เรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG)

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

เรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลวLPG(Liquified Petroleum Gas)

	ได้แก่เรือที่บรรทุกแก๊สปิโตรเลียมต่าง ๆ เช่น Butane หรือแก๊สหุงต้ม โดยจะถูกทำให้เป็นของเหลวภายใต้อุณหภูมิที่สูงกว่า LNG หรือโดยการควบคุมทั้งอุณหภูมิและความดัน และเก็บแก๊สในรูปของเหลวในถังเก็บทรงกลม (Spherical shape) Tankers เป็นเรือบรรทุกสินค้าเทกองที่ออกแบบพิเศษสำหรับสินค้าจำพวกน้ำมัน สารเคมี หรือใช้บรรทุกแก๊ส จึงเป็นเรือที่ค่อนข้างอันตรายและต้องการการควบคุมดูแลความปลอดภัยในการขนส่งและสูบถ่ายสูงเช่นเดียวกับ Gas carriers เรือประเภทนี้จะมีถังเก็บบนเรือเป็นชุด (Series) แยกออกจากส่วนอื่น ถ้าเป็นเรือบรรทุกน้ำมันดิบในปริมาณมากจะถูกบรรจุในถังเก็บขนาดใหญ่ (มากกว่า 200,000 tons dwt) ซึ่งเรียกว่า Very Large Crude Carriers หรือ VLCCs และหากถูกบรรจุเก็บในถังขนาดมากกว่า 350,000 tons dwt เรียกว่า Ultra Large Crude Carriers หรือ ULCCs โดยทั่วไปถ้าเป็นเรือบรรทุกน้ำมันดิบ มักจะมีถังเก็บประมาณ 5-6 ถัง ส่วนเรือที่บรรทุกน้ำมันที่กลั่นแล้วจะมีประมาณ 8 ถัง เพื่อแยกเกรดหรือประเภทของน้ำมันที่กลั่นแล้ว ปกติเรือประเภทนี้จะขนถ่ายหรือสูบถ่ายผ่านทางท่อโดย Shore pump หรือ Shipborne pumping gear


  ส่วนใหญ่ประเทศไทยนั้นมีการผลิตและนำเข้า Gas LPG เป็นจำนวนมาก เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการขนส่งทางเรือเพื่อนำเข้าและส่งออกเป็นหลัก ทำให้การขนส่งทางเรือมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  แต่ทั้งนี้พบว่ากองเรือพาณิชย์ของไทยนั้น เป็นกองเรือที่มีขนาดเล็กมาก  เมื่อเทียบกับขนาดของกองเรือใน[[ไฟล์:ประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม  โดยข้อมูลจาก Review of Maritime Transport 2009 ได้จัดอันดับของประเทศที่มีกองเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ในความควบคุม 35 อันดับแรก  พบว่ากองเรือพาณิชย์ไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 34 จากทั้งสิ้น 35 อันดับอีกทั้งเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ของไทยนั้น เมื่อเทียบกับเรือLPG ของประเทศในภูมิภาคอาเซียนหลายๆประเทศ ยกเว้นเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) จากประเทศสิงคโปร์แล้วนั้น พบว่าเรือของประเทศในอาเซียนมีขนาดที่ใกล้เคียงกันมาก

อีกทั้งสภาพเรือ LPG ของไทยนั้นส่วนใหญ่มีสภาพค่อนข้างเก่าซึ่งอาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในด้านต่างๆได้ และเนื่องจากจะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นนั้น ซึ่งจะทำให้เรือของประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้ามาประกอบกิจการต่างๆได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งแหล่งในการประกอบกิจการที่ใกล้ขึ้น และเรือ LPG ของประเทศในอาเซียนก็มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ใช้บริการเรือ LPG ของไทย มีแนวโน้มที่จะพิจารณาเลือกใช้บริการเรือ LPG จากประเทศในอาเซียน มากกว่าเรือ LPG ของไทย ซึ่งเรือของอาเซียนอาจมีประสิทธิภาพในหลายๆด้านที่ดีกว่าเรือ LPG ของไทย และอาจจะมีราคาค่าจ้างที่ถูกกว่า เพื่อรับจ้างในการขนส่งก๊าซ LPG ออกสู่ต่างประเทศให้กับผู้ใช้บริการซึ่งทั้งนี้นั้นอาจทำให้ผู้ประกอบการเจ้าของเรือ LPG ของไทยถูกแย่งงานจากผู้ประกอบการเจ้าของเรือ LPG ของประเทศต่างๆในอาเซียนได้ ไฟล์:Example.jpg

   ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงความคาดหวังและผลการปฏิบัติงานของเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ของไทย ว่าขณะนี้กองเรือของไทย (ผู้ให้บริการ)  สามารถให้บริการที่ดีมีมาตรฐานอย่างไรอยู่ในระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหรือไม่ โดยจะทำการศึกษากลุ่มผู้ใช้บริการเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ของไทย เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและผลที่ได้รับจริงจากการปฏิบัติงานในด้านต่างๆของเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ของไทย  เพื่อนำผลที่ได้นั้นมาหาแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานในด้านต่างๆของเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LP]]ของไทย และเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาศักยภาพของเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ของไทย ให้มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 นี้  อีกทั้งยังเป็นการพัฒนากิจการพาณิชยนาวี และสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และการขนส่งทางทะเลของประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป 
   วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทั้งมุมมองของผู้ให้บริการ(เจ้าของเรือไทย) และผู้ใช้บริการ (ผู้ค้าพลังงาน)เพื่อศึกษาสภาวะการค้า LPG และคาดการณ์บริโภคในอนาคตเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานของเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของไทย โดยการออกแบบสอบถาม2 ชุด เพื่อสอบถาม                                    กลุ่มผู้ใช้บริการ โดยสอบถามถึงความคาดหวังและผลที่ได้รับจริง เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของความคาดหวังและผลที่ได้รับจริงของแต่ละปัจจัยและวิเคราะห์ ค่าคู่อันดับ และ สอบถามกลุ่มผู้ให้บริการ                       โดยสอบถามถึงความพึงพอใจในปัจจุบันและปัจจัยที่ต้องการปรับปรุงหลังเป็น AEC เพื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของแต่ละปัจจัยและวิเคราะห์ค่าคู่อันดับ หลังจากนั้นได้นำผลที่ได้รับจริงของกลุ่มผู้ใช้บริการมาเปรียบเทียบกับความพึงพอใจในปัจจุบันของกลุ่มผู้ให้บริการ

  	ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่กลุ่มผู้ใช้บริการคาดหวังมากที่สุดในขณะที่ผลที่รับจริงน้อยที่สุดต่อทั้ง 3 ปัจจัย พบว่าในเรื่องของการจัดการนั้นผลที่ได้รับจริงน้อยกว่าปัจจัยด้านตัวเรือ และลูกเรือ  สำหรับปัจจัยที่กลุ่ม ผู้ให้บริการ พึงพอใจในปัจจุบันมากที่สุด และต้องการปรับปรุงในอนาคตหลังเป็น AEC มากที่สุด พบว่ากลุ่มผู้ให้บริการพึงพอใจในปัจจุบันมากที่สุดและต้องการปรับปรุงหลังเป็น                  AEC มากที่สุดต่อปัจจัยทั้ง 3 ด้านในเรื่องของการจัดการมากกว่าปัจจัยด้าน ตัวเรือ และ ลูกเรือ
เครื่องมือส่วนตัว