ที่ลุ่มราบชายเลน

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:06, 3 มิถุนายน 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ที่ลุ่มราบชายเลน (mud flat)

บริเวณที่ลุ่มราบน้ำท่วมถึง เกิดตามชายฝั่งทะเล บริเวณนี้เต็มไปด้วยพืชบางชนิดที่ให้ประโยชน์ในการกั้นโคลนตม เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสม(ราชบัณฑิตยสถาน,2549) ที่ราบลุ่มชายเลนที่สำคัญของประเทศไทย คือ ที่ราบปากแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เรียกกันว่า ดอนหอยหลอด นับเป็น พื้นที่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสมุทรสงคราม เพราะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ(wet land)ที่มีความสำคัญระดับโลก และมีระบบนิเวศแตกต่างจากพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือพื้นที่ป่าชายเลนทั่วไป ตามสภาพธรรมชาติของดอนหอยหลอดแห่งนี้ มีตะกอนเลนกว้างยาวประมาณ 4 x 8 กิโลเมตร มีน้ำขึ้นลงวันละ 2 ครั้ง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยหลอด (Solen regularis) ชาวประมงนิยมจับมาขายเป็นอาหาร ซึ่งวิธีการหยอดด้วยปูนขาว ทำให้หอยหลอดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ต้องขึ้นมาบนผิวดินตะกอน จึงถูกจับไปปริมาณมาก ปัจจุบัน จำนวนหอยหลอดลดน้อยลง ไม่มีการควบคุมหรืออนุรักษ์ อย่างจริงจัง เพราะเป็นที่สาธารณะประโยชน์ แม้ใน พ.ศ. 2536 สำนักงานป่าไม้จังหวัดสมุทรสงครามได้กำหนดให้เป็นพื้นที่สงวนหวงห้าม ปักหลักเขตและป้ายแสดงแนว ประมาณ 300 ไร่ ประกอบกับ มีโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น โครงการระบบป้องกันน้ำเค็ม โครงการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่ง ที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ดอนหอยหลอดนี้ในระยะยาว


ที่มาข้อมูล กลุ่มอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว