ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 17:44, 17 พฤษภาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ � (New Social Movements) แบ่งความหมายได้ออกเป็น 2 ประการ ดังนี้

หมายถึงการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชน ที่เกิดจากกลุ่มที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในสังคม เช่น ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร

หมายถึงการรวมตัวและการแสดงออกในลักษณะของการประท้วงในรูปแบบสไตรค์ (strike) ของสหภาพแรงงาน การยึดที่ทำการของราชการหรือสำนักงาน (occupation) การเดินขบวน (demonstration) การทำงานแบบเตะถ่วง (slow down) หรือการยึดถนนขัดขวางการจราจร (traffic blocking)


ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นการเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาชนที่เสียเปรียบในสังคม

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ มีการดำเนินการเพื่อที่จะสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาล มีการเรียกร้องให้จัดสรรทรัพยากรหรือแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น ในความหมายนี้ จึงเป็นการมองขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social Movements) หรือขบวนการประชาชนร่วมสมัย เป็นความก้าวหน้าของวัฒนธรรมการเมืองภาคประชาชน เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในฐานะผู้กระทำทางการเมือง ซึ่งเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองที่ไปไกลกว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ

เป็นขบวนการที่มีเป้าหมายในการสร้างบรรยากาศและเงื่อนไขแบบประชาธิปไตย (democratic environment) เพื่อสร้างประชาสังคม (civil society) ที่มีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความตื่นตัว

การเคลื่อนไหวมีลักษณะต่อต้านรัฐ และต่อต้านระบบราชการ พร้อม ๆ กับการแสดงออกในด้านที่เชื่อมั่นศรัทธาพลังอำนาจของประชาชน และประสงค์จะเปิดพื้นที่การเมืองให้ประชาชนธรรมดามีบทบาทมากขึ้น


โดย Introduction to Mass Media Team Teaching รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ รศ. ปัทวดี จารุวร ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต ผศ. เมธา เสรีธนาวงศ์ อ. ไศสทิพย์ จารภูมิ รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์

เครื่องมือส่วนตัว