การออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงภาวะน้ำหนักเกิน
จาก ChulaPedia
เนื้อหา |
งานวิจัย
ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
EFFECTS OF GROUP EXERCISE WITH WALKING-RUNNING ON HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS IN OVERWEIGHT FEMALE YOUTHS
ผู้วิจัย
นายกิจจา ถนอมสิงหะ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 52 คน(อายุ 18 - 24 ปี)โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองฝึกด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่ง และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายตามปกติโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเดินวิ่ง เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานเต้นแอโรบิก เทนนิส แบดมินตันเป็นต้นกลุ่มทดลองออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งเป็นกลุ่ม เป็นเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วันละ 30-50 นาที ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งมีผลต่อการพัฒนาค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน น้ำหนักตัว รอบเอว ความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจดีกว่ากลุ่มควบคุม ยกเว้นมวลกล้ามเนื้อ
ผลการวิจัย
หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า
เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน น้ำหนักตัว รอบเอว ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05กลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงของสุขสมรรถนะแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งประกอบด้วย เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน รอบเอวความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจ และกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของสุขสมรรถนะแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวแปรยกเว้น มวลกล้ามเนื้อไม่มีความแตกต่างกัน
คำสำคัญ
เยาวชนหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หมายถึง นิสิตหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2554 มีดัชนีมวลกายระหว่าง 23 - 24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตรอายุ 18 - 24 ปี
สุขสมรรถนะ หมายถึง ความสามารถประกอบกิจการงานต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพลังงานเหลือพอที่จะสามารถใช้ในกิจกรรมนันทนาการในเวลาว่างและในยามฉุกเฉินได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบของร่างกาย(Body Composition) ประกอบด้วย น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน และมวลกล้ามเนื้อความอ่อนตัว(Muscular Flexibility)ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจ (Cardiorespiratory Fitness)
การออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่ง หมายถึง การวิ่งเป็นกลุ่มโดยจะแบ่งกลุ่มละ 5 คน ทุกคนจะวิ่งด้วยความเร็วที่ทำให้ชีพจรเต้นอยู่ระหว่าง 64- 74% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดจนครบระยะเวลาที่กำหนด แล้วลดความเร็วลงเป็นการเดินในระยะทางที่จำกัดไว้ ทำแบบนี้สลับกันจนครบโปรแกรมของแต่ละวันซึ่งใช้หลักการฝึกแบบหลักสลับเบา
การออกกำลังกายตามปกติของกลุ่มควบคุม หมายถึง การออกกำลังกายตามปกติของกลุ่มควบคุม โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเดินวิ่ง เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานเต้นแอโรบิก เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
- นงพะงา ศิวานุวัฒน์. การเปรียบเทียบผลของการเดินแบบสะสมและแบบต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถ ภาพทางกายเกี่ยวกับสุขภาพของหญิงวัยทำงาน, วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 29 (เมษายน – มิถุนายน 2549) : 69-83.
- เมตตา โพธิ์กลิ่น. โรคอ้วน. วารสารวิชาการสาธารณสุข13, 2 (มีนาคม-เมษายน 2547) 362-373.
- วีรพัฒน์ ยอดกมลศาสตร์.การศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานของการออกกำลังกายเพื่อ สุขภาพชนิดต่างๆระหว่างหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินและหญิงที่มีน้ำหนักปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.
- ศศิภาจินาจิ้นและถนอมวงศ์กฤษณ์เพ็ชร์. ผลของการเดินที่มีต่อสุขสมรรถนะของกลุ่มวัยทำงาน ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 2551; 9(2): 48-62.
- ศิริพร ศิริกาญจนโกวิทและถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์,การเปรียบเทียบผลของการเดินแบบหนัก สลับเบาและแบบต่อเนื่องที่มีต่อสุขสมรรถนะของหญิงสูงอายุ,วารสารวิทยาศาสตร์การ กีฬาและสุขภาพ 1(2551) : 20-29.
- สนธยาสีละมาด. หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการจัดตั้งวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการ กีฬามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์), 2547.
- Ahmaidi, S., Masse-Biron, J., Adam, B. Effects of interval training at the ventilatory threshold on clinical and cardiorespiratory responses in elderly humans. European Journal of Applied Physiology78 (1998): 170-176.
- American College of Sports Medicine. ACSM's Guidelines Testing and Prescription. Wolter’s Kluwer: Lippincott Williams & Wilkins 2010.
- American College of Sports Medicine.ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription 8th ed. Philadelphia:Lippincott Williams & Wilkins 2006.
- Falla,C. To evaluate the effects of fitness, body composition and adherence to an 8-week interval training program in overweight women. Florida State University D-Scholarship Repository, 2005.
- Flegal, K.M., et al. Overweight and obesity in the United States: prevalence and trends, 1960-1994. International Journal of Obesity and Related Metabolic Disorders22(1998): 39-47.
- Hof, A.L. Mechanics of human triceps surae muscle in walking, running and jumping. ActaPhysiolScand, 174 (2002): 17-30.
- James, A.L.L. and Jennifer, M. The energy expenditure of using a walk-and-work desk for office-workers with obesity. British Journal of Sports Medicine10 (2006):1-4.
- Mokdad, A.H., Serdura, M.K., Dietz,W.H., Bowman, B.A., Marks, J.S., and Koplan, J.P.The continuing epidemic of obesity in the United States. Journal of the American Medical Association 284 (2000): 1650-1651.
- Paillard, et al. Effects of brisk walking on static and dynamic balance, locomotion, body composition and aerobic capacity in aging healthy active men. The American Journal of Sports Medicine 25(2004): 539-546.
- World Health Organization. Obesity: preventing and managing the global epidemic.Report of a WHO convention, Geneva, 1999. WHO technical report series 894, Geneva 2000.