ค่านิยมอเมริกัน

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:17, 12 พฤษภาคม 2554 โดย Schaweew (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ค่านิยมอเมริกัน คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ โดย ดร.ฉวีวรรณ สายบัว

มนุษย์เราแต่ละคนที่เกิดมาจะมีสิ่งที่ยึด หรือมีจุดมุ่งหมายของตนเอง (sense of value or purpose) สิ่งนี้เปรียบเสมือนศูนย์กลางของชีวิต ค่าที่ยึดหรือจุดมุ่งหมายในชีวิตของแต่ละคน จะเป็นอะไรขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อ (belief system) ความอยาก (greeds) ของแต่ละคน อาจเป็นเงิน ครอบครัว งาน ตำแหน่ง ตนเอง เสรีภาพ ความจริง หลักคำสอนของศาสนาหรือตามชุมชนสังคม คนที่ยิ่งใหญ่จะมีสิ่งที่ยึดที่สูงส่งกว่าคนธรรมดา

สิ่งที่ยึดตามความเชื่อความอยากจะเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ (character) หรือบุคลิกลักษณะ/ ท่าทาง (personality) ของคนเรา ทำให้มีบุคลิกภาพแตกต่างกันออกเป็น 2 แบบ : คนที่มีความเป็นตัวของตัวเอง (independence) และคนที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง (dependence)

คนที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง จะไม่มีสิ่งที่ยึดของตนเอง แต่จะยึดตามผู้อื่น มักเป็นคนไม่รักษาสัญญา ขาดความรับผิดชอบ สภาพแวดล้อมบังคับได้ง่าย มักควบคุมตนเองไม่ได้ จะรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ขาดแคลนต้องแก่งแย่งกัน (scarcity mentality)

ส่วนคนที่มีบุคลิกภาพเป็นตัวของตัวเอง จะมีสิ่งที่ยึดที่มาจากข้างในของตนเอง เป็นคนรักษาคำมั่นสัญญา ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตนตามค่าที่ยึด ประ พฤติปฏิบัติตนตามค่าที่ยึดอย่างคงเส้นคงวา และมีกาย วาจา และใจ ตรงกัน (integrity) ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ มีช่องทางที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง จึงรู้สึกไม่ขาดแคลนทุกสิ่งมีพอแบ่งปัน (abundance mentality)

การที่คนเรามีค่าหรือสิ่งที่ยึดเป็นอย่างไร ก็ยึดถือที่จะประพฤติปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับค่าที่ยึดนั้นเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไร ในฐานะเป็นพี่ หรือน้อง เป็นนาย หรือลูกน้อง หรือเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม เมื่อได้ทำเช่นนั้นมานาน ก็สามารถสร้างความนับถือตนเองได้ และเป็นคนมีค่า เป็นคนซื่อสัตย์ คนที่มีความเป็นตัวของตัวเองมักจะเป็นคนมีคุณค่าจริง

และเพราะฉะนั้นเมื่อคนเรามาอยู่รวมกันเป็นองค์กร พรรคการเมือง สังคม ประเทศ หรือเป็นกลุ่มประเทศความร่วมมือ ถ้ามีค่าและหลักการที่แต่ละคนยึดถือที่สอดคล้องกัน (shared values and principles) ก็จะมีอะไรที่เห็นพ้องต้องกัน (like-mindedness) มองเห็นภารกิจและจุดมุ่งหมายร่วมกัน (common shared mission and purpose) และถ้าการกระทำของแต่ละคน/ ประเทศเป็นไปตามที่เล็งเห็นร่วมกันไว้อย่างคงเส้นคงวา มันก็จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือ และความเชื่อถือไว้วางใจในกันและกัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จหรือการบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการร่วมกัน

จึงเป็นที่ชัดเจนว่า (การถกเถียง) เรื่อง "ค่า" หรือ "ค่านิยม" (value) มีความสำคัญในตัวของมันเอง และชัดเจนอย่างทัดเทียมกันว่า มันมีอิทธิพลในการกำกับหรือบงการพฤติกรรม หรือการกระทำของมนุษย์เรา ตัวอย่างสำคัญที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์โลกก็คือ การมองหรือการยึด "ค่านิยม" หรือ "ค่า" ที่แตกต่างกันได้เป็นเครื่องแบ่งประเทศในโลก ออกเป็น 2 ฝ่ายมาเป็นระยะเวลายาวนานเกือบเป็นศตวรรษ คือฝ่ายโลกสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ ที่นำโดยสหภาพโซเวียต และฝ่ายโลกทุนนิยม/ เสรีนิยม ที่นำโดยสหรัฐอเมริกา

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม/ ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน รัฐ/ผู้วางแผนเป็นผู้กำหนด "ค่า" โดยมีความคิดว่ารัฐ สังคมหรือประเทศมีชีวิต มีตัวตน (organic view of state) เป้าประสงค์ของรัฐดีงามกว่าเป้าประสงค์ของบุคคล ดังนั้น รัฐ/ผู้วางแผนจึงเป็นผู้เหมาะสมที่จะกำหนดค่าว่า ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่ ควรจะถูกจัดสรร หรือนำไปใช้เพื่อผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และใครจะได้สินค้าไปเท่าไร

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจตลาด/ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือระบบที่มองรัฐ หรือประเทศไม่มีตัวตน ไม่มีชีวิตจิตใจ (inorganic view of state) และถือว่า "ตลาด" (market) เป็นผู้กำหนดค่า และ "ค่า" มาจากใจ (subjective theory of value) คือใจของผู้บริโภค/ ผู้ซื้อที่แสดงออกมาผ่านทางอุปสงค์ (demand) โดยกำหนดให้ความมั่งคั่ง/ รายได้และรสนิยมและความพอใจของผู้บริโภคคงที่ ช่วยให้สัญญาณ หรือคำตอบแก่ผู้ผลิต/ผู้ขาย (supply) ว่าสินค้าใดควรถูกผลิต (สินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด) และขายให้แก่คนที่ให้ราคาดีที่สุด ผู้บริโภคที่เห็นค่าหรือเห็นประโยชน์ หรือมีความพอใจมาก ก็ย่อมเต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้ามาก

เพราะฉะนั้นภายใต้สถานการณ์โลกในปัจจุบัน ที่ดูเหมือนว่าความร่วมมือ/ข้อตกลงแบบหลายฝ่าย หรือพหุภาคีผ่านช่องทางองค์การระหว่างประเทศ ที่มีประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นสหประชา ชาติ ไอเอ็มเอฟ หรือองค์การการค้าโลก ที่ไม่ประสบความสำเร็จ/ล้มเหลว จนทำให้ขาดความน่าเชื่อถือศรัทธาลงไปมาก จึงทำให้สหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศผู้นำอันดับ 1 ของโลกในทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง จึงกลายมามีบทบาทเป็นผู้นำเดี่ยวหรือประเทศมหาอำนาจเดี่ยวของโลกอยู่ในขณะนี้

ประกอบกับหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน อันเป็นวันที่โลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และหลังจากวันนั้นทำให้อเมริกา ประกาศทำสงคราม และเอาจริง เอาจังกับลัทธิการก่อการร้ายระหว่างประเทศ การแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ และการพัฒนาอาวุธ เพื่อการทำลายอย่างขนานใหญ่ (อาวุธเชื้อโรค) และดังนั้น เพื่อจะเอาชนะกับสิ่งที่คุกคามต่อประเทศอเมริกาเอง และต่อโลกและมนุษยชาติโดยส่วนรวมดังกล่าว อเมริกาจึงต้องร้องขอ ขอให้บรรดาประเทศที่มีความสัมพันธ์กับอเมริกา หรือเป็นประเทศพันธมิตรของอเมริกาให้ต้องแสดงออก หรือแสดงจุดยืนของตนว่า จะอยู่กับข้างฝ่ายไหนแน่ จะอยู่ข้างฝ่ายสนับสนุนอเมริกาหรือไม่

จึงเป็นที่มาของการที่อเมริกาไปให้สิทธิประ โยชน์ ให้ฐานะพิเศษ หรือให้เป็นพันธมิตรพิเศษนอกกลุ่มประเทศนาโต้ แก่ประเทศที่มีการแสดงออก และการกระทำไปในทางที่ให้การสนับสนุน หรืออยู่ข้างฝ่ายอเมริกา รวมทั้งการที่อเมริกาไปทำ FTA หรือข้อตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคี กับประเทศที่แสดงออกถึงการสนับสนุน หรืออยู่ข้างฝ่ายอเมริกาดังกล่าว ซึ่งทำให้ประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยได้เอาไปใช้เป็นแนวทาง หรือนโยบายในการทำการค้า กับประเทศคู่ค้าของตน เช่นเดียวกัน จึงอาจถือได้ว่าแนวทางข้อตกลงการค้าเสรีแบบสองฝ่าย ที่เข้ามาแทนที่ข้อตกลงการค้าเสรีแบบหลายฝ่าย ของการค้าโลกในเวลานี้ เป็นการผลักดันหรือบงการให้เป็นไปโดยสหรัฐอเมริกา

เพราะฉะนั้น เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์โลกในปัจจุบัน เพื่อที่จะอยู่กับประเทศมหาอำนาจ (superpower) ที่นำหรือกำกับความเป็นไปในทุกด้านของโลกอยู่ในเวลานี้อย่างไร จึงเห็นว่าน่าจะจำเป็นที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ถึงความเชื่อ/ความอยาก ค่านิยม ทัศนคติ หรือวัฒนธรรมอเมริกันที่กำกับ หรือบงการพฤติกรรม/การกระทำของคนอเมริกัน ผู้นำหรือของรัฐบาลอเมริกัน ที่ทำให้ประเทศอเมริกา/ คนอเมริกันเหมือนหรือแตกต่างไปจากพันธมิตรของตน หรือที่ทำให้ประเทศในโลกแบ่งออกเป็นกลุ่ม/ ฝ่ายตามพื้นฐานค่านิยมที่เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร แล้วมันมีผลให้เกิดปัญหา "ความ ขัดแย้ง" หรือ "ความแตกแยก" (disintegration) ขึ้นในโลกอย่างไร

มีรายงานพิเศษ เรื่อง "ค่านิยมอเมริกัน" (American values) ลงในวารสาร The Economist ฉบับเดือนมกราคม 2003 อันเป็นผลที่ได้รับจากการสำรวจความคิดเห็น/ทัศนคติ 3 การสำรวจที่ทำโดย Pew Research Center, German Marshall Fund (ร่วมกับ Chicago Commission Foreign Relations) และที่ทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่แสดงให้เห็นเหมือนกันว่า คนยุโรปและคนอเมริกันมีทั้งส่วนที่เห็นด้วยกันและส่วนที่เห็นคัดค้านกันใน "ค่านิยมพื้นฐาน" (basic values) และ "ใครก็ไม่สามารถพูดได้ว่าค่านิยมที่เห็นเหมือนกันมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมที่เห็นแตกต่างกัน"

โดยการสำรวจความคิดเห็นที่กว้างขวางที่สุดของทัศนคติระดับชาติใน 44 ประเทศที่ทำโดย Pew Research Center โดยทั่วไปสิ่งที่ค้นพบสนับสนุนทรรศนะของประธานาธิบดีบุชที่ว่า "อเมริกาและพันธมิตรของอเมริกายึดถือค่านิยมเหมือนกัน ในเรื่องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย" ดังมีรายละเอียดของผลการสำรวจที่น่าสนใจต่อไปนี้

- สัดส่วนของทรรศนะในทางที่นิยมชมชอบอเมริกาของคนที่ถูกสำรวจเป็นดังนี้ คือ คนเยอรมัน 61% คนฝรั่งเศส 63% และคนอังกฤษ 75%

- ส่วนใหญ่ของประชากรของประเทศทั้งหมดที่สำรวจนิยมชมชอบอเมริกา 35 จาก 42 ประเทศที่คำถามนี้ถูกถาม (แต่คำถามนี้ถูกแบนในจีน)

- เป็นความจริงที่ภาพลักษณ์ของอเมริกา (America"s image) ลื่นไหลลงเล็กน้อย โดยสัดส่วนของประชากร ที่นิยมชมชอบอเมริกัน (pro-American) ได้ตกต่ำลงนับตั้งแต่ปี 2000 ในระหว่าง 4 ถึง 17 จุดในทุกๆ ประเทศยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในฝรั่งเศส ที่ความคิดเห็นเป็นไปในทางที่ชื่นชอบน้อยที่สุด

ทั้งหมดข้างต้นที่ได้รับจากการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า ที่รวมของสิ่งดีๆ จะคงดำรงอยู่ลึกๆ และดังนั้นรายงานที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนของ "ลัทธิต่อต้านอเมริกา" (anti-Americanism) ในยุโรปจึงดูเหมือนว่าจะเกินจริง ซึ่งการค้นพบที่ทำโดย Pew Research Center ที่แตกต่างไปจากรายงานการเติบโตของความเป็นศัตรูกันระหว่างอเมริกา และส่วนที่เหลือของโลกนี้มันสอดคล้องกับการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้โดย German Marshall Fund ที่ถามถึงความรู้สึกของชาวยุโรป และอเมริกันที่มีต่อประเทศที่ถูกเลือกและสหภาพยุโรป (โดยใช้อัตราเป็น 1 ถึง 100 โดย 100 แทนความรู้สึกที่อบอุ่นมาก)

โดยสิ่งที่ค้นพบก็คือ คนในประเทศยุโรป 6 ประเทศให้อัตราส่วนอเมริกาเป็น 64 (มากกว่าที่ให้โดยคนฝรั่งเศส) ขณะที่คนอเมริกันให้คนยุโรป (ฝรั่งเศส) 55 และคนอเมริกันให้คนยุโรป (อังกฤษ) 75 และด้านความรู้สึกต่ออิสราเอลพบว่าคนยุโรปให้อัตราเพียง 38 ซึ่งตรงกันข้ามกับคนอเมริกันที่ให้ถึง 55

นอกเหนือจากความรู้สึกระหว่างคนยุโรปและคนอเมริกันที่แบ่งแยกนั้นหรือไม่ว่าชนชั้นสูงในทั้งสองฝ่ายจะพูดอะไร หรือเห็นเป็นอย่างไรกันไป แต่ด้านคนธรรมดาโดยทั่วไปก็ยังคงชื่นชอบกันและกันอยู่ต่อไป

ในการสำรวจความคิดเห็น ค่านิยมหรือทัศนคติของคนอเมริกัน และของคนในประเทศพันธมิตรของอเมริกา และของคนในประเทศอื่นในโลก ที่ทำโดย Pew Research Center และ German Marshall Fund และผลการสำรวจนำเสนอไว้ ในวารสาร The Economist ฉบับเดือนมกราคม 2003 ดังนำเสนอไปบางส่วนในครั้งที่แล้วนั้น การสำรวจทั้งสองยังมีส่วนที่เห็นเหมือนกันในเรื่องเฉพาะเจาะจง ที่น่าสนใจตามลำดับดังต่อไปนี้

- ระหว่าง 2 ใน 3 และ 3 ใน 4 ของคนยุโรปที่สำรวจสนับสนุนสงครามการก่อการร้ายที่นำโดยสหรัฐอเมริกา

- ระหว่าง 2 ใน 3 และ 4 ใน 5 ของคนที่ถูกสำรวจเรียกอิรักว่าเป็นสิ่งคุกคามหนัก

- ทุกคนที่ถูกสำรวจชื่นชมวิทยาศาสตร์ เทคโน โลยี และวัฒนธรรมอเมริกัน

แต่การสำรวจทั้งสอง ก็ยังมีส่วนที่เห็นแตกต่างกันออกไปบ้างจากสิ่งที่ค้นพบ กล่าวคือ

German Marshall Fund

- ด้านทัศนคติสาธารณะต่อกองกำลังทหาร พบว่าประมาณ 3 ใน 4 คิดว่า บทบาทของกองกำลังทหารในประเทศของตนเป็นบวก หรือไม่มีความแตกต่างกันนักในความพร้อม ของสาธารณชนต่อการใช้กำลังในต่างประเทศ

- การสนับสนุนสถาบันความร่วมมือแบบหลายฝ่าย เช่น สหประชาชาติ หรือนาโต้ เข้มแข็งเท่ากันทั้งในยุโรปและอเมริกา

Pew Research Center

- คนส่วนใหญ่ในเกือบจะทุกประเทศพูดว่า โลกอาจมีความปลอดภัยน้อยกว่านี้ถ้ามีมหา อำนาจคู่แข่ง (มหาอำนาจอเมริกา) ขึ้นมา นี่เป็นจริงแม้แต่ในรัสเซีย

- มากกว่า 80% ของคนอเมริกันพูดว่า เขาต้องการผู้นำระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง จากสหภาพยุโรป ขณะที่มากกว่า 60% ของคนยุโรปพูดว่า เขาต้องการอย่างเดียวกันจากอเมริกา

- เมื่อถามถึงความแตกต่างของประเทศของเขา และอเมริกาเป็นผลจากความขัดแย้งในเรื่อง "ค่านิยม" หรือความขัดแย้งในเรื่อง "นโยบาย" ผู้ตอบส่วนใหญ่ในยุโรป ละตินอเมริกา และประเทศมุสลิม เลือกข้อนโยบาย

การแบ่งแยกแนวทาง

สิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจความคิดเห็น/ ทัศนคติระดับประเทศโดยสถาบันทั้งสองดังนำเสนอมาแล้วข้างต้น มันสะท้อน หรือให้นัยแก่รัฐบาล/ผู้นำอเมริกาว่า หนทางที่จะเอาชนะหัวใจ และจิตใจของพันธมิตรของตนทั่วโลกก็คือ การเน้นยึดมั่นใน "ค่านิยมที่เป็นสากล" (universal values) แน่นอนแม้ว่าผู้นำอเมริกา ต้องอธิบายนโยบายของตน แต่ก็ต้องพยายามเน้นว่า อเมริกาเองก็พยายามต่อสู้เพื่อค่านิยม ซึ่งทุกคนยึดถือเหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตาม โชคร้ายที่มีอะไรอีกมากด้วยในการศึกษาสำรวจของ Pew Research Center ที่ ยังก่อให้เกิดความสงสัย ในสิ่งที่กล่าวมานั้นของอเมริกา

ในโลกอาหรับแหล่งรวมของความดีดูเหมือนดำเนินไปอย่างเหือดแห้ง การศึกษานี้พบว่า คนส่วนใหญ่ในประเทศมุสลิม ที่เป็นพันธมิตรของ อเมริกา (อียิปต์ ปากีสถาน จอร์แดน และตุรกี) ไม่ชอบอเมริกา ปรากฏชัดว่ามีความยุ่งยาก ในการวัดความคิดเห็นในพื้นที่เหล่านั้น แต่ผลที่ได้รับนั้นดูประหลาด คือ ในอียิปต์ 60% ชอบ และ 64% ไม่ชอบ และในจอร์แดน 25% ชอบ และ 75% ไม่ชอบ

และแม้ความคิดเห็นของชาวยุโรป ที่มีต่อ อเมริกาที่ออกมาในทางที่น่าภาคภูมิใจ (ทางที่ยังชมชอบอเมริกา) แต่ก็มีสัญญาณของความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

- ถ้า นโยบาย เป็นปัญหาหลักมากกว่า ค่านิยม เราอาจคาดหวังว่าผู้คนน่าจะมีความคิดในทางชื่นชอบที่สูงขึ้น ต่อคนอเมริกัน มากกว่าประเทศอเมริกา แต่ความแตกต่างของความชื่นชอบคนอเมริกัน กับประเทศอเมริกานี้มันเลือนลาง เพราะแม้ว่าคนยุโรปตะวันตก มีทรรศนะในทางที่บวกมากกว่าเล็กน้อย ต่อคนอเมริกันมากกว่าอเมริกา แต่นี่เป็นเพียงข้อยกเว้น เพราะมีเพียง 14 ใน 43 ประเทศที่แสดงทรรศนะในทางที่บวก มากกว่าต่อคนอเมริกันมากกว่าประเทศอเมริกา และ

- แม้คนยุโรปส่วนใหญ่ที่พูดว่าชอบอเมริกา ซึ่งเป็นระหว่างครึ่งในอังกฤษ และ 3 ใน 4 ในฝรั่งเศส แต่เขาก็พูดด้วยว่า การแพร่กระจายความคิด และวัฒนธรรมแบบอเมริกันเป็นสิ่งที่เลว ตัวอย่างคนยุโรปมากมายพูดว่า เขาไม่ชอบความคิดอเมริกันเกี่ยวกับประชาธิปไตยเหมือนกับที่เขาชอบ (ดังกล่าวนี่มาจากส่วนของโลก ที่เป็นที่รู้และถูกกล่าวอ้างถึงว่า ชอบอเมริกามากที่สุด)

ในคำพูดอีกทาง ผู้คนนอกประเทศมุสลิมชอบอเมริกา แต่ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญที่สุดที่อเมริกายืนหยัดเพื่อ

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ได้จากพยานหลักฐานในเรื่อง ค่านิยมที่ขัดแย้งข้างต้น (บวกกับพยานหลักฐาน ในเรื่องค่านิยมที่เหมือนกัน) ก็คือ คนยุโรปและคนอเมริกัน มีค่านิยมบางอย่างที่ขัดแย้งกันและบางอย่างที่เหมือนกัน

เช่นเดียวกัน การสำรวจอันที่ 3 ในเรื่องเดียวกับการสำรวจทั้งสองดังข้างต้น ผลที่ได้รับก็สนับสนุนสิ่งดังกล่าวเหมือนกัน คือ การสำรวจค่านิยมของคนในโลก (world values survey) ที่ทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การสำรวจที่ทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนนี้ ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับการสำรวจความคิดเห็นสองอันแรกที่นำเสนอมาแล้ว ที่น่าสนใจมาก

การสำรวจนี้ย้อนกลับไปไกลโดยมหาวิทยาลัย ได้ส่งคำถามเป็นร้อยออกไปในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถึงตอนนี้ การสำรวจครอบคลุม 75 ประเทศกับ 85% ของประชากรโลก ความแตกต่างจากการสำรวจสองอันแรกอยู่ตรงที่แนวทาง การจัดคำตอบที่ได้รับ ของการสำรวจโดยจัดคำตอบ เกี่ยวกับค่านิยมออกเป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ ประเภทแรกเรียกว่าค่านิยมดั้งเดิม (traditional values) และประเภทที่สองเรียกว่า ค่านิยมการแสดงออกของตน (values of self-expression)

"ค่านิยมดั้งเดิม" (traditional values) ที่การสำรวจให้นิยามไว้ก็คือ หมายถึงค่านิยมทางด้านศาสนา ครอบครัว และประเทศ

พวกคนที่มีความคิดแบบดั้งเดิมเห็นว่า ศาสนามีความสำคัญในชีวิตของเขา มีความรู้สึกรุนแรงในเรื่องศักดิ์ศรี หรือความภูมิใจแห่งชาติ (national pride) คิดว่าเด็กควรถูกสอนให้เชื่อฟังอันเป็นหน้าที่ประการแรกของเด็ก ที่จะทำให้คนที่เป็นพ่อแม่ของเขาภาคภูมิใจ และพวกคนเหล่านี้เห็นว่า การทำ แท้ง การหย่าร้าง และการฆ่าตัวตาย ไม่มีวันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

โดยที่ปลายสุดของอีกด้านหนึ่งก็คือ พวกคนที่มี "ค่านิยมตามเหตุผลทางโลก" (secular-rational values) พวกนี้เน้นคุณภาพในทางตรงกันข้ามกับพวกแรกข้างต้น

อีกทางของการสำรวจนี้ยังมองถึงความสนใจในเรื่อง "ค่านิยมคุณภาพชีวิต" (quality of life values)

ที่ปลายสุดด้านหนึ่ง (ของแกนค่านิยมคุณภาพชีวิต) ก็คือ ค่านิยมที่ผู้คนยึดถือ (เมื่อการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เป็นความต้องการที่อยู่เหนือสุด) คือความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางกายภาพ มีความสำคัญมากกว่าค่านิยมในเรื่อง (เสรีภาพ) ของการแสดงออกของตน คนที่ไม่สามารถมีอาหารหรือความปลอดภัยโน้มเอียงที่จะไม่ชอบคนต่างชาติ พวกรักร่วมเพศ และคนที่เป็นโรคเอดส์ คนเหล่านี้ชอบที่จะเฝ้าจับตาดูไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดของกิจกรรมทางการเมือง แม้แต่ในเรื่องการยื่นคำร้อง/ ฎีกา และคิดว่าผู้ชายเป็นผู้นำทางการเมืองได้ดีกว่าผู้หญิง

ส่วนพวกที่มีค่านิยมที่ยึดถือ (ในเรื่องสิทธิ/ เสรีภาพ) การแสดงออกของตน จะเป็นฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้าม หรืออยู่ปลายสุดอีกด้านหนึ่ง ของแกนค่านิยมคุณภาพชีวิต (quality of life attributes)


การสำรวจค่านิยมของคนในโลก (world values survey) ที่ทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนสหรัฐอเมริกาในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน และครอบคลุม 75 ประเทศกับ 85% ของประชากรโลก โดยคำตอบที่ได้รับกลับมา จากคำถามเกี่ยวกับค่านิยม เป็นร้อยที่ส่งออกไป มีแนวทางการจัดคำ ตอบออกเป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ ประเภทแรก เรียกว่า ค่านิยมแบบดั้งเดิม (traditional values) และประเภทที่ 2 เรียกว่า ค่านิยมการแสดงออกของตน (values of self-expression)

ประโยชน์ของการแบ่งค่านิยมออกเป็น 2 ประเภทกว้างๆ ดังข้างต้นถูกนำมาใช้ในการแบ่งกลุ่มประเทศต่างๆ ในโลก หรือถูกนำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ในโลกถูกจัดกลุ่มกันอย่างไรดังแสดงโดยรูปข้างล่างนี้ ตัวอย่างประเทศยากจนที่มีค่านิยมในเรื่องการแสดงออกของตนต่ำ และมีระดับลัทธินิยม (ทำตาม) ธรรมเนียมดั้งเดิม (traditionalism) สูงถูกจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดทางด้านซ้ายมือ ส่วนชาวยุโรปที่ร่ำรวยกว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศข้างบนทางขวามือ (ดูแผนภูมิ)

แต่ตำแหน่งอเมริกาดูน่าแปลกบนแกนค่านิยมคุณภาพชีวิต (survival values/self-expression values) อเมริกาเหมือนยุโรป คือมีการแสดงออกมากกว่าประเทศคาทอลิก (เช่น ฝรั่งเศส และอิตาลี) เล็กน้อย แต่น้อยกว่าประเทศโปรเตสแตนต์ (เช่น ฮอลแลนด์หรือสวีเดน) เล็กน้อย (ที่มากกว่าจะเป็นเรื่องความพอใจส่วนบุคคล)

"แกนค่านิยมคุณภาพชีวิต" เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดมากที่สุด กับเสรีภาพทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้น ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จึงถูกที่เขากล่าวว่า "คนอเมริกัน และคนยุโรป มีค่านิยมเหมือนกัน ในเรื่องประชาธิปไตย และเสรีภาพ" และเหล่านี้มีนัยเพราะ ณ ระดับรากความเป็นพันธมิตร (alliances) ถูกสร้างขึ้นมา บนความสนใจร่วมกันเช่นนั้น

ตอนนี้มาดูตำแหน่งอเมริกาบนแกนค่านิยมดั้งเดิม-ทางโลก (traditional-secular) อเมริกามีความคิดแบบดั้งเดิมมากกว่า ประเทศยุโรปตะวันตก (ยกเว้นไอร์แลนด์) มีความคิดแบบดั้งเดิมมากกว่าที่ไหนทั้งหมด ไม่ว่าจะในยุโรป หรือยุโรปตะวันออก อเมริกาอยู่ใกล้จุดต่ำสุดทางขวามือของแผนภูมิ (เป็นการผสมผสานที่แปลกของความคิดแบบดั้งเดิม และการแสดงออก)

คนอเมริกันเป็นผู้คนที่รักชาติมากที่สุด ผลจากการสำรวจพบว่า 72% พูดว่าเขาภูมิใจในประเทศของตนมากที่สุด (การสำรวจก่อนเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เล็กน้อย) ทำให้อเมริกาจัดอยู่ในประเทศที่เหมือนกับอินเดีย และตุรกี และตามที่มีการสำรวจได้นับเอาเรื่องทรรศนะทางศาสนาเป็นสิ่งเดียว ที่เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากที่สุด ของลัทธินิยมธรรมเนียมแบบดั้งเดิม บนคะแนนนั้นคนอเมริกันใกล้ชิดมากขึ้นกับคนไนจีเรีย และชาวเติร์กมากกว่าคนเยอรมนี หรือสวีเดน

แม้โดยเฉลี่ยอเมริกา ถือว่าเป็นประเทศที่มีความคิดแบบดั้งเดิม แต่เพื่อทำให้เห็นเป็นการทั่วไปค่าเฉลี่ยนั้นทำขึ้นของ 2 อเมริกากล่าวคือ อเมริกาหนึ่ง เกือบทั้งหมดเป็นพวกนิยมทางโลก (secular) เหมือนยุโรป และโน้มเอียง ที่จะลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคเดโมแครต และอีกอเมริกา ที่ค่อนข้างเป็นพวกดั้งเดิม (traditional) มากกว่าพวกโดยเฉลี่ย และโน้มเอียงที่จะลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคริพับลิกัน

แต่แม้ว่าเหตุที่ทำให้อเมริกา แตกต่างจากยุโรปมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอเมริกาถูกแบ่งแยกในแนวทางดังกล่าว การโต้เถียงทางการเมืองภายในประเทศอเมริกา ก็หมุนอยู่รอบๆ ค่านิยมในขนาดที่มากกว่าในยุโรปมาก ความผูกพันทางการเมืองในอเมริกา อยู่บนพื้นฐานด้านรายได้น้อยกว่าการไปโบสถ์ ทัศนคติต่อการทำแท้ง และทัศนคติต่อเชื้อชาติ ในอเมริกาแม้แต่เรื่องทางเทคนิค ก็กลายมาเป็นปัญหาทางศีลธรรม มันเป็นไปไม่ได้มากที่สุด ที่จะมีการโต้เถียงเกี่ยวกับการจดทะเบียน การที่จะมีอาวุธปืน โดยปราศจากการที่มันกลายมาเป็นการโต้เถียง เกี่ยวกับสิทธิของการป้องกันตนเอง ขณะที่ในยุโรป แม้แต่ในปัญหาทางศีลธรรมในบางครั้ง ก็ถูกปฏิบัติในฐานะเรื่องทางเทคนิค

ความแตกต่างระหว่างยุโรป และอเมริกาปรากฏให้เห็นว่า กำลังกว้างขึ้นนับตั้งแต่ การสำรวจค่านิยมของคนในโลกครั้งแรกในปี 1981 ทุกประเทศตะวันตกได้โยกย้ายอย่างเด่นชัด ไปในทางที่มีการแสดงออกของตนมากขึ้น (อเมริกาก็ไม่มีข้อยกเว้น) แต่ในอีกทางหนึ่งอเมริกาดูเหมือนว่า จะกลายมามีความคิดแบบดั้งเดิม และมากขึ้นมากกว่าจะน้อยลง

แต่ถ้ามองยุโรปทั้งหมด การโยกย้ายเล็กๆ ที่กลับไปสู่สิ่งดีๆ แบบสมัยก่อน (old-fashioned virtues) ในประเทศคาทอลิกใหญ่ ถูกทำให้ไม่มีน้ำหนัก โดยการก้าวยาวของอีกทางหนึ่ง ในประเทศโปรเตสแตนต์ เช่น เยอรมนีและสวีเดน โดยเฉลี่ย "ช่องว่างในเรื่องค่านิยม" (values gap) ระหว่างอเมริกาและยุโรปกำลังกว้างขึ้น

ที่ความชั่วร้ายเป็นจริง

(เพราะฉะนั้น) อะไรคือความสำคัญของเรื่องค่านิยม และช่องว่างในเรื่องค่านิยมระหว่างอเมริกาและยุโรป ถ้าค่านิยมคุณภาพชีวิตมีนัยทางการเมือง เป็นต้นว่ามันช่วยหนุนประชาธิปไตย ค่านิยมแบบดั้งเดิม (ของอเมริกา) อาจช่วยอธิบายความแตกต่างในทัศนคติต่อการพยากรณ์อำนาจ เป็นต้น

ในหลักการ 2 อย่างดังกล่าวมันอาจได้ "ลัทธิชาตินิยม" (patriotism) เป็นหนึ่งในค่านิยมหลัก (core traditional values) และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันชัดเจน ตัวอย่างกองทัพอาจ และเต็มใจ ที่จะดำรงงบประมาณ ทางด้านการป้องกันประเทศ อย่างขนานใหญ่ อาจมีความเชื่อมโยงระหว่าง ด้านศาสนาของอเมริกา และความโน้มเอียงของศาสนา ต่อการมองนโยบายต่างประเทศ ในเชิงทางศีลธรรม สำหรับชาวอเมริกันแล้ว พวกเขาเชื่อว่าความชั่วร้าย (evil) มีอยู่จริง และสามารถที่จะต่อสู้เอาชนะในชีวิต และในโลก เปรียบเทียบกับยุโรป ที่การมองโลกแตกต่างกัน ในความรู้สึกของทั้งสอง (คนอเมริกัน และคนยุโรป) นั่นคือ "ทัศนคติที่แพร่หลายที่แตกต่างกัน แนวทางที่แตกต่างกันของการมองโลก"

กลับไปที่พยานหลักฐานการศึกษาของ Pew Research Center และ German Marshall Fund ก็สนับสนุนสิ่งที่กล่าวข้างต้น การศึกษาของ Pew 3 ใน 4 ของคนยุโรป และแม้แต่มีส่วนแบ่งสูงขึ้นของชาวยุโรปตะวันออก ที่สนับสนุน และชื่นชอบการนำของอเมริกา ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย แต่มากกว่าของทั้งสองยุโรป ที่พูดว่าอเมริกาไม่ได้เอาประเทศอื่นมาพิจารณา (ในการทำสงคราม กับการก่อการร้าย) ขณะที่ในทางตรงกันข้าม 3 ใน 4 ของคนอเมริกันคิดว่า รัฐบาลของตนคำนึงถึงแล้ว

ในทั้งสองการศึกษา คนอเมริกัน และคนยุโรป มีประเด็นที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน ในระดับสูงที่พวกเขา ต่างมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องด้วย คือ ประเด็นทางศาสนา และความเกลียดชังทางจริยธรรม ลัทธิการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ ในประเด็นดังกล่าวเหล่านั้น อเมริกา และยุโรปเหมือนกันมากกว่า ประเทศแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา

แต่การศึกษาทั้งสองแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ในความสมดุลของความกังวลใจ ของคนยุโรป และคนอเมริกัน กล่าวคือ จากการสำรวจของ Pew 59% ของคนอเมริกันคิดว่า การแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ เป็นอันตรายที่สุดต่อโลก ขณะที่ระหว่าง 60% และ 70% ของคนยุโรป ให้ประเด็นเรื่องความเกลียดชังทางศาสนา และความเกลียดชังทางจริยธรรม มาเป็นอันดับ 1 และในการศึกษาของ Marshall พบว่าราว 90% ของคนอเมริกันพูดว่า ลัทธิการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และการพัฒนาอาวุธ เพื่อการทำลายอย่างขนานใหญ่ (อาวุธเชื้อโรค) ของอิรักเป็นเรื่อง "วิกฤต" เปรียบเทียบสำหรับชาวยุโรป เป็นราวๆ 60%

เพราะฉะนั้น กล่าวสั้นๆ "แม้ว่าคนอเมริกัน และคนยุโรปมองเห็นกัน และกันในแง่ที่เหมือนกัน เขามองโลกที่แตกต่างกัน"

อาจมีคนคัดค้านว่าค่านิยมเช่นนี้อยู่บนพื้นฐานของการวินิจฉัย ยังคงไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะประเทศที่ตั้งอยู่บน 2 ด้าน ของมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่มายาวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกัน ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ระหว่างอเมริกาที่ "แข็งแรง ไร้เดียงสา" และยุโรปที่ "เป็นผู้ดี ไม่มีหลักการ" พวกเขาจัดการกับสิ่งนั้น ดังเช่นที่เขารับมือกับความงุ่มง่ามทางการเมือง ที่ศูนย์กลางแรงดึงดูดโลกของอเมริกา ไปไกลทางขวามือกว่ายุโรป

อะไรแตกต่างกันในตอนนี้ระหว่างอเมริกา และยุโรป มี 2 อย่าง อย่างแรกก็คือ ช่องว่างในเรื่องค่านิยม อาจกำลังกว้างขึ้นเล็กน้อย และเริ่มต้นที่จะมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดความสนใจ ในนโยบายต่างประเทศ ในเรื่องซึ่งความเป็นพันธมิตรตั้งอยู่ และอย่างที่ 2 ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ถูกกดเอาไว้โดยค่านิยมร่วมกัน ของชนชั้นสูงของอเมริกาและยุโรป และความคิดเห็นของคนชั้นสูงในตอนนี้ ก็ยิ่งแบ่งแยกอย่างแหลมคมมากกว่า ความคิดเห็นของประชากร

มันเป็นการผสมผสานของปัจจัย ที่ทำให้การแบ่งแยกดังกล่าวเคลื่อนย้ายในปัจจุบัน และมันทำให้สบายใจได้ขึ้นเล็กน้อย ในการเผชิญศัตรูร่วมกันได้บ้างที่ "รัฐบาลบุชกำลังยืนกรานว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องของนโยบาย ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่ลึกกว่านี้"

เครื่องมือส่วนตัว