เศรษฐกิจโลกจะปรับตัวอย่างไร

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:33, 12 พฤษภาคม 2554 โดย Schaweew (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

เศรษฐกิจโลกจะปรับตัวอย่างไร ? คอลัมน์ เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ โดย ดร.ฉวีวรรณ สายบัว

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1930 (great depression) ยังถือเป็นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุดของโลก ที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบันในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก แต่ในขณะเดียวกันมันก็นำวิวัฒนาการอย่างใหญ่หลวงมาสู่การศึกษาเศรษฐศาสตร์ จากก่อนหน้านี้การศึกษาเศรษฐศาสตร์ก็มีแต่การศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิก (classical economics) หรือการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในแง่จุลเศรษฐศาสตร์ (microeconomics) ก็ทำให้มีการศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวความคิดของเคนส์ (Keynesian economics) หรือการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในแง่มหเศรษฐศาสตร์ (macroeconomics) เพิ่มเติมขึ้นมา

การศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกและการศึกษาเศรษฐ ศาสตร์ตามแนวความคิดของเคนส์ดังกล่าวมันเป็นการมองเห็นเศรษฐกิจคนละอย่าง หรือมันมีกรอบ (framework) มองเศรษฐกิจคนละอย่างหรือคนละแบบจำลอง (model) หรือโดยเฉพาะการศึกษาเศรษฐศาสตร์ในทั้งสองแนวทางมันมีแนวคิด (concept) ต่างกันตรงที่ "บทบาทของรัฐในความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ"

(เพราะฉะนั้น เวลาเอามาอธิบายเศรษฐกิจไทยมันจึงอธิบายไม่ได้ เพราะฉะนั้น มันจึงแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยกันไม่ได้ เพราะบ้านเรามันก็ไม่เหมือนใครเขาทั้งนั้นแหละ เพราะมีอิทธิพลจากปัจจัยทางด้านที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ (non-economic factors) มาก หรือยังต้องตั้งคำถามกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ว่าจริงๆ แล้ว "เศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจอะไร ?" หรือ "เราใช้ระบบอะไรในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ?" เช่นเดียวกับที่ยังต้องตั้งคำถามกันว่า จริงๆ แล้ว "ประเทศไทยปกครองโดยระบอบอะไรแน่ ?" พูดกันปาวๆ ว่า "ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน")

(กลับมาอีกครั้ง) ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นในปี 1930 (หรืออาการของปัญหาปรากฏให้เห็นกันตั้งแต่ปี 1920) คือภาวะที่กำลังการผลิตของประเทศไม่ได้ถูกใช้อย่างเต็มที่ หรือไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ เหตุเพราะประชาชนไม่ยอมจับจ่ายใช้สอย หรือมีการเก็บออมเงินกันไว้มากเกินไป (saving > investment) เพราะฉะนั้น ทำให้อุปสงค์หรือการใช้จ่ายโดยรวมมีไม่เพียงพอหรือขาดแคลน (deficient aggregate demand)

ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาขายไม่ได้ ทำให้มีสินค้าตกค้างอยู่ในสต๊อกมากมาย เมื่อสินค้าผลิตออกมาขายไม่ได้และก็มีสินค้าอยู่ในสต๊อกมากมาย ผู้ผลิตก็ย่อมจะไม่ผลิตอีกต่อไป ทำให้ต้องทิ้งกำลังการผลิตเอาไว้เปล่าๆ (idle capacity) ตามมาด้วยการลดการจ้างงาน คนจำนวนมากก็ต้องว่างงานลงและไม่มีรายได้ ก็ยิ่งไม่มีเงินมาจับจ่ายใช้ สอยในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ (ไม่มีดีมานด์) ก็ยิ่งส่งผลให้สินค้าและบริการต่างๆ ก็ยิ่งขายไม่ออกยิ่งขึ้น และเมื่อขายไม่ออกก็ยิ่งผลิตลดน้อยลง ตามมาด้วยลดการว่าจ้างทำงานมากขึ้น คนยากจน คนว่างงานก็ยิ่งมีจำนวนมากขึ้นไปอีก ในแง่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตเมื่อขาย ไม่ได้ ไม่มีรายได้ ไม่มีกำไร ในที่สุดก็ต้องหยุดการผลิตลง

จากสภาพการณ์และสาเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 1930 ข้างต้น เพราะฉะนั้น การที่เคนส์เสนอให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวอย่างเอาเงินไปแจกกรรมกร ก็ทำให้กรรมกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ตามมาด้วยการมีอุปสงค์สำหรับสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากกำลังการผลิตที่มีอยู่แล้ว หรือกำลังการผลิตส่วนเกินที่ถูกทิ้งค้างเต่อเอาไว้ดังกล่าวได้

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกใหม่ รวมทั้งนักการเงินนิยม (ที่ถือว่าเป็นนักเศรษฐ ศาสตร์คลาสสิกใหม่ด้วย) ที่นำโดย มิลตัน ฟรีดแมน (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบันหรือเป็นบรมครูแห่งสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ของศตวรรษ ที่ 20) ที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรี (liberal economy) ต่างไม่เห็นด้วยกับเคนส์ที่สนับสนุนให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงกลไกของระบบเศรษฐกิจ/ ตลาด โดยผ่านทางนโยบายการบริหารอุปสงค์ (demand management policy) ด้วยเครื่องมือนโยบายการเงินและการคลัง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมา

ดังเช่นถ้าเอกชนไม่ใช้จ่าย รัฐบาลก็เป็นผู้ใช้จ่ายแทนเรื่อยๆ หรือทำให้เศรษฐกิจมีอุปสงค์ส่วนเกินอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อให้มีอุปสงค์อยู่เสมอโดยการใช้จ่ายของรัฐบาล จะทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ว่า ผู้ผลิตไม่ว่าจะผลิตสินค้าอะไรออกมาก็จะสามารถขายสินค้านั้นได้เสมอ ไม่ว่า จะเป็นการผลิต/ผู้ผลิตที่ดีหรือที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่ก็ตาม สภาพการณ์เช่นนี้จะเป็นการทำลายประสิทธิภาพของการผลิตและประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจของประเทศ

และในอีกทางหนึ่ง เมื่อมีการใช้จ่ายมากก็จะทำให้เกิดปัญหาภาวะเงินเฟ้อตามมา คือภาวะที่ราคาสินค้าและบริการต่างๆ มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งก็จะเป็นเหตุให้แรงงานเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้นไปอีก

ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกใหม่และนัก การเงินนิยมจึงต่างเห็นว่า รัฐบาลไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมาก ปล่อยให้ "เงิน" ทำหน้าที่ไป (เห็นว่าการใช้นโยบายการเงินมีประสิทธิผลมากกว่าการใช้นโยบายการคลัง) โดยทำให้เงินมีความเป็นกลาง (neutral) หมายถึงให้การเติบโตของเงิน (growth of money) เท่ากับการเติบโตของผลผลิตที่แท้จริง (growth of real output) อย่าให้มีอุปสงค์เทียม (artificial demand) เช่น การใช้จ่ายของรัฐบาลแทนเอกชน อันจะทำให้เศรษฐ กิจมีสภาพคล่องมากเกินไป ทำเช่นนี้จะทำให้เกิดการปรับตัวที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจได้เอง (real adjustment) อุตสาหกรรมที่ผลิตไม่มีประสิทธิภาพจะต้องออกไป เหลือแต่ผู้ผลิตที่ดีหรือที่มีประสิทธิ ภาพเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจมากที่สุด

กลับมาที่สภาพการณ์ปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน คือปัญหาการเติบโตที่ชะลอตัวของเศรษฐ กิจโลกในขณะนี้ (ที่ไม่เหมือนกับปัญหาการตกต่ำของเศรษฐกิจโลกในปี 1930 ซึ่งมีสาเหตุมาจากมีการออมมากเกินไป (หรือ saving > investment) เพราะฉะนั้น ทำให้อุปสงค์หรือการใช้จ่ายรวมมันมีไม่เพียงพอดังนำเสนอมาข้างต้น) แต่มันมีสาเหตุมาจากอุปสงค์การลงทุน (demand for investment) หรือโอกาสในการลงทุน (investment opportunity) มันเหือดแห้ง

และอุปสงค์การลงทุนหรือโอกาสการลงทุนมันเหือดแห้ง มันมีสาเหตุมาจากปัญหาทางโครง สร้าง (structural problem) หรือปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐ กิจไทยในขณะนี้ (imbalance of world eco nomy) จากที่ประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตของประเทศพัฒนาแล้ว (ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือและญี่ปุ่น) เป็นผลิตภัณฑ์ความรู้หรือผลิตภัณฑ์ไฮเทค ทั้งสินค้าเพื่อการลงทุนและสินค้าเพื่อการ บริโภค ซึ่งสินค้าพวกนี้หรือการใช้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าพวกนี้ของผู้บริโภคถือว่าเป็น "ค่าใช้จ่ายประเภทที่ต้องวินิจฉัย" (discretionary expenditure) ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ หรือจะซื้อก็ได้หรือไม่ซื้อก็ได้ เพราะเป็นประเภทสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิต หรือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

ซึ่งอุปสงค์สำหรับสินค้าเหล่านี้ในประเทศร่ำรวยก็ค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว จะขายให้ประเทศกำลังพัฒนาก็ไม่มีเงินจะซื้อ ทำให้อุปสงค์สำหรับสินค้าพวกนี้มันลดลงก่อนที่จะคืนทุนได้หมด (แต่ก็ยังพยายามกระตุ้นหรือส่งเสียงขู่กันออกมาให้ช่วยกันซื้อสินค้าเหล่านี้กันต่อไป ไม่เช่นนั้นแล้ว เศรษฐ กิจโลกก็จะไม่ฟื้นตัวแล้วก็จะส่งผลกระทบกัน ไปทั่ว)

จากเหตุดังกล่าว การแก้ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกหรือการขจัดความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ทำกัน จึงเป็นวิธีการใช้สินทรัพย์ทางการเงิน (financial assets) หรือใช้เงินเอามาปั่นเศรษฐกิจทั้งโลก ตามมาด้วยปัญหา คือเกิดปัญหาความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไม่มีทางไปก็ควรจะเติบโตชะลอตัวลง (growth slow down) แต่ทั้งโลกกลับไม่ให้มันเป็นไปเช่นนั้น กลับไม่ให้มีการปรับตัวไปในทางที่สะท้อนความเป็นจริงของเศรษฐกิจเช่นนั้น

แต่มันกลับใช้การเงินโดยการปั่นหุ้นและโดยการปั่นอสังหาริมทรัพย์กันทุกที่ เพื่อไม่ให้เศรษฐ กิจโลกมันชะลอตัวลง หรือเน้นใช้เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ หรือตอนนี้บ้า Keynesian economics กันมาก (ในขณะที่ Keynesian economics ใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ถือเป็นปัญหาระยะสั้นหรือปัญหาชั่วคราว ไม่ใช่เป็นปัญหาทางโครงสร้างที่เป็นสาเหตุของความผันผวนของเศรษฐกิจโลกอยู่ในเวลานี้)

ไปพยุงกิจการเน่าๆ กัน ไม่ยอมให้กิจการเน่าๆ เจ๊ง ยังยอมให้ผลิตกันต่อไปได้ โดยยังให้เงิน แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำกันเช่นนี้ไม่เพียงแต่ใน ญี่ปุ่น และที่อื่นๆ ด้วย รวมทั้งจีนและประเทศไทย ไม่ยอมให้เจ้าของอุตสาหกรรมเลิกกิจการไป ไปพยุงอุตสาหกรรมซอมบี้ (หรืออุตสาหกรรมผีดิบ) ดังกล่าวทำกันทุกที่ ไม่ใช่แต่ญี่ปุ่น ทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป โลกจึงเกิดการติด (growth stagnation)

หรือเพราะฉะนั้นเพื่อขจัดความผันผวน (fluctuations) ทางญี่ปุ่นและประเทศในเอเชียก็พยุงโดยใช้วิธีการขยายเงิน หรือใส่เงินเข้าไปในระบบเศรษฐ กิจ (expansive monetary policy) การมีเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้จึงเป็นเพราะการพยุงโดยใช้การขยายเงินดังกล่าว ทำให้ไม่เกิดการปรับตัวที่แท้ จริง (real adjustment) ในที่สุดแล้วจะปรับตัวกันอย่างไร ? เอเชียเองก็ไม่ยอมลดค่าเงิน เพราะฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยน (exchange rate) จึงไม่รู้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดการปรับตัวที่สมดุลของเศรษฐ กิจโลก (ยุโรป อเมริกาและเอเชีย)

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกให้ตรงจุดกับสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่เป็นปัญหาทางโครงสร้างดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เบื้องแรกก็ต้องร่าง หรือวาดภาพคร่าวๆ ของสภาพการณ์เศรษฐกิจโลกในขณะนี้ออกมาให้ได้ (เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย) เพราะฉะนั้น ถ้าโลกจะเติบโต จะเติบโตด้วยผลิตภัณฑ์อะไร (อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และที่อื่นๆ) หรือเป็นเรื่องที่ว่าส่วนผสมผสานของการลงทุนหรือส่วนผสมผสานของผลิตภัณฑ์ (investment mix หรือ product mix) ในระดับโลกจะเป็นอย่างไร (ขณะที่อยู่ในภาวะความไม่สมดุล) เพื่อให้การเติบโตที่เข้มแข็ง (healthy growth)

เครื่องมือส่วนตัว