โรคบาดทะยัก

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 08:05, 14 กันยายน 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

โรคบาดทะยัก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Clostridium tetani ซึ่งจะเข้าสู้ร่างกายทางบาดแผล จากนั้นจะเจริญเติบโต และปล่อยพิษที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวตลอดเวลา


อาการ

อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับปริมาณของพิษ หากได้รับเชื้อมากก็อาจเสียชีวิตภายใน 1-2 วัน หากได้รับเชื้อน้อย ร่างกายก็อาจจะกำจัดพิษ และหายเป็นปกติได้เอง

หากติดเชื้อบาดทะยัก ผู้ป่วยจะมีอาการอ้าปากไม่ได้ แขนเกร็ง และหน้าจะแสยะยิ้มอยู่ตลอดเวลา หากรุนแรงขึ้นร่างกายจะเกร็ง และหลังแอ่นแข็ง บางคนชักเกร็ง เมื่อถูกลมหรือมีเสียงดังก็จะยิ่งกระตุก จึงควรรีบพาไปส่งโรงพยาบาล โดยพยายามให้ผู้ป่วยอยู่ในที่มืด และไม่ให้ใครรบกวน เพราะหากเกร็งมากๆ อาจจะทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออก


การป้องกัน

การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด คือ การได้รับวัคซีนป้องกัน ส่วนใหญ่จะมีวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้มารดาตั้งแต่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ จากนั้นจะฉีดวัคซีนชุดแรกให้เด็ก 3 เข็ม เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน ฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็ม เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง และ 4-6 ขวบ และเมื่อฉีดครบ 5 เข็ม จะสามารถป้องกันโรคได้ 10 ปี และจะฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 10 ปี ซึ่งจะสามารถป้องกันได้อีก 10 ปี

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเพิ่มเติมไม่มีผลเสีย แต่ไม่ควรฉีดบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้บริเวณที่ฉีดเกิดอาการปวด และบวมได้


การรักษา

การรักษามีทั้งการให้สารต้านพิษ และยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อบาดทะยัก เมื่อพิษถูกทำลาย ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้น

กรณีที่เป็นเด็กอายุ 5-9 ปีที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน แม้จะมีภูมิคุ้มกันสูง แต่หากเป็นบาดแผลที่มีความเสี่ยงสูงก็ควรฉีดวัคซีนเพิ่มเติม

ส่วนผู้ใหญ่ที่อายุไม่ถึง 60 ปี แพทย์มักจะฉีดวัคซีนให้เพื่อความปลอดภัย เพราะส่วนใหญ่มักจะไม่แน่ใจประวัติวัคซีนตอนเด็ก


ที่มาข้อมูล จุฬาฯสัมพันธ์

รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์สื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว