ไส้เดือนดิน

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 04:51, 3 พฤษภาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในการสร้างสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน และย่อยสลายซากอินทรียวัตถุต่างๆ จึงเท่ากับเป็นการพรวนดิน และสร้างอินทรีย์สารให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไส้เดือนจึงเปรียบเสมือน "โรงงานผลิตปุ๋ยเคลื่อนที่" ให้แก่ธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว มีการทำรายงานเรื่องไส้เดือนเป็นครั้งแรก ว่ามีทั้งสิ้น 24 ชนิด จนกระทั่งปี 2554 จากการสำรวจไส้เดือนดินที่ จ.น่าน พบว่าไส้เดือนส่วนใหญ่จัดอยู่ในวงศ์ "Megascolecidae" พบทั้งสิ้น 18 ชนิด โดยมีไส้เดือนที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ คือ Amynthas alexandri, Metaphire anomala, M. houlleti, M. peguana(ไส้เดือนขี้ตาแร่) และ M.posthuma (ไส้เดือนขี้คู้)

ในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบไส้เดือนอีก 5 ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งการค้นพบไส้เดือนดินชนิดใหม่ใน จ.น่าน ครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของงานอนุกรมวิธานไส้เดือนของไทย ที่ห่างหายและไม่เคยมีรายงานมานานกว่า 70 ปี ที่สำคัญยังเป็นการค้นพบและรายงานโดยคนไทย


ไส้เดือนใหม่ 5 ชนิด

1.Amynthas borealis Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนดินขนาเล็กยาว 4-5 เซนติเมตร มีจำนวนช่องรับสเปิร์ม 1 คู่ ระหว่างปล่องที่ 7/8 ไคลเทลลัม อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ในขณะที่ช่องเปิดเพศผู้จำนวน 1 คู่ โดยระหว่างช่องเปิดเพศผู้ปล้องที่ 18 จะนูนและมีสันยาวคมชัดขวางอยู่บนช่องเปิดเพศผู้ทั้งสอง พบอาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูน ซึ่งเป็นภูเขาเล็กๆ ที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน และพื้นที่ป่าส่วนใหญ่กำลังถูกบุกรุกด้วยการแผ้วถางและเผาป่า


2.Amynthas phatubensis Panha & Bantaowong, 2011 ไส้เดือนขนาดเล็กยาว 3-4 เซนติเมตร มีจำนวน 52-78 ปล้อง ลักษณะสำคัญของไส้เดือนชนิดนี้คือ มีช่องรับสเปิร์ม 1 คู่อยู่ระหว่างปล่องที่ 7/8 ไคลเทลลัม อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ช่องเปิดเพศผู้ แม้ว่าจะมองเห็นได้ยาก แต่ก็สามารถสังเกตได้ ไส้เดือนชนิดนี้พบเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ตามเขาหินปูนบริเวณอุทยานถ้ำผาตูบ อ.เมือง จ.น่าน


3.Amynthas srinan Panha & Bantaowong, 2011 ไส้เดือนขยาดเล็กยาว 3-4 เซนติเมตร มีจำนวน 52-78 ปล้อง ลักษณะสำคัญของไส้เดือนชนิดนี้คือ มีช่องรับสเปิร์ม 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้อง ที่ 14 ส่วนช่องเปิดเพศผู้อยู่ปล้องที่ 18 เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน พบค่อนข้างชุกชุมใน อุทยานแห่งชาติศรีน่าน โดยจะอาศัยอยู่ตามใต้ซากใบไม้ทับถมที่เปียกชื้น


4.Amynthas tontong Panha & Bantaowong, 2011 เป็นไส้เดือนขนาดเล็ก ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร มีจำนวน 70-80 ปล้อง ลักษณะสำคัญคือมี มีช่องรับสเปิร์ม 1 คู่อยู่ระหว่างปล้องที่ 7/8 ไคลเทลลัม อยู่ปล้องที่ 14-16 และมีช่องเปิดเพศเมีย 1 อันอยู่บนปล้องที่ 14 ส่วนช่องเปิดเพศผู้อยู่ปล้องที่ 18 เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน พบที่น้ำตกต้นตอง อ.ปัว จ.น่าน


5.Metaphire grandipenes Ban taowong & Panha, 2011 เป็นไส้เดือนขนาดปานกลาง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีจำนวน 195 ปล้อง มีช่องรับสเปิร์ม 3 คู่ ระหว่างปล่องที่ 5/7-7/8 ลักษณะเด่นของไส้เดือนชนิดนี้คือช่องเปิดเพศผู้ ซึ่งอยู่บนปล้องที่ 18 ยื่นยาวออกมานอกลำตัวอย่างชัดเจน พบในพื้นที่ป่าชุมชน ต.ไหล่น่าน อ.เสียงสา จ.น่าน


รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว