลนได้กล่าวมาแล้ว ได้แก่ 1. เวลาที่สามารถใช้ได้ตามต้องการ (Discretionary Time) นันทนจิตในฐานะของเวลาที่เหลือ จากการทางานในหน้าที่และภาระกิจตามความจาเป็นของมนุษย์ 9 2. เครื่องมือทางสังคม (Social Instrument) นันทนจิตในฐานะสื่อไปสู่เป้าหมายทางสังคม เช่น การบาบัดการเจ็บป่วย (Therapy for the ill) เป็นหนทางไปสู่การมีส่วนร่วมทางสังคม เป็นการพัฒนาทักษะ และเป็นการทาหน้าที่ทางสังคมให้สมบูรณ์ (Fulfillment of Social Functions) 3. ชั้นทางสังคม เชื้อชาติ และอาชีพ (Social Class, Race, and Occupation) นันทนจิตในฐานะ ที่ถูกกาหนดโดยสังคมและมรดกทางสังคม รูปแบบการกาหนดเป็นพื้นฐานของการวิจัยเกี่ยวกับการทานายการเข้าร่วมกิจกรรม และ ดังนั้น ที่กล่าวนี้จึงมิใช่คาจากัดความแต่เป็นสมมติฐานทางสังคม (Sociological Assumption) 4. ความหมายดั้งเดิม (Classic) นันทนจิตในฐานะที่เป็นภาวะของความเป็นอิสระ “สภาวะ” ของจิตวิญญาณ และ เป้าหมายที่บรรลุได้ยาก 5. การต่อต้านผู้ถือลัทธิเอาประโยชน์ (Antiutilitarian) นันทนจิตในฐานะที่เป็นจุดจบใน ตัวเอง ไม่ใช่ สิ่งที่เป็นรองจากการงาน (Not Secondary to Work) เช่น การแสดงออกส่วนตน (Self-Expression) และ การทาให้ตนเองได้รับความพึงพอใจอย่างเต็มที่ (Self-Fulfilling Satisfaction) 6. โดยภาพรวม (Holistic) นันทนจิตในฐานะของสิ่งที่สามารถค้นพบได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้พบ หรือไม่เคยรู้มาก่อนจากกิจกรรมใดใด ในทุกสถานที่ ดังที่ เมอร์ฟีย์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า นันทนจิต ที่แท้จริงก็คือ ความเป็นอิสระจากการสนับสนุนของตนเองที่แสดงออกในกิจกรรม (Murphy’s premise is that true leisure is person-enhancing freedom expressed in activity) จากพจนานุกรมเวิร์ดเน็ต (WordNet Dictionary) ได้ให้คาจากัดความของคาว่า “นันทนจิต” ในฐานะที่เป็น คาคุณศัพท์ (adj) ว่า เป็นการว่างจากหน้าที่หรือความรับผิดชอบ จากการสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับนันทนจิตศึกษา (Leisure Education) ที่เมืองเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล เมื่อปี ค.ศ. 1993 ได้ให้ความหมายคา นันทนจิตไว้ว่า นันทนจิตเป็นบริเวณเฉพาะ (Specific Area) ของประสบการณ์ของมนุษย์ที่พร้อมด้วยคุณประโยชน์ของตัวมันเอง อันรวมไปถึง ความเป็นอิสระที่จะเลือก (Freedom of Choice) ความสร้างสรรค์ (Creativity) ความพึงพอใจ (Satisfaction) ความร่าเริง (Enjoyment) และความพึงพอใจและความสุขที่เพิ่มมากขึ้น (Increased pleasure and happiness) นันทนจิต เป็นการรวบรวมรูปแบบของการแสดงออกหรือกิจกรรมที่มีองค์ประกอบทางกายภาพ สติปัญญา สังคม ศิลปะ หรือจิตใจที่มีสภาพเป็นธรรมชาติด้วยความตั้งใจที่แรงกล้าให้เข้ามาก่อให้เกิดประโยชน์สาหรับการดารงชีวิตในฐานะที่เป็น “วิถีแห่งชีวิต” (WLRA International Charter for Leisure Education. Drafted and Approved at the WLRA International Seminar on Leisure 10 Education, Jerusalem, Israel, August 2-4 1993 and ratified by the WLRA Board, Jaipur, India, Dec. 3 1993.) นอกจากนั้น นันทนจิต ในฐานะที่เป็นคานาม อาจแปลว่า เวลาที่มีอยู่เพื่อใช้ในการทาสิ่งที่ทาให้มีความสุขสบายและความผ่อนคลาย ดังประโยคตัวอย่างที่ว่า "His job left him little leisure" โดยมีความหมายในคาภาษาอังกฤษว่า leisure time หรือ free time, หรือ spare time ที่มีความหมายว่า - to that is free for leisure activities หรือที่ใช้เป็นภาษาไทยว่า “เวลาว่าง” ที่ส่วนใหญ่เข้าใจและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นันทนจิต อาจหมายถึง เวลาที่ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกได้อย่างอิสระ และ/หรือเป็นกิจกรรมที่คัดสรรสาหรับแต่ละบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหรือรูปแบบกิจกรรมอื่น ๆ ที่นับว่าเป็นความจาเป็นหรือว่าถูกบังคับให้กระทา และเป็นสิ่งที่คาดว่า หลังจากการเข้าร่วมหรือประกอบกิจกรรมนั้น ๆ ไปแล้วจะทาให้เกิดความรู้สึกที่พึงพอใจ มีความผูกพัน มีความสุข เป็นไปเอง โดยตนเอง โดยที่ไม่ต้องมีใครมากระตุ้น ที่เกิดขึ้นทันที เป็นความประหลาดมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในใจ หรือเกิดจินตนาการ ทาให้บรรลุสมความปรารถนา ได้แสดงออกซึ่งตัวตนของตน และมีการพัฒนาตนเอง อาจกล่าวว่า นันทนจิต เป็นอาณาจักรของกิจกรรมที่สาคัญของชีวิต เป็นสาระที่จาเป็นสาหรับการพัฒนาตลอดชีวิต (lifelong development) และเป็นความเจริญรุ่งโรจน์ความผาสุกความสุขใจของบุคคล (personal well-being) คอร์เดส และ อิบราฮิม (Cordes and Ibrahim, 1996) ได้กล่าวถึงการให้คาจากัดความของคา นันทนจิตว่า เป็นการยากที่จะให้คาจากัดความ เพราะแนวโน้มของผู้ให้จะกล่าวถึงคาจากัดความในเชิงอัตนัยระดับสูง และความหมายของนันทนจิตจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัฒนธรรม นักวิชาการด้านนันทนาการศาสตร์จานวนมากก็รู้สึกเสียใจกับความยากที่จะให้คาจากัดความของคานันทนจิตให้เป็นที่พึงพอใจได้ อย่างไรก็ตาม คอร์เดส และ อิบราฮิม ก็ได้สรุปความหมายของนันทนจิตไว้เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการเขียนหนังสือ เรื่อง Applications in Recreation and Leisure ว่า “นันทนจิต คือ ความยินยอมที่จะกระทาสิ่งใดใดตามความพึงพอใจตามอัตภาพ การเข้าร่วมในกิจกรรมตามการเลือกของตน และการยกเลิกการเข้าร่วมกิจกรรมตามความตั้งใจของตนเอง” อิวาซากิและแมนเนลล์ (Iwasaki & Mannell, 2000), แมนเนลล์และไคลเบอร์ (Mannell & Kleiber, 1997) ได้สรุปความหมายของคาว่า นันทนจิต ว่ามีความหมายที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน เป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับ อิสระของการเลือก (Freedom of Choice) หรือ การเลือกอย่างมีอิสระ และเกิดจากแรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) ซึ่งพฤติกรรมที่จะแสดงให้เห็น หรือพฤติกรรมที่สะท้อนกลับมาก็คือ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความพึงพอใจที่แต่ละคนได้รับ 11 ยังมีผู้แสดงทัศนะเกี่ยวกับ นันทนจิต ไว้อีกมากมาย (Mannell, R.C., & Kleiber, D.A., 1997) รวมทั้ง ออสติน (Austin, 1999) ผู้เขียนหนังสือนันทนาการบาบัดขั้นนา (Therapeutic Recreation: An introduction) และคนอื่น ๆ (e.g., Iso-Ahola, 1980; Neulinger, 1980; Smith & Theberge, 1987) ที่ได้กล่าวถึงปัจจัยเกี่ยวกับ ความเป็นอิสระที่แต่ละคนสามารถรับรู้/เข้าใจ (perceived freedom) และ แรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation) ที่ถือว่าเป็นคุณสมบัติกลางของคาว่า นันทนจิต ไว้ กล่าวคือ “ความเป็นอิสระที่ตนเองสามารถรับรู้/เข้าใจ” เป็นความสามารถของบุคคลในการจัดการบางสิ่งตามที่ตนเลือกไว้ หรือตามที่ตนเองกาหนด ที่เรียกว่า “self-determination” นอกเหนือจากการแสดงพฤติกรรมปกติของตัวเอง และสิ่งที่เป็นอยู่จะไม่มีการรบกวนหรือได้รับแรงกดดันจากภายนอก ส่วน “แรงจูงใจจากภายใน” เป็นปัจจัยที่ทาให้เกิดพลัง ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่าเป็นรางวัลภายใน (internally rewarding) เป็นพฤติกรรมที่เป็นแรงกระตุ้นจากภายในให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง และเพื่อตนเองมากกว่าที่จะเป็นหนทางไปสู่การได้รับรางวัลภายนอก ดังนั้น แรงจูงใจภายในจึงนับว่าเป็นปัจจัยที่สาคัญของนันทนจิตสาหรับการเข้าร่วมและดาเนินกิจการทุกสิ่งให้ประสบผลสาเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ อิโซ-อาโลฮา (Iso-Ahola, 1984) ได้กล่าวถึง รางวัลอันแท้จริง (intrinsic reward) ของนันทนจิต ว่า รางวัลอันแท้จริง ที่บุคคลแสวงหาจากการเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนจิต อาจแบ่งออกได้เป็นรางวัลส่วนตัว และรางวัลระหว่างบุคคล (personal and interpersonal rewards) รางวัลส่วนตัว อาจหมายถึงสิ่งที่นอกจากความสามารถที่จะทาอะไรตามที่ตนกาหนดด้วยตัวเองแล้ว ยังรวมถึงความรู้สึกถึงสมรรถภาวะ (competence) หรือการมีความสามารถ (mastery) การท้าทาย (challenge) การเรียนรู้ (learning) การสารวจค้นหา (exploration) ความพยายาม (efforts) และการผ่อนคลาย (relaxation) อีกด้วย และในอีกประการหนึ่ง การเข้าร่วมในกิจกรรมของ นันทนจิต ที่เขาคิดว่าเป็นสิ่งดีมีประโยชน์สาหรับเขา เป็นความท้าทาย และทาให้เขาได้ใช้และพัฒนาทักษะและความสามารถส่วนตัว การได้เรียนรู้สิ่งใหม่หรือกิจกรรมใหม่ การได้รับทักษะใหม่ การได้ใช้ความพยายาม และการสารวจสิ่งที่เป็นรางวัลภายในทุกอย่างที่บุคคลจะได้รับจากการเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนจิตตามความต้องการของตนเองเพื่อตนเอง (for their own sake) ส่วนรางวัลระหว่างบุคคล (interpersonal rewards) อาจหมายถึงสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งที่ได้รับ เช่น การมีปฏิสังสรรค์ทางสังคม ก็เป็นรางวัลภายในที่สาคัญที่ผู้คนต้องการ นอกจากนั้น ยังได้กล่าวถึงนันทนจิตว่าเป็นแหล่งสาคัญสาหรับการพัฒนาส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจ และเป็นแง่มุมที่สาคัญของคุณภาพชีวิต นอกจากนั้น ยังเป็นสินค้าและ 12 อุตสาหกรรม (commodity and industry) ทางวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์การจ้างงาน สินค้าและบริการอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมก็สามารถสร้างเสริม หรือถ่วง/ขัดขวาง/เป็นอุปสรรคสาหรับการพัฒนาหรือความเจริญก้าวหน้าของนันทนจิตได้เช่นกัน นันทนจิตในแง่ที่ดีและในภาพรวมสามารถที่จะสร้างเสริมสุขภาพและความผาสุก (Well-being) ได้ โดยการเสนอโอกาสที่หลากหลายที่จะทาให้บุคคลหรือกลุ่มสามารถเลือกกิจกรรมและประสบการณ์ที่เหมาะสาหรับความต้องการ ความสนใจและความปรารถนาของตนเอง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถบรรลุศักยภาพทางนันทนจิตที่สูงที่สุดได้ เมื่อเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่แสดงให้เห็นถึงสถานะภาพทางนันทนจิตของพวกเขาทั้งหลายเองอีกด้วย นันทนจิตเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับการมีสิทธิทางการศึกษา การทางาน และการมีสุขภาพที่ดี และไม่ควรมีใครก็ตามที่จะไม่ได้รับสิทธินี้ อันเนื่องมาแต่ เพศ อายุ เชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา สภาวะสุขภาพ สถานะภาพทางเศรษฐกิจ และ/หรือความพิการโดยเด็ดขาด นันทนจิตเป็นมากกว่าปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่กาลังเป็นอยู่และกาลังจะเป็น เป็นความเป็นไปได้ของปฏิบัติการที่สร้างสรรค์ (Kelly, 1996) แรงกระตุ้นของนันทนจิต ปัจจัยที่เป็นแรงกระตุ้นของนันทนจิตมีมากมายหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของคนนั้น ๆ รูปแบบการดาเนินชีวิต เป้าหมายและความต้องการ แต่โดยทั่วไป ปัจจัยที่ทาให้บุคคลเข้าร่วมในนันทนจิตก็คือ ความสนุกสนาน (Fun) และ ความร่าเริงยินดี (Enjoyment) (Kraus, 1994) ส่วน ไดรเวอร์ และบราวน์ (Driver and Brown, In Edginton, Jordan, DeGraaf, and Edginton. Leisure and life satisfaction, 1995) ได้ทาการสารวจวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานในคณะกรรมการของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับกิจกรรมกลางแจ้งของคนอเมริกัน พบว่ามีปัจจัยหลายประการที่ทาให้บุคคลเข้าร่วมในนันทนจิต พอสรุปได้ดังนี้ 1. สนุกสนานเพลิดเพลินกับธรรมชาติ (Enjoy Nature) 2. สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) 3. ลดความตึงเครียด (Reduce Tension) 4. หลีกหนีฝูงชนและเสียงที่อึกทึก (Escape Noise and Crowds) 5. การเรียนรู้กลางแจ้ง (Outdoor Learning) 6. แลกเปลี่ยนค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน (Share Similar Values) 13 7. ความเป็นอิสระ (Independence) 8. ความสัมพันธ์ในครอบครัว (Family Kinship) 9. การทดสอบความรู้สึก (Introspection) 10. การได้อยู่กับคนที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจ (Be With Considerate People) 11. การกระตุ้นความสัมฤทธิผล (Achievement Stimulation) 12. พักผ่อนร่างกาย (Physical Rest) 13. สอน/นาผู้อื่น (Teach/Lead Others) 14. อยากเสี่ยงผจญภัย (Risk Taking) 15. ลดความเสี่ยงภัย (Risk Reduction) 16. พบคนหน้าใหม่ (Meet New People) 17. ฟื้นความหลัง (Nostalgia) ปัจจัยดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นถึงความหมายของนันทนจิตได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็แสดงให้ เห็นความคิดหลักที่เป็นแกนของนันทนจิตก็คือ การมีอิสระในการเลือกกิจกรรมและแรงจูงใจภายในในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนจิตเพื่อให้บรรลุซึ่งความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) ของบุคคลนั่นเอง นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือไม่? ความหลากหลายทางนันทนจิต (Leisure Diversity) ในสังคมที่มากหลายวัฒนธรรม (Multicultural Society) ในสังคมอเมริกัน ทาให้ชนกลุ่มน้อย (Minorities) กาลังกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ (Majorities) ขึ้นมา ประเด็นของนันทนจิตก็เริ่มขยายขอบเขตมากขึ้น โดยประเด็นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทาง เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และชนชั้นทางสังคม จะไปรวมตัวกับปัจจัยทางเพศ และธรรมชาติของความพึงพอใจทางเพศ (Sexual Orientation) ขึ้น นอกจากนั้น ประเด็นของนันทนจิตในธุรกิจและการตลาด เช่น การใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับนันทนจิต คิดเป็นร้อยละ 97 ของการตลาดหมายว่าอะไร นันทนจิตกับสังคมของผู้สูงวัยที่เริ่มมีจานวนมากขึ้น นันทนจิตในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควรเป็นเช่นไร นันทนจิตในฐานะประเด็นทางการเมืองการปกครองที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเช่นไร ซึ่งประเด็นการเมืองการปกครองที่จะยกขึ้นมากล่าวถึงนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่ผู้เขียนกาลังจะอธิบายถึงความคิดรวบยอดเกี่ยวกับนันทนจิตเท่านั้น หากเป็นไปได้ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนจะได้พยายามเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับนันทนจิตทางบทความให้มากยิ่งขึ้น นันทนจิตเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในแง่ที่ว่าองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของและผู้จัดบริหารแหล่งนันทนาการและนันทนจิตส่วนใหญ่ กล่าวคือ รัฐเป็นผู้กาหนดเขตป่าไม้ เขต 14 วนอุทยาน/อุทยานแห่งชาติ แหล่งน้า ภูเขา และแหล่งนันทนาการอื่น ๆ หลายชุมชนใช้งบประมาณเพื่อการจัดบริหารโครงการนันทนาการและสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่โอกาสและความสมหวังของผู้เข้ารับบริการอาจจะไม่บรรลุ เพราะงบประมาณเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อนหรือเป็นสิ่งที่รัฐหรือชุมชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ ดังนั้น การกาหนดสิ่งที่ต้องมาก่อนหรือสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษจึงเป็นกระบวนการทางการเมืองและการปกครอง กิจกรรมนันทนจิตบางประเภทในบางประเทศ หรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในประเทศก็คือการกาหนดเวลาเปิดปิดสถานบันเทิงและการห้ามผู้มีอายุต่ากว่า 20 ปี เข้าในสถานบันเทิงบางประเภท หรือตัวอย่างกิจกรรมนันทนจิตหลายประเภท รวมทั้ง การผิวปาก/เป่าปาก จะกระทามิได้ในวัน แซบบัทธ์ (Sabbath) ซึ่งเป็นวันเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์ของชาวคริสต์ส่วนใหญ่ หรือวันเสาร์สาหรับศาสนาของชาวยิวที่เรียกว่า “Judaism” และชาวคริสต์บางกลุ่ม (Christian Denominations) หรือ เมืองในอาณานิคมของ นิว อิงแลนด์ (Colonial New England) กิจกรรมประเภทกีฬาจะเริ่มเล่นก่อนเที่ยงวันในวันอาทิตย์ไม่ได้ นอกจากนั้น การเก็บภาษีสาหรับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ และภาษีสาหรับการดื่มเครื่องดื่มจะสูงมาก แต่จะเก็บภาษีต่าสาหรับอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีใย/กากอาหารต่า (High-fat, low-fiber foods) การจัดสรรงบประมาณของรัฐสาหรับให้การสนับสนุนการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อที่จะให้กิจกรรมนันทนจิตหลายชนิดสามารถดาเนินการได้ เช่น การให้ทุนสนับสนุนระบบทางด่วนระหว่างรัฐ ระบบการสัญจรทางอากาศ และการก่อสร้างเครื่องบินเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จากที่กล่าวมา อาจสรุปได้ว่านันทนจิตทั้งในแง่การเมืองการปกครองหรือการศึกษาที่มีนโยบายที่กาหนดขึ้นเป็นเพียงปลายยอดของก้อนน้าแข็งที่ลอยอยู่ในทะเล (Only the Tip of the Iceberg) เช่น การให้คาแนะนา ภาษี การออกใบอนุญาต และการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เท่านั้น พัฒนาการนันทนจิตจะเป็นไปได้ก็โดยการจัดสภาพความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ความปลอดภัย การมีที่อยู่อาศัย อาหาร รายได้ การศึกษา การให้มีแหล่งให้การสนับสนุนค้าจุน ความยุติธรรมและสังคมที่เท่าเทียมกัน จากการศึกษาพบว่า นันทนจิตมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมตัดสินใจด้วยตนเอง ร่วมกับการอาศัยประสบการณ์ที่มีอยู่ด้วยการไตร่ตรองอย่างสุขุมรอบคอบ รวมทั้งการคานึงถึงรายได้ เวลา และพฤติกรรมทางสังคมของผู้เข้าร่วมด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็น “กิจกรรมนันทนจิต” ที่อาจเป็นกิจกรรมทางกาย (Physical) ทางสังคม (Social) หรือทางสติปัญญา/การใช้ความคิดและเหตุผล (Intellectual) กระทาหรือเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ (Volunteer) และด้วยความ 15 สร้างสรรค์ (Creative) หรือ เป็นกิจกรรมที่มีห้าลักษณะดังกล่าวมาเกี่ยวข้องร่วมด้วยกันทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนก็ได้ ประสบการณ์นันทนจิต (Leisure Experiences) เป็นอีกคาหนึ่งที่มีการใช้ในนันทนจิต อันมีความหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นประสบการณ์ที่เหมือนกับประสบการณ์ที่เป็นแบบอย่างอื่น ๆ ทั่วไป ที่รวมกิจกรรมการเล่นที่ชักจูงใจผู้เข้าร่วม ทาให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เป็นกิจกรรมประเภทสร้างสรรค์และศิลปะ (art and creative activities) กิจกรรมที่ท้าทายและผจญภัย (adventure challenges activities) กิจกรรมประเภทเกมและกีฬา (sports and games) กิจกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว (travel and vacations) และ/หรือเป็นกิจกรรมสาหรับการเฉลิมฉลองเนื่องในวันหยุด (holiday celebrations) ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของประสบการณ์ นันทนจิต ซึ่ง คอร์เดสและอิบราฮิม (1996) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบสาคัญของประสบการณ์นันทนจิตไว้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. ความมีอิสระที่รับรู้เข้าใจได้ (Perceived Freedom) หมายถึง บุคคลสามารถลงมือ กระทาหรือเข้าร่วมกิจกรรมใดที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ของตน และสามารถละเลิกการกระทาหรือการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ได้ตามที่ตั้งใจ ตัวอย่างเช่น เรามีอิสระที่จะขับรถยนต์ไปเที่ยวชายทะเลในวันอาทิตย์ พักผ่อนหย่อนใจอยู่ที่บริเวณชายหาดได้นานเท่าที่เราต้องการ หลังจากนั้นเราก็ขับรถยนต์กลับเมื่อรู้สึกว่าอยากจะกลับ อย่างไรก็ตาม ในวันทางานเราก็คงไม่สามารถกระทาการดังกล่าวได้ 2. กิจกรรมที่เข้าร่วมมีจุดจบ/ความมุ่งหมายในตัวเองและเพื่อตัวเอง (Autotelic Activity) หมายถึง กิจกรรมนั้น ๆ มีความมุ่งหมายหรือผลประโยชน์อยู่ภายในตัวเอง (possessing internal purpose) และการเข้าร่วมในกิจกรรมของบุคคลใดก็เป็นไปเพื่อการเข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ เท่านั้น โดยมิได้มุ่งถึงการที่จะให้ได้รับรางวัลหรือเพื่อการหลีกเลี่ยงจากการถูกกระทาโทษ (done for its own sake) 3. ผลที่ได้รับเป็นสิ่งมีประโยชน์ (Beneficial Outcome) หมายถึง การที่บุคคลเข้าร่วม ในกิจกรรม บุคคลย่อมรับรู้ว่าการกระทาดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเขา เช่น เขาเข้าไปออกกาลังกาย/เล่นกีฬาในสถานที่สาหรับการออกกาลังกายเพื่อลดน้าหนัก สร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย หรือเพื่อการพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ เป็นต้น ความหมายของนันทนจิตจึงอาจสรุปได้เป็น 3 ลักษณะ ลักษณะแรก นันทนจิตใน ฐานะเวลาที่เหลืออยู่ (Leisure as Residual Time) อันหมายถึงเวลาที่ว่าง (Free Time) จากการปฏิบัติภารกิจที่จาเป็นประจาวันสาหรับร่างกาย (Time for Existence) และเวลาที่ต้องประกอบอาชีพ (Time for Subsistence) ระหว่างเวลาทั้งสามนี้จะมีเวลาที่คาบเกี่ยวกันอยู่ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดย 16 เด็ดขาด (เป็นลักษณะวงกลมสามวงวางทับกัน จะเกิดส่วนที่ทับซ้อนกัน/เหลื่อมกันอยู่) ลักษณะที่สอง นันทนจิตในฐานะกิจกรรม (Leisure as Activity) อันหมายถึงปฏิบัติการในพฤติการณ์เฉพาะ (Specific Deed or Act) ซึ่งแม้ว่าพฤติการณ์ของมนุษย์จะมีมากมาย แต่ก็จะมีลักษณะที่เป็นของแน่นอนร่วมกันอยู่ ยกตัวอย่างจากการวิเคราะห์ของนักจิตวิทยาสังคม (เชื้อสาย อเมริกัน-ญี่ปุ่น) คนหนึ่งที่ชื่อ ทาโมทสึ ชิบูทานิ (Tamotsu Shibutani) ที่กล่าวว่า พฤติการณ์ใดใดของบุคคลมักเกิดจากการที่สภาพของร่างกายอยู่ในสภาวะของการขาดสมดุล (Condition of Disequilibrium) เมื่อสภาพดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจะต้องทาให้ร่างกายกลับสู่สภาพที่มีสมดุลให้ได้ เช่น กรณีที่จะลื่นหกล้ม ก็ต้องมีการปรับแต่งส่วน ต่าง ๆ ของร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่จะช่วยให้ร่างกายมีการทรงตัวที่ดีมีความมั่นคงโดยเร็ว หรือ ถ้าหิว ก็ต้องรีบไปหาอาหารมารับประทาน และถ้าในขณะที่หิวนั้น กาลังอยู่กับเพื่อน ๆ ด้วยก็ต้องคิดว่า เรามีเงินที่จะไปซื้ออาหารมาทานไหม เพื่อนจะรู้ไหมว่าถึงเวลาที่จะต้องทานอาหารแล้ว จะไปหาอาหารรับประทานได้ที่ไหน หรือถ้าแต่งกายไม่เรียบร้อยก็จะรู้สึกกังวลไม่สบายใจ เป็นต้น และนันทนจิตในฐานะสุดท้ายคือในฐานะภาวะของจิตใจ (Leisure as State of Mind) ซึ่งเป็นประเด็นที่ทาให้ผู้เขียนนามาคิดเป็นคาไทยคาใหม่ รายละเอียดดังที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น อันมีความหมายว่า ภาวะของจิตใจของแต่ละบุคคลจะเป็นตัวกาหนดว่ากิจกรรมแท้จริงใดเป็นนันทนจิต บางท่านอาจคิดว่าการได้เล่นปล้ากับเพื่อนในดินโคลนเป็นนันทนจิตที่สุดยอดของเขา ในขณะที่ท่านอื่นอาจชอบสะสมแสตมป์ สะสมของเก่า ปลูกผักชีวภาพ หรือเพียงให้ได้นอนในเปลญวนเท่านั้นก็เป็นความพึงพอใจอย่างที่สุดแล้ว จากที่กล่าวมาแต่ต้น ท้ายที่สุด คาถามสาคัญที่ตามมาหลังจากมีความพยายามที่จะทาความ เข้าใจนันทนจิตในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งก็คือ ทาไมบุคคลจึงประกอบกิจกรรมนั้น ๆ? ผู้เข้าร่วมทาการตัดสินใจเลือกได้อย่างไร? และอะไรเป็นผลที่ตามมา? จาก “นันทนจิต” ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วม หรือการตัดสินใจที่จะเลือกเข้าร่วมอย่างมีอิสระในนันทนจิต ด้วยนันทนจิต และเพื่อนันทนจิต ด้วยก็ตาม สรุป เรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับนันทนจิต ยังมีอีกมากมายที่ต้องมีการทาการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเพื่อความเข้าใจนันทนจิตให้มากกว่านี้ จากการศึกษา พบว่า นันทนจิตมีความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน มีตาราที่เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับนันทนจิตอย่างลึกซึ้ง มีการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชานันทนจิตในระดับบัณฑิตศึกษาหลายสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ นั่นย่อมเป็นการแสดงว่า นันทนจิต หรือ Leisure มีความหมายมากกว่าและลึกซึ้งกว่าคาแปลหรือความหมายว่า “เวลาว่าง” ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมากนัก ในความคิดเห็นของผู้เขียน หากต้องการจะกล่าวถึงคาว่า “เวลาว่าง” และต้องการใช้คา 17 ภาษาอังกฤษ “Leisure” ควรใช้คาภาษาอังกฤษ “Time” ประกอบเป็น “Leisure Time” ลงไปด้วย ส่วนความคิดรวบยอด (Concept) ของ “นันทนจิต” ในขณะนี้ เท่าที่ผู้เขียนได้ทาการศึกษามาพบว่ายังพอมีบ้าง และถือเป็นความคิดของแต่ละคนที่จะบัญญัติความหมายขึ้นมา จะครอบคลุมความหมายที่แท้จริงหรือไม่ หรือผู้ใดจะเห็นด้วยมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานันทนาการศาสตร์ในประเทศยังจะต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์และสังเคราะห์ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนันทนจิตอย่างจริงจัง ให้มากกว่าและอย่างกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้เกิดความกระจ่างว่า นันทนจิตคืออะไร หรือหมายความว่าอย่างไร แตกต่างกับนันทนาการหรือไม่ อย่างไร ทาไมไม่ใช้คาใดคาหนึ่งให้เจาะจงลงไป จะเป็นการยุ่งยากหรือไม่ถ้าจะใช้คาทั้งสองไปด้วยกัน และจะยุ่งยากอย่างไร ท้ายที่สุด ขอเสนอและชวนเชิญให้ใช้คาไทยคาใหม่สาหรับคาภาษาอังกฤษ Leisure ว่า “นันทนจิต” เพื่อความเจริญก้าวหน้าของวงวิชาการนันทนาการศาสตร์ และเพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นไทยมากขึ้น และผู้เขียนจะรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งหากจะมีผู้คิดเสนอคาอื่นที่เหมาะสมกว่าคา “นันทนจิต” ขึ้นมา และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก็จะเป็นการดียิ่ง. บรรณานุกรม คณิต เขียววิชัย. หลักนันทนาการ (Principles of Recreation). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ศิลปากร นครปฐม, 2539. ณัฐพล อันตรเสน. การศึกษาปัญหาการจัดและดาเนินการโครงการนันทนาการในโรงเรียน สาหรับเด็กพิเศษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, 2542. ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์. นันทนาการเพื่อกลุ่มบุคคลพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โครงการพัฒนา รายวิชา เพื่อการเรียนการสอน สานักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Austin, D.R. Therapeutic recreation processes and techniques. Champaign, IL: Sagamore, 1999. Austin, D.R. and Crawford, M.E. Therapeutic recreation: An introduction. Boston: Allyn and Bacon, 2001. Cordes, K.A. and Ibrahim, H.M. Applications in recreation and leisure for today and the future. St. Louis: Mosby-Year Book, Inc., 1996. 18 Edginton, C.R., Hanson, C.R., and Edginton, S.F. Leisure programming concepts, trends and professional practice. Dubuque, IA: Wm.C. Brown Communications, Inc., 1992. Edginton, C.R., Jordan, D.J., DeGraaf, D.G., and Edginton, S.R. Leisure and life satisfaction: Foundational perspectives. Madison Dubuque, IA: Brown and Benchmark Publishers, 1995. http://encarta.msn.com/dictionary_/leisure.html http://www.thefreedictionary.com/leisure Jordan, D.J. Leadership in leisure service: Making a difference. State College, PA: Venture Publishing, Inc., 1993. Kaplan, M. Leisure: Theory and policy. New York: John Wiley, 1975. Kelly, J.R. Leisure. 3rd Ed. Boston: Allyn and Bacon, 1996. Kraus, R. Leisure in a changing America. New York: Macmillan, 1994. Kraus, R., Barber, E., and Shapiro, I. Introduction to leisure services: Career perspectives. Champaign, IL: Sagamore Publishing Inc., 2001. Kraus, R. G. and Curtis, J.E. Creative management in recreation, parks, and leisure services. Boston: McGraw-Hill, 2000. Mannell, R.C. and Kleiber, D.A. A social psychology of leisure. State College, PA: Venture, 1997. Murphy, J. Concepts of leisure: Philosophical implications. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, 1974. Murphy, J.E. Recreation and leisure service: A humanistic perspectives. Dubuque, IA: Wm. C. Brown Communications, Inc., 1975. Neulinger, J. Introduction. In S.E. Iso-Aloha (Ed.), Social psychological perspectives on leisure and recreation. (pp. 5-18). Springfield, IL: Thomas, 1980. Smith, D.H. and Theberge, N. Why people recreate. Champaign, IL: Life Enhancement Publications, 1987. Torkildsen, G. Leisure and recreation management. London: E and FN Spon, 1986. Veblen, T. The theory of the leisure class. New York: New American Library, 1953. 19 WLRA International Charter for Leisure Education. Drafted and Approved at the WLRA International Seminar on Leisure Education, Jerusalem, Israel, August 2-4 1993 and ratified by the WLRA Board, Jaipur, India, Dec. 3 1993. ∞∞∞∞∞∞∞∞ 21/04/1994 ปรับปรุง 17/11/2010