สื่อสารมวลชน

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 06:41, 12 พฤษภาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการสื่อสาร (communication process) ประกอบด้วย

ฝ่ายผู้สื่อสาร(sender) ซึ่งมีความประสงค์จะสื่อสาร (message) ไปยังผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านช่องทาง การสื่อสาร (channel of communication) ช่องทางการสื่อสารมีรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย ภายใต้ บริบทแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural context) ของการสื่อสาร��การสื่อสารเป็นกระบวนการที่มีพลวัต (dynamic) �ในลักษณะการตอบกลับ (feedback) และมีการสื่อสารไปมาระหว่างกันของคู่สื่อสารหรือการสื่อสารสองทาง �(communication is, inevitably, a two-way process)

๑. ระดับบุคคล ระหว่างคนสองคน เรียกว่า� การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication) หรือการสื่อสารเฉพาะหน้า (face-to-face communication) ๒. ระดับองค์กร หมายถึง การสื่อสารระหว่างกลุ่มคนที่รวมตัวกันและทำงานในลักษณะเป็นองค์กร(organizational communication) ๓. ระดับกลุ่มบุคคล หรือที่เรียกว่า การสื่อสารระหว่างกลุ่ม (group communication) ๔. ระดับมวลชน หรือที่เรียกว่า การสื่อสารมวลชน(mass communication)�


กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์นำคำว่า “การสื่อสาร” (communication) มารวมกับคำว่า “มวลชน” (mass) �หมายถึงคนจำนวนมาก ๆ

สื่อสารมวลชน จึงหมายถึง สื่อสารไปสู่มวลชน คำว่า “สื่อสารมวลชน” ตรงกับคำ “mass communication”

กระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติศัพท์คำว่า

     “สื่อมวลชน”ขึ้นตรงกับคำว่า “mass media” 
     ย่อจาก “สื่อในการสื่อสารมวลชน” หรือ 
     “medium / media of communication” 

Lasswell (๑๙๔๘) สรุปว่ากระบวนการสื่อสารมวลชนคือ� ใคร (Who)� พูดอะไร (Says what)� ผ่านช่องทางอะไร (In which channel)� พูดกับใคร (To whom)� ได้ผลว่าอย่างไร (With what effect ?)�

เครื่องมือส่วนตัว