USR

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทย "ความรับผิดชอบ" เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ ที่บ่งบอกถึง มนุษย์ผู้ซึ่ง ตระหนักถึงการกระทำของตน อันส่งผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ ภายนอก ไม่ว่าจะเป็น บุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และอื่น ทั้งสิ่งมีชีวิต และ สิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งผลกระทบของการกระทำนั้น มีทั้งผลกระทบทางบวก และผลกระทบทางลบ ผลกระทบทางตรง และ ผลกระทบทางอ้อม จากกระทำของบุคคล หรือการดำเนินการขององค์กร มีการนำแนวคิดการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility; CSR) ที่เริ่มดำเนินการในองค์กรภาคธุรกิจ ในรูปแบบของการกำหนดนโยบาย และการดำเนินกิจกรรมอันหลากหลาย ขององค์กรภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการคืนกำไรให้กับสังคม แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เกิดการสานสัมพันธ์อันดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม ของสังคมมนุษย์กับธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยมีองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) กำหนดมาตรฐาน ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 Social Responsibility) ขึ้น เพื่อให้บริษัท องค์กร หน่วยงาน และสถาบันทั่วโลกรวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ได้เพิ่มความตระหนักและสร้างความเข้าใจในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะเป็นข้อแนะนำ หลักการและวิธีการของความรับผิดชอบต่อสังคมที่องค์กรพึงปฏิบัติโดยความสมัครใจทุกองค์กร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยไม่ต้องมีการตรวจรับรอง (องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน, ๒๕๕๓ : ออนไลน์ )

           ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันที่มีพันธกิจสำคัญประการหนึ่งคือ ผลิต และพัฒนากำลังคน  เข้าสู่ระบบของสังคม ด้วยกระบวนการ เป้าประสงค์ บริบท และปัจจัยแวดล้อม แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ การกำหนดยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา จึงมีทิศทางไปสู่การตอบสนองความต้องการของสังคม และชุมชน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสร้างความเชื่อมโยง ในสิ่งที่แตกต่าง หรือเลื่อมล้ำในทุกมิติ ของสังคมให้สามารถ พัฒนาไปในแนวทางเดียวกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน (กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปีฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕)   
          ส่วนหนึ่งจาก ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 63 ตัวบ่งชี้  กล่าวคือ

องค์ประกอบที่ ๑ การดูแลแก้ปัญหา ชุมชนและสังคม จำนวน ๖ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๒ การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม จำนวน ๗ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๓ การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม จำนวน ๖ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๔ การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชน จำนวน ๙ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๕ การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จำนวน ๑๓ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๖ การบริหารแบบมีส่วนร่วม จำนวน ๑๐ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๗ จริยธรรมทางวิชาการ จำนวน ๑๒ ตัวบ่งชี้

        ซึ่งทั้ง 7 องค์ประกอบ สถาบันอุดมศึกษาสามารถนำตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคม ไปเป็นข้อมูลฐานคิด สำหรับการวางแผนเชิงนโยบายในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาเองแต่ละแห่ง ที่มีอัตลักษณ์ มีพันธกิจ มีลักษณะทางกายภาพ ตลอดจน มีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน หรือสถาบันอุดมศึกษาอาจพัฒนาไปถึงการจัดทำโครงการนำร่องเกี่ยวกับ “การเป็นมหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อสังคม” โดยการนำ องค์ประกอบ ๗ ด้าน  ไปบูรณาการ พัฒนาศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในทุกมิติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยสอดแทรกอยู่ในกระบวนวิธีการต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษา   โดยให้เป็นไปในลักษณะของ “ความสมัครใจ” อย่างเป็นระบบ มีกรอบมาตรฐาน ของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา ที่จะพัฒนาขึ้นให้สามารถเกิดผลประจักษ์ได้อย่างยั่งยืน  ต่อไป
รับข้อมูลจาก "https://chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=USR"
เครื่องมือส่วนตัว