การศึกษาแบบฟอร์มออนไลน์ด้วยเครื่องมือติดตามการมองเห็น

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 09:48, 11 มิถุนายน 2556 โดย Msupawa1 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ศรีรักษ์ โสภณสกุลศักดิ์ : ผลของการจัดแนวป้ายข้อความ ความยาวกล่องแสดงค่า และจำนวนสดมภ์ต่อระยะเวลาที่ใช้กรอกข้อมูลแล้วเสร็จ การเพ่งมอง และลำดับการกรอกข้อมูล: การศึกษาแบบฟอร์มออนไลน์ด้วยเครื่องมือติดตามการมองเห็น. (Effects of Label Alignments, Field Lengths and Number of Columns on Completion Time, Visual Attention and Filling Sequence: An Examination of Online Form Using an Eye-Tracking Device.) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: ผศ.ดร.ชัชพงศ์ ตั้งมณี, 268 หน้า.

แบบฟอร์มออนไลน์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล หากออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานย่อมส่งผลให้ได้รับความร่วมมือในการตอบดีขึ้น ตัววัดประสิทธิภาพของแบบฟอร์มอาจอยู่ในสามลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ระยะเวลาที่ใช้กรอกข้อมูลแล้วเสร็จ (2) การเพ่งมอง และ (3) ลำดับการกรอกข้อมูล การศึกษานี้ได้มุ่งเน้นวิเคราะห์ผลของ (1) การจัดแนวป้ายข้อความ (2) ความยาวกล่องแสดงค่า และ (3) จำนวนสดมภ์ ต่อสามตัววัดประสิทธิภาพข้างต้น การศึกษานี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ความยาวกล่องแสดงค่า และจำนวนสดมภ์ มีผลต่อระยะเวลาที่ใช้กรอกข้อมูลแล้วเสร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ จำนวนสดมภ์ยังมีผลต่อการเพ่งมองอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผลของการจัดแนวป้ายข้อความต่อระยะเวลาที่ใช้กรอกข้อมูลแล้วเสร็จ การเพ่งมอง หรือ ผลของความยาวกล่องแสดงค่าต่อร้อยละการเพ่งมองไม่มีนัยสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น ผลของ (1) การจัดแนวป้ายข้อความ (2) ความยาวกล่องแสดงค่า หรือ (3) จำนวนสดมภ์ ต่อลำดับการกรอกข้อมูลไม่มีนัยสำคัญ ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษานี้เป็นต่อยอดองค์ความรู้ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ในบริบทของแบบฟอร์มออนไลน์ อีกทั้งยังใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบฟอร์มต่อไป


KEYWORDS : ONLINE FORM / EYE-TRACKING / LABEL ALIGNMENTS / NUMBER OF COLUMNS / COMPLETION TIME / VISUAL ATTENTION / FILLING SEQUENCE SRIRAK SOPONSAKULSAK: EFFECTS OF LABEL ALIGNMENTS, FIELD LENGTHS AND NUMBER OF COLUMNS ON COMPLETION TIME, VISUAL ATTENTION AND FILLING SEQUENCE: AN EXAMINATION OF ONLINE FORM USING AN EYE-TRACKING DEVICE. ADVISOR: ASST. PROF. CHATPONG TANGMANEE, Ph.D., 268 pp.

An online form is an important data collection tool. With proper design, it would lead to a high response rate. The performance indicators of the online form could be (1) completion time (2) visual attention and (3) filling sequence. This thesis examined the effects of (1) label alignments (2) field lengths and (3) number of columns on these three performance indicators. This study was based on a laboratory experiment. The analysis indicated that the effects of field lengths and the number of columns are statistically significant on the completion time at the 0.05 level. In addition, the effect of the number of columns on visual attention is also significant. However, both the effects of label alignments on completion time, visual attention and the effect of field lengths on visual attention were not significant. Moreover, the effects of (1) label alignments (2) field lengths and (3) number of columns on filling sequence were not significant. In addition to extending knowledge of online form's design, researchers could apply the findings to have a better design of online forms.

เครื่องมือส่วนตัว