การจัดการเรียนรู้พลศึกษา

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:07, 15 ธันวาคม 2555 โดย 53833814 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

งานวิจัย ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น THE EFFECTS OF PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT BY USING NEO - HUMANIST APPROACH ON EMOTIONAL QUOTIENT OF THE LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS

ผู้วิจัย นางสาวภรณี ศิริวิศาลสุวรรณ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา สรายุทธพิทักษ์

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 76 คน โรงเรียนวัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส จำนวน 38 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยวิธีปกติ จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส จำนวน 12 แผน และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยด้วยค่า ”ที”

ผลการวิจัย

     1) ค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
     ค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2) ค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิส หมายถึง แนวคิดที่เน้นการพัฒนาของผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้สมองทั้งสมองซีกซ้าย และสมองซีกขวามีการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน และสามารถนำศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองมาใช้ให้มากที่สุด โดยการนำหลักการพัฒนามนุษย์ 4 กิจกรรมมาใช้ ได้แก่ 1) การฝึกโยคะ 2) การทำสมาธิ 3) การใช้คำพูดในทางด้านบวก และ4) การจูงจิตใจสู่สภาวะผ่อนคลาย การจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส หมายถึง การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยบูรณาการกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรมตามหลักการพัฒนามนุษย์ของแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส ได้แก่ 1) การฝึกโยคะ 2) การทำสมาธิ 3) การใช้คำพูดในทางด้านบวก และ 4) การจูงจิตใจสู่สภาวะผ่อนคลาย มาเพิ่มเติมในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 5 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้พลศึกษา การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยวิธีปกติ หมายถึง การจัดการเรียนรู้พลศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)ขั้นเตรียม 2)ขั้นพัฒนาสมรรถภาพทางกาย 3)ขั้นสาธิตและฝึกปฏิบัติ 4)ขั้นนำไปใช้ และ 5)ขั้นสรุปผลและสุขปฏิบัติ ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่ตระหนักรู้ถึงความคิดของตนเอง และผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และรอคอยการตอบสนองต่อความต้องการของตนเองได้ สามารถสร้างกำลังใจในการเผชิญกับอุปสรรค และข้อขัดแย้งต่างๆ รู้จักขจัดความเครียด นำความคิดและการกระทำของตนไปใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้จนประสบความสำเร็จในชีวิต ในการวิจัยครั้งนี้วัดโดยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์กลุ่มอายุ 12-17 ปีของกรมสุขภาพจิต ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หมายถึง นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

เอกสารอ้างอิง ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรแกนกลางกาศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551. สมศักดิ์ เจริญศรี. ผลการสอนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนแบบทางไกล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการศึกษานอกระบบ

      โรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). สุขภาพจิต, กรม. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์, 2544. พนม เกตุมาน. ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น [ออนไลน์]. สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 2555. แหล่งที่มา: http://www.psyclin.co.th/

   new_page_57.htm [24 เมษายน 2555]

สุขภาพจิต, กรม. อีคิว ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: ร้านที-คอม, 2543. เกียรติวรรณ อมาตยกุล. สอนให้เด็กเป็นอัจฉริยะตามแนวนีโอฮิวแมนนิส. กรุงเทพฯ: บริษัทที.พี.พริ้นท์ จำกัด, 2546.

ภาษาอังกฤษ Bucher, Charles and Koening, Constance. Methods and Materials for Secondary School Physical Education. St. Louis: CV. Mosby Co. 1974. Charles R. Varela. Science for Humanism. New York: Routledge, 2009. Daniel Goleman. Emotional Intelligence: Why it can matter more than IQ. (U.S.A.: Bantam books, 1995. David Ley, Marwyn S.samuels. Humanistic geography. Chicago: Maaroufa Press, Inc. 1978.

เครื่องมือส่วนตัว