แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 06:45, 25 กันยายน 2555 โดย 52835013 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

งานวิจัย

แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม GUIDELINES FOR NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATIONAL MANAGEMENT TO ENHANCE LEARNING SKILLS FOR SMALL BUSINESS MANAGEMENT


ผู้วิจัย

นายอรรถสิทธิ์ ปากคลอง ระดับปริญญาโท สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.อาชัญญา รัตนอุบล วิทยานิพนธ์นี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก "ทุนอุดหนุนวิทยานิพนธ์สำหรับนิสิต" จากบัณฑิตวิทยาลัย


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา ความต้องการการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม 2) แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ประกอบการจำนวน 287 คน เครื่องมือวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาปัญหา ความต้องการการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ประกอบด้วย ด้านเนื้อหาและกิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านการประเมินผล โดยด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ปัญหา ( = 4.71) ความต้องการ ( = 4.41) 2) แนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม ควรเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านเนื้อหาและกิจกรรม และการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทันกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น การเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต ซีดี มีการจัดการนิทรรศการการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อย่างทั่วถึง

คำสำคัญ : แนวทาง/ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย/ ทักษะการเรียนรู้สำหรับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม


Abstract

The purposes of this research were to 1) study problem, needs in non-formal and informal education management to enhance learning skills for small business management; and 2) propose guidelines in non-formal and informal education management enhance learning skills for small business management. The research samples were 287 entrepreneurs. The research instruments were the questionnaire and the interview form. The results were as follow: 1) problems and needs in non-formal and informal education management to enhance learning skills for small business management were reported at the high levels including contents and activities participation, public relation, environment, evaluation aspect was the highest in both problems ( =4.71 ) and needs ( =4.41).

2) The guidelines in non-formal and informal education management to enhance learning skills for small business management should focus on the participation in learning of the entrepreneurs in every aspects, especially in the contents and activities and various learning management that related to the new and current technologies. For instance, learning through the Internet, CD, and public relations in general knowledge. 

Keywords: GUIDELINES / NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION / MANAGEMENT ENHANCE LEARNING SKILLS


ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย

           1.หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สำนักส่งงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นต้น ควรมีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ซีดี เป็นต้น เนื่องจาก ผู้ประกอบการมีความแตกต่างกันทั้งด้านวิธีการ รูปแบบ ระยะเวลา อีกทั้งการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้ที่ทางหน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้อาจจะไม่เพียงพอ รวมไปถึงการสืบสอบหาความรู้เพิ่มเติมของผู้ประกอบการ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้ประกอบการว่ามีระดับความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพียงใด นอกจากนั้นแล้ว ควรจัดให้มีพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิด เพื่อการพบปะระหว่างผู้สอน และผู้ประกอบการด้วยกันเอง อาจจะเป็นกลุ่มสนทนา (webboard) หรือกลุ่มการเรียน เป็นต้น
            2.แนวทางการจัดการส่งเสริมทักษะการจัดการธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการ ควรเน้นด้านการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการให้มากที่สุด เพราะจะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง การจัดตั้งเครือข่ายหรือสมาคมให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้จัดและผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบการด้วยกันเอง 
             3.ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผู้จัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเน้นให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน จะสามารถตอบสนองและเข้าถึงกลุ่มผู้ประกอบการได้มากและรวดเร็วขึ้น โดยการใช้อินเตอร์เน็ต ได้แก่ การเรียนรู้แบบทางไกล การรับส่งข้อมูลด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิค
             4.การให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควรให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมในทุกๆกระบวนการ 
             5.การประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ จะทำให้เข้าถึงผู้ประกอบการได้เป็นจำนวนมาก สะดวก และรวดเร็ว
เครื่องมือส่วนตัว