จามจุรีเกมส์

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 10:35, 23 ธันวาคม 2553 โดย Oworawan (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 พ.ศ. 2554 กำหนดการแข่งขันรอบมหกรรม ในวันที่ 12-22 มกราคม 2554

นับเป็นโอกาสดีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 พ.ศ. 2554 เพราะมีความพร้อมด้านบุคลากร สนามแข่งขันและรองรับการฝึกซ้อม การแพทย์ การคมนาคม สถานที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา สถานที่ บริการ อาหาร การพักผ่อนสันทนาการโดยรอบมหาวิทยาลัย และบุคลากรมีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬา เป็นกรรมการกีฬา ระดับชาติและนานาชาติหลายครั้ง การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 38 ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และเป็นกิจกรรมที่ชาวจุฬา ฯ จะแสดงให้เห็นว่า จุฬาฯ คือ เจ้าบ้านที่อบอุ่นของคนดีและคนเก่ง ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ คือ “บ้านนี้มีสุข” หรือ “มหาวิทยาลัยสุขภาพ”

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนานิสิต บุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษา ในการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและเกิดความสามัคคี เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อยากจะเห็นจุฬาฯ เป็นเสาหลักของแผ่นดิน และได้รับการยอมรับด้านกีฬาว่าดีที่สุดในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความร่วมมือ (MOU) ที่จุฬาฯได้ทำไว้กับการกีฬาแห่งประเทศไทย สถาบันการพลศึกษา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการสนับสนุนการกีฬา ทางวิชาการและบุคลากร เพื่อพัฒนามาตรฐาน การบริหารการจัดการและเทคโนโลยีการกีฬาและสุขภาพ รวมถึงจรรยาบรรณการเป็นผู้นำวิชาชีพวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อการส่งเสริมความร่วมมือ สัมพันธภาพ ระหว่างสถาบัน มีน้ำใจนักกีฬา ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ กติกา ตามมาตรฐานสากล กำหนดวันแข่งขันกีฬา


กำหนดการแข่งขันรอบคัดเลือก ในวันที่ 15 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน 2553 กำหนดการแข่งขันรอบมหกรรม ในวันที่ 12-22 มกราคม 2554 ( 11 วัน) กำหนดพิธีเปิด ในวันที่ 15 มกราคม 2554 กำหนดพิธีปิด ในวันที่ 22 มกราคม 2554 งานเลี้ยงต้อนรับ เจ้าหน้าที่ นักกีฬา ทุกสถาบัน ในวันที่ 15 มกราคม 2554 สถานที่แข่งขันกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในเขตปริมณฑล (ตามความเหมาะสม)

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนิสิต การมีส่วนร่วมของนิสิตแต่ละคณะ สถาบัน สำนักงานฯ ฯลฯ ในการเตรียมการโดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากิจกรรมของนิสิตเป็นกรณีพิเศษ เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบในการเป็นเจ้าภาพแล้ว ดังนี้

การประกวดตราสัญลักษณ์ ของ “จามจุรีเกมส์” พร้อมคำอธิบาย สำหรับกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 การประกวดตัวนำโชค ของ “จามจุรีเกมส์” พร้อมกล่องบรรจุภัณฑ์และคำอธิบาย สำหรับกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 มหาวิทยาลัยประกาศเชิญชวนนิสิตอาสาสมัครร่วมปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ตามความสามารถและความสมัครใจในรอบมหกรรมการแข่งขัน และพิธีเปิด/ปิดกีฬามหาวิทยาลัย (ประมาณ 2,000 - 3,000 คน) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน ทั้งนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เกิดการพัฒนาการทำงานอย่างเป็นระบบ และเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และกีฬาเพื่อสุขภาพ การพัฒนานิสิต บุคลากร ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม รู้จักการแก้ปัญหา การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีวินัย และเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บุคลากร และนิสิตทุกคณะ/สำนักวิชา/สถาบันต่างๆ ฯลฯ ที่มีประสบการณ์และมีหลักสูตร การเรียนการสอนทางด้านกีฬา จะได้แสดงออกถึงความสามารถในการปฏิบัติงานจริง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกันด้วยความเข้มแข็ง ภาคภูมิ เกื้อกูล และสามัคคี


คำขวัญ โลโก้ ตัวนำโชค เหรียญรางวัล

คำขวัญ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือน้ำใจนักกีฬา (SPORTSMANSHIP IS THE GREATEST VICTORY) ผลงาน : สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดอกจามจุรีที่เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย โดยนำเอาดอกจามจุรี ที่แปลงมาจากแฉกรัศมีของพระเกี้ยว สัญลักษณ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำมาเรียงตัวเป็น แนวตั้ง ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ให้ดูเป็นรูปทรงพระเกี้ยวบนฐาน ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคง โดย ตัดทอนให้สามารถอ่านเป็นเลข 38 และเป็นรูปดอกจามจุรี ที่จะไล่ลำดับสีชมพูซึ่งเป็นสีประจำ มหาวิทยาลัย ตามลำดับเพื่อให้เกิดมิติ โดยตราสัญลักษณ์นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พร้อมจะต้อนรับนักกีฬาทุกสถาบันในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 38 ซึ่งรัศมีทั้งสามส่วน สะท้อนให้เห็นถึง การรู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ น้ำใจนักกีฬา ที่พร้อมจะแสดงศักดาความเป็นนักกีฬาของทุกสถาบัน บนฐานสู่ชัยชนะอย่างมั่นคง ผลงาน : นายปิติ ประวิชไพบูลย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

ตัวนำโชค “กระรอก น้องน้ำใจ และ น้องไมตรี” เป็นสัตว์ที่สามารถพบเห็นในจุฬาฯ ได้ไม่ยาก ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก ความฉลาดเฉลียว อีกทั้งยังมีลักษณะของความคล่องแคล่วปราดเปรียวซึ่งทำให้สามารถสื่อได้ถึง การพัฒนาและเกิดความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มีลักษณะของความเป็นนักกีฬาผู้มากด้วยความสามารถ มีความมุ่งมั่น และเต็มไปด้วยน้ำใจของนักกีฬา เปรียบเสมือนตัวแทนของนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบัน ที่เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 38 ในครั้งนี้ ผลงาน : นายณัฐกรณ์ ไทยรัตนสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4


บทเพลง บทเพลง ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือน้ำใจนักกีฬา ผลงาน : นายธานินทร์ เคนโพธิ์ นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์

เขียนโดย ผศ.ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

อ้างอิงจาก http://www.chamchurigames38.chula.ac.th/about/about_about.html

เครื่องมือส่วนตัว