ที่ราบตะกอนน้ำพา

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:05, 3 มิถุนายน 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ที่ราบตะกอนน้ำพา (alluvial plain)

ที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่ 2 ฝั่งแม่น้ำ ในฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลล้น 2 ฝั่งแม่น้ำท่วมบริเวณดังกล่าว และนำตะกอนมาสะสม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2549) สำหรับประเทศไทย ที่ราบตะกอนน้ำพาที่รู้จักกันดี คือ ที่ราบเจ้าพระยาในภาคกลางตอนล่างของประเทศ ซึ่งมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเป็นหลัก และยังมีแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก รวมทั้งแม่น้ำบางปะกง ไหลขนานแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านที่ราบอันกว้างใหญ่นี้ด้วย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมาถึงอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ 372 กม จากการที่มีตะกอนจากแม่น้ำทั้ง 5 สายสะสมในฤดูน้ำหลากหรือหน้าฝนทุกปี ทำให้ที่ราบภาคกลางเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่และเลี้ยงชีพด้วยอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดตั้งแต่อดีตมา แต่ปัจจุบัน น้ำที่หลากมามีปริมาณมากกว่าปรกติ และท่วมขังอยู่นานจนทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ กรมชลประทานได้มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาด้วยการจัดให้ที่ราบเจ้าพระยานี้เป็นทางระบายน้ำ(flood way)ของประเทศ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลจากระยะไกล ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล แต่เป็นระบบงานที่น่าสนใจและน่าติดตามต่อไป


ที่มาข้อมูล กลุ่มอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว