ดูอย่างไรว่าเศรษฐกิจดีหรือฟื้นแล้ว

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:19, 12 พฤษภาคม 2554 โดย Schaweew (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ดูอย่างไรว่าเศรษฐกิจไทย "ดี" หรือ "ฟื้น" แล้ว ? คอลัมน์ เศรษฐกิจ ระบบสารสนเทศ โดย ดร.ฉวีวรรณ สายบัว

แม้จะไม่มี...

สงครามอิรักและวิกฤตโรคซาร์สเพิ่มเติมเข้ามา และแม้รัฐบาลและผู้สนับสนุนจะใช้สื่อที่มีอยู่ในมือมากมายในการสร้างภาพ โฆษณาประชาสัมพันธ์ และโฆษณาชวนเชื่ออย่างมากมายตลอดเวลาว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลคิดใหม่ ทำใหม่ รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว รัฐบาลแก้ปัญหาได้มากมายแล้ว เศรษฐกิจไทยฟื้นแล้ว และในอีก 6 ปีข้างหน้าที่นายกฯทักษิณยังเป็นนายกฯประเทศไทยต่อไป ความยากจนจะหายไปจากคนไทย/ประเทศไทย (ราวกับสั่งได้หรือเนรมิตเองได้เลยทีเดียว)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมองตามความรู้และความจริง จริงๆ แล้วมองไม่เห็นว่าคนไทยโดยทั่วไปจะสามารถรู้สึกวางใจ สบายใจ และมั่นใจตามรัฐบาลได้

เพราะรัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการคิดใหม่ ทำใหม่จริง เรายังใช้วิธีแก้ปัญหาโดยวิธีเก่าๆ ใช้ความรู้จากตำราที่อ่าน (ดังที่นายกฯทักษิณมักจะเที่ยวบอกใครต่อใครให้หาหนังสืออย่างท่านมาอ่านกันให้มาก) หรือใช้ความรู้จากนักวิชาการที่มีความรู้ผิวเผินมาก ความรู้ที่มันไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงหรือเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงไม่ได้

มาตรการแก้ไขปัญหาหรือการฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตเศรษฐกิจจึงไม่เห็นว่ามันจะตีถูกจุดกับสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร (และดังนั้นจะให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยดีแล้ว ฟื้นแล้ว รัฐบาลทำทุกอย่างถูกต้องแล้วได้อย่างไร) เพราะโดยวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มปรากฏขึ้นนับตั้งแต่ปี 2540 มันเป็นภาวะที่เศรษฐกิจ รายได้ หรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมันขาดหายไปมาก มันขยายตัวลดลงจากเดิมมาก จากที่เคยเฉลี่ย 7-8% ต่อปีต่อเนื่องกันมาหรือบางปีกว่า 10% จนกลายมาเป็นติดลบ

โดยสาเหตุวิกฤตเศรษฐกิจมาจากปัญหาการจัดสรรทรัพยากรผิด/ปัญหาเกิดจากการลงทุนผิด (เรียกว่าเป็นปัญหาทางโครงสร้าง/ปัญหารากฐาน) จากเมื่อมีเงินไหลเข้ามาจากต่างประเทศมาก (ผลของนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน การเปิดธุรกิจวิเทศธนกิจและแรงจูงใจนักลงทุนต่างประเทศจากอัตราดอกเบี้ยสูง และระบบตะกร้าคงที่ทำให้ไม่ต้องเสี่ยงภาวะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน) แล้วไม่รู้จะจัดสรรไปทำอะไรกัน ก็จัดสรรผิดหมดจนพังทั้งระบบเอง

คือการเอาเงินไปใช้จ่ายโดยไม่ก่อให้เกิดเป็นกำลังการผลิตที่ให้รายได้เป็นการถาวรหรือการผลิตที่ผู้ผลิตมีรายได้ กำไร และชำระหนี้ได้ (ส่วนใหญ่ลงทุนในการซื้อที่ดิน เก็งกำไรจากหุ้นและที่ดิน การขยายการลงทุนอื่นทั้งรัฐและเอกชนที่เกินตัวและนำเข้ามาก ไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพ) เมื่อกิจการลงทุนโดยอาศัยเงินกู้จากต่างประเทศแสดงอาการขาดทุนและความไม่สามารถชำระหนี้ ผลกระทบเป็นลูกโซ่ เป็นการหยุดการใช้จ่าย หยุดการผลิต หยุดการลงทุนก็ตามมาดังที่เห็นกัน

การที่จะแก้ปัญหาหรือการที่จะฟื้นฟูการตกต่ำของเศรษฐกิจหรือการตกต่ำของรายได้ของประเทศ แม้จนถึงขณะนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องที่จะต้องลงไปสำรวจดูกันว่า การผลิตหรือกำลังการผลิตที่มีอยู่แล้ว ที่สร้างกันขึ้นมาแล้วทั้งโดยรัฐและเอกชนทั้งหมด (existing production capacity) มันอยู่ในสภาพอย่างไร (ไม่ใช่ยังคงไปอุ้มกัน ยังคงปล่อยให้ผลิตกันไปเหมือนเดิม) เป็นต้นว่า (1) การผลิต/การลงทุนอะไรที่ต้องทิ้งไปเพราะไม่มีอุปสงค์ในอนาคตแล้วหรือปิดกิจการ และโครงการที่ไม่มีอนาคตเมื่อพิจารณาอนาคตการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศตามโอกาสของตลาดโลก และความสามารถของธุรกิจไทยและคนทำงานไทย (2) ผลิตภัณฑ์อะไรที่มันใช้ได้ที่ผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะต้องปรับปรุง

และนอกจากนั้นแล้ว (3) แสวงหาช่องทางการลงทุนใหม่ของเอกชน จะเป็นการลงทุนอะไร หรือจะมีธุรกิจใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่และบริการใหม่ๆ หรือความสามารถใหม่และโอกาสใหม่ๆ อะไรบ้างที่ ก) ไม่ต้องอาศัยอุปสงค์ฟองสบู่ ข) มีตลาดหรืออุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศ ค) มุ่งให้ได้ประโยชน์/ใช้ประโยชน์จากแรงงานส่วนเกินที่ประเทศไทยมีอยู่มาก และทำเลที่ตั้งที่เป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่จริง) การผลิต/การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ (international competitiveness) และ จ) โดยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตอาจเป็นเพียงเทคโนโลยีขนาดกลางเพื่อให้ใช้แรงงานมากดังกล่าว ส่วนด้านไฮเทคไม่ควรให้ความสนใจเป็นหลัก แต่การแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านๆ มา และรวมทั้งรัฐบาลนี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกัน หรือก็เหมือนๆ กันเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดที่ทำก็คือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (economic stimu lus) คือมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย (aggregate demand) ทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล การใช้จ่ายในการบริโภค และการใช้จ่ายในการลงทุน โดยการขยายเงินผ่านทางนโยบายการเงินการคลัง ซึ่งเป็นการพยายามสร้างอุปสงค์เทียม (artificial demand) ขึ้นมาอีกเหมือนเดิม

การกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนักของรัฐบาลดังกล่าว ทำให้ใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่แล้วได้มากขึ้น (ยังไม่มีโอกาสหรืออุปสงค์การลงทุนใหม่ๆ) เพราะฉะนั้นแหล่งที่มาของการเจริญเติบโตในอัตราที่สูงขึ้นที่รัฐบาลพยายามป่าวประกาศ (และดูเหมือนว่าจะพยายามหาเหตุปัจจัยจากรายการการใช้จ่ายในโครงการและกิจกรรมที่พยายามหาทางสร้างกันขึ้นมาใหม่ๆ เกือบทุกวันมาปรับให้มันเป็นตัวเลขที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลาเป็น 5%, 6% หรือ 8%) ตรงนี้ก็มาจากแหล่งนี้โดยเฉพาะจากแหล่งการใช้จ่ายของรัฐบาล (ดังที่ถูกวิจารณ์โดยไอเอ็มเอฟซึ่งทำให้ท่านนายกฯทักษิณไม่พอใจ)

เพราะฉะนั้น แม้จะเป็นการผลิต/ผู้ผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือธุรกิจ/อุตสาหกรรมแม้จะขาดทุน แต่ก็ยังผลิตเพราะมีเงินเข้ามาช่วย และสินค้าส่งออกแม้จะขายได้ราคาก็ไม่ดีและไม่มีกำไร (ดังที่ไมเคิล พอร์เตอร์ วิจารณ์ไว้ด้วย)

เพราะฉะนั้นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นด้วยเหตุดังว่าจึงไม่อาจจะเป็นเครื่องชี้ว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นแล้วหรือไปได้ดีจริงแล้ว แต่ตรงกันข้ามกลับน่าที่จะเป็นเครื่องชี้หรือส่งสัญญาณในทางที่น่าห่วง น่าเป็นอันตรายขึ้นไปอีกมากกว่า ในแง่ของความไร้ประสิทธิภาพของการใช้จ่าย หนี้สินที่นับวันจะเพิ่มขึ้นมากมายตามมา และยิ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยที่สร้างกันมาที่มันไม่ถูกต้อง มันไม่ดีอยู่แล้ว ยิ่งมีโครงสร้างที่บิดเบือนมากขึ้น จะยิ่งทำให้การแก้ปัญหายิ่งยาก ยิ่งแก้จะยิ่งยุ่ง ยิ่งจะไม่มีวันจะแก้ปัญหากันได้ สภาพการณ์เช่นนี้วันหนึ่งคงจะไม่แตกต่างไปจากประเทศในละตินอเมริกาเป็นต้นว่าอาร์เจนตินา

เพราะถ้าเศรษฐกิจจะไปได้อย่างดีจริงแล้ว การลงทุนต่างๆ นั้นจะต้องเป็นโครงการที่มีกำไรหรือเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ (profitable/viable) ซึ่งหมายความว่าเป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดกระแสรายได้ในระยะยาว (permanent income stream) หรือจะต้องเป็นการเจริญเติบโตที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างและสถาบันต่างๆ (structural and institutional changes) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในกระแสรายได้ในระยะยาวหรือเป็นการถาวร

เครื่องมือส่วนตัว