พระจี้กง

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 08:22, 14 กันยายน 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

“พระจี้กง” เป็นพระที่ชาวจีนนิยมนับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง เช่นเดียวกับพระยิ้ม หรือพระถุงย่าม แม้ว่าพระอรหันต์ในพุทธศาสนาจะมีมากมาย และนามเรียกขนานของพระอรหันต์เหล่านั้น ยากที่จะมีผู้จำได้ทั้งหมดแต่ในบรรดาพระอรหันต์ดังกล่าวจะมี “พระจี้กง” ที่ชาวจีนทุกครัวเรือนล้วนรู้จักกันเป็นอย่างดี


ประวัติพระจี้กง

พระจี้กง เป็นคนในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เกิดในปีรัชศกซ่าวซิงปีที่ 19 ซึ่งก็คือ ค.ศ. 1148 และมรณภาพในปี ค.ศ. 1209 ท่านมีชีวิตอยู่เพียง 61 ปีเท่านั้น

พระจี้กงเป็นชาวไถโจว ปัจจุบันคือแถบอำเภอหลินไห่ ของมณฑลเจ้อเจียง นามเดิมของท่านคือ ลี่ซินหย่วน ท่านออกบวชที่วัดหลิงอวิ่นซื่อ ที่เมืองหัวโจว มณฑลเจ้อเจียง แล้วมีชื่อทางธรรมว่าเต้าจี้ ต่อมาท่านได้ย้ายมาอยู่ที่วัดจิ้งฉือซื่อ และมรณภาพที่วัดนี้

เนื่องจากพระจี้กงไม่นิยมปฏิบัติตามกฎของสงฆ์ ชอบกินเนื้อสัตว์และดื่มเหล้า อีกทั้งมีท่าทางเหมือนคนบ้า ผู้คนจึงเรียกท่านว่า พระบ้า พระจี้กงมีจิตใจเมตตา ชอบช่วยเหลือผู้คนที่ไม่ได้รับความยุติธรรม อีกทั้งดูถูกข้าราชการที่ชอบกินสินบน อีกทั้งกดขี่ข่มเหงประชาชน การปฏิบัติตัวของพระจี้กงเป็นที่นิยมนับถือของประชาชนทั้งหลาย จนเรียกกันว่า ท่านคือพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้า กลับชาติมาเกิดในยุคปัจจุบัน ท่านมีลูกศิษย์มากมาย และมีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับอภินิหารของพระจี้กงไว้มากเช่นกัน โดยกล่าวกันว่า พระจี้กงเป็นพระอรหันต์เจี้ยงหลงกลับชาติมาเกิด ที่เมืองหังโจว


พระจี้กงในประเทศไทย

ที่เมืองไทย ถึงแม้ว่าพระจี้กงจะได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์หรือพระโพธิสัตว์ของศาสนาพุทธก็ตาม แต่ในวัดจีนกลับไม่ได้ตั้งรูปเคารพพระจี้กงไว้สำหรับศาสนิกชนบูชาเลย แต่รูปพระจี้กงกลับไปปรากฏในศาลเจ้าบางศาล เช่น ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย ถนนประชาชื่น และในมูลนิธิบางแห่ง เช่น มูลนิธิสว่างจรรยาธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ และในสถานธรรมอีกหลายแห่งที่ตั้งขึ้นโดยลัทธิอี๋ก้วนเต้า ซึ่งนับถือพระจี้กงเป็นเจ้าลัทธิ ในเมืองไทยเองก็มีลัทธิอี๋ก้วนเต้าหลายแห่ง และมูลนิธิสว่างจรรยาธรรม ก็จัดว่าอยู่ในลัทธิอี๋ก้วนเต้าเช่นกัน


ที่มาข้อมูล นิตยสารศิลปวัฒนธรรม

รวบรวมและเรียบเรียงบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว