กฎหมายอินเทอร์เน็ต

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:51, 12 พฤษภาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
        ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายชื่อ กฎหมายว่าด้วยการสื่อสารที่เหมาะสม (Communication Decency Act หรือ CDA) เพื่อเป็นฐานในการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายโดยการส่งข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ “ไม่เหมาะสม” ไปให้ผู้รับที่อายุน้อยกว่า ๑๘ ปี โดยรู้ล่วงหน้าว่าผู้รับมีอายุในเกณฑ์ผู้เยาว์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้หลักการของกฎหมายดังกล่าวจะเป็น�ที่ชื่นชอบและยอมรับของบรรดาผู้ปกครอง กลุ่มพิทักษ์สิทธิเด็ก �และครูในโรงเรียน แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย คือ สหภาพ�สิทธิเสรีภาพของประชาชนอเมริกัน (American Civil Liberty Union หรือ ACLU)

แนวทางการควบคุมเนื้อหาในประเทศตะวันตก

เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย (Unlawful content) - ภาพโป๊เปลือยของเด็ก - การมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก - การค้ายาเสพติด

เนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดผลร้าย (Potential harmful content)

   -  โป๊เปลือย	  
   -  ยาเสพติด
   -  การพนัน       
   -  ความรุนแรง
   -  การกดขี่เหยียดชาติพันธุ์, สีผิว, ศาสนา, ภาษา

การปิดกั้นสามารถทำได้ในสองระดับ คือ ระดับระบบใหญ่ (Main Server) ของ ISP โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า proxy และการปิดกั้นระดับผู้ใช้ (User) โดยใช้โปรแกรมกลั่นกรองเนื้อหาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (PC) อื่น ๆ (Filtering Software)


เกณฑ์ในการปิดกั้นเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

   - หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ		
   - ตั้งกลุ่มทำลายปัจเจกบุคคล        
   - ยาเสพติด				
   - ขายวัตถุลามกอนาจาร	       
   - แบ่งแยกดินแดน			
   - ค้าประเวณี			      
   - โป๊เปลือย				
   - การมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก	     
   - ขายของที่ทำลอกเลียนลิขสิทธิ์	
   - ทรมานสัตว์ 			       
   - ขัดต่อศีลธรรมประเพณี (เช่น เพศสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-ลูก�  ลบหลู่ศาสนาพุทธ)


พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐


สาระสำคัญ

    -ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง  ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่าในรูปเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การ   
      บันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใด 
   -ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานของรัฐหรือของเอกชน

ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดู (มาตรา ๙)

   -  ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลต่อเอกชน
   -  นโยบายที่ไม่เผยแพร่ในพระราชกิจจานุเบกษา
   -  แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการ
   -  คู่มือ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่กระทบต่อประชาชน
   -  สัญญาสัมปทาน สัญญาที่ผูกขาดตัดตอนที่ร่วมทุนกับเอกชนในด้านบริการสาธารณะ
   -  มติคณะรัฐมนตรีหรือมติกรรมการที่ตั้งโดยกฎหมาย
เครื่องมือส่วนตัว