A Comparison of upper airway dimensions in a group of Thai orthodontic patients with different skeletal types
จาก ChulaPedia
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ หาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบมิติทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยจัดฟันไทยกลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างใบหน้าแบบต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้างของผู้ป่วย ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 327 ราย ในช่วงอายุระหว่าง 16-40 ปี ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งมีโครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งแบบสบปกติ 167 ราย แบ่งเป็นสามกลุ่มย่อยคือ โครงสร้างใบหน้าในแนวหน้า-หลังแบบที่หนึ่ง แบบที่สอง และแบบที่สาม กลุ่มที่สองมีโครงสร้างใบหน้าในแนวหน้า-หลังแบบที่หนึ่ง 152 ราย แบ่งเป็นสามกลุ่มย่อยคือ โครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งแบบสบลึก สบปกติ และสบเปิด วัดมิติทางเดินหายใจส่วนบนด้วยโปรแกรมอินฟินิทและโปรแกรมอิมเมจทูล เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มย่อยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา ในกลุ่มที่หนึ่ง มิติทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณคอหอยหลังช่องปากและคอหอยหลังกล่อง เสียงจะมีค่าน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อผู้ป่วยมีโครงสร้างใบหน้าแบบที่สาม แบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง ตามลำดับ ในกลุ่มที่สอง มิติทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณคอหอยหลังโพรงจมูก คอหอยหลังช่อง ปาก และคอหอยหลังกล่องเสียง จะมีค่าน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อผู้ป่วยมีโครงสร้างใบหน้าแบบสบลึก สบปกติ และสบเปิด ตามลำดับ สรุป ผู้ป่วยจัดฟันไทยที่มีโครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งหรือแนวหน้า-หลังต่างกัน จะมีมิติทางเดินหายใจ ส่วนบนต่างกัน คำสำคัญ: โครงสร้างใบหน้า; ผู้ป่วยจัดฟันไทย; ภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้าง; มิติทางเดินหายใจส่วนบน