การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบย้อนกลับ

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 04:33, 27 เมษายน 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบย้อนกลับ (Backward Design)

การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบย้อนกลับ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบจากการเริ่มต้นที่การประเมินสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งมีลักษณะดังนี้

ไฟล์:การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบย้อนกลับ.JPG


การออกแบบย้อนกลับเป็นกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การประเมินผลการเรียนรู้ และการออกแบบการเรียนรู้ โดยอิงหลักสูตร และอิงมาตรฐาน ซึ่งกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และมีการกำหนดเป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning Outcomes) ซึ่งเป็นผลการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่คงทน มีการกำหนดประเด็นและการตั้งคำถามในส่วนของการประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Assessment) การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนที่พิจารณาถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะมีการกำหนดการประเมินการเรียนรู้ที่มีวิธีการ มีเกณฑ์ มีภาระงาน มีผลงาน มีสิ่งประดิษฐ์ และมีหลักฐานหรือชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจตามมาตรฐานการเรียนรู้ จากนั้นจึงออกแบบการเรียนรู้ (Learning Design) ให้ตรงตามเป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยพิจารณาตัวชี้วัด สาระและมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตร มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ได้หลักฐานที่เน้นชิ้นงานแสดงความเข้าใจอย่างลุ่มลึก ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมหรือออกแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย หรือจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยจะต้องให้ผู้เรียนรู้จักสร้างความรู้ขึ้นเอง เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้าใจและสร้างผลงานของตนเอง ทั้งนี้จะต้องจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและจัดตามความเข้าใจและความถนัดด้วย


การออกแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบย้อนกลับ (Backward Design Process for Health Education Learning)

ไฟล์:Backward Design Process for Health Education Learning.JPG


ในการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบย้อนกลับนั้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้แก่ การที่ผู้เรียนมีความรู ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพโดยคำนึงถึงหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน การประเมินการเรียนรู้พิจารณาถึงการประเมินตามสภาพจริง และมีหลักฐานที่ยอมรับได้ สำหรับการออกแบบการเรียนรู้สุขศึกษาจะคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มีการกำหนดเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะกระบวนการคิด การบูรณาการและการใช้ทักษะชีวิต



อาจารย์ผู้ดูแลบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว