การบริหารการใช้พลังงานและมาตรการประหยัดพลังงานของอาคารประเภทโรงพยาบาล

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

== การบริหารการใช้พลังงานและมาตรการประหยัดพลังงานของอาคารประเภทโรงพยาบาล

Energy Management and Energy Saving Policy for Hospital Building ==

 สุนิชญา รักธรรมมั่น : นิสิตปริญญาโท ประจำหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 สุกรี สินธุภิญโญ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
 อัจฉรา จันทร์ฉาย : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการใช้พลังงานและมาตรการประหยัดพลังงานของอาคารประเภทโรงพยาบาล และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนามาตรการแนะนำการบริหารการใช้พลังงานสำหรับโรงพยาบาล โดยมีขอบเขตการวิจัยเป็นสองส่วน คือ การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผล และการวิจัยเชิงทดลอง โดยการนำข้อมูลการใช้บริการของคนไข้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาที่เรียกว่า ไดนามิกไทม์วอร์ปปิง สรุปผลเป็นรูปแบบของการใช้บริการของคนไข้ หลังจากนั้น จึงหาแนวทางในการพัฒนามาตรการแนะนำการบริหารการใช้พลังงานสำหรับโรงพยาบาล โดยงานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลการเข้าใช้บริการของคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวันในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม พ.ศ. 2554 จากโรงพยาบาลที่สนับสนุนด้านข้อมูลดังกล่าว จากนั้นนำมาประมวลผลด้วยโปรแกรมไดนามิกไทม์วอร์ปปิงได้เป็นรูปแบบการใช้งานตามแต่ละวัน วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ และหาแนวทางในการพัฒนามาตรการแนะนำการบริหารการใช้พลังงานโดยต้องสามารถประหยัดพลังงานได้ในที่สุด

คำสำคัญ: การบริหารการใช้พลังงาน มาตรการประหยัดพลังงาน อาคาร โรงพยาบาล

Abstract

The purpose of this paper is to study the energy management and energy saving policy for hospital building and to find directions to develop energy management policy for hospitals. The scope of research is two parts: first, a quantitative research by collected data with questionnaires and individual interviews. The information collected is then being analyzed and concluded the results. Second, an experimental research by processed the patient data access by time series data analysis method named Dynamic Time Warping. Then, concluded as the patent of patient using service. Next step is to find directions for develop energy management policy for hospitals. In this paper, we collected patient data access 24 hours a day, every day in June, July and August 2011 from the supporting hospital. It is then process the data with Dynamic Time Warping Program providing the patent of patient using service every day, from Monday to Sunday. Finally, it is to find ways and solutions to improve energy management policy for hospital which able to conserve the energy.

Keywords: Energy management, Energy saving policy, Building, Hospital


ดูเอกสารต้นฉบับ สื่อ:20120629Full02.pdf

เครื่องมือส่วนตัว