สารพฤกษเคมี
จาก ChulaPedia
สารพฤกษเคมี (Phytochemical, Phytonutrients) คือ สารสำคัญทางธรรมชาติที่พบในพืชผัก และผลไม้ สารดังกล่าวไม่ใช่วิตามินซี หรือเกลือแร่ แต่มีหลายชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ป้องกัน รักษาโรคบางชนิดได้ เช่น ชาเขียว ซึ่งมีวิตามินหรือเกลือแร่น้อยมาก แต่มีประโยชน์เพราะมีสารพฤกษเคมี คือ epicatechin หรือ catechin ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังบางประเภทได้ โดยสารพฤกษเคมี ที่ง่ายต่อความเข้าใจ และประชาชนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มาก คือ สารแอนโธไซยานิน และ กรดซินนามิก
สารแอนโธไซยานิน
เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ พบในผักและผลไม้ที่มีสีม่วงแดง เช่น กะหล่ำปลีม่วง ดอกอัญชัน น้ำสตอเบอร์รี่ ฯลฯ ยกเว้นมะเขือเทศ
กรดซินนามิก
เป็นองค์ประกอบหลักของพืชที่ใช้ในการผลิตสารแอนโธไซยานิน อนุพันธ์ของกรดซินนามิกจะพบมากในพืชบางตระกูล เช่น ขิง ข่า ฯลฯ
ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี
สารพฤกษเคมีทั้ง 2 ชนิด คือ สารแอนโธไซยานิน และ กรดซินนามิก สามารถยับยั้ง หรือชะลอกระบวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตได้ประมาณ 10-20 ส่วน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้าลง ช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานในคนปกติ และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
ที่มาข้อมูล จุฬาฯสัมพันธ์
รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ