การเปรียบเทียบเสถียรภาพของรากเทียมระหว่างพื้นผิวสองแบบโดยใช้คลื่นความถี่เรโซแนนซ์

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 06:38, 17 มิถุนายน 2556 โดย Msupawa1 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

การเปรียบเทียบเสถียรภาพของรากเทียมระหว่างพื้นผิวสองแบบโดยใช้คลื่นความถี่เรโซแนนซ์

หนึ่งในพื้นผิวรากเทียมที่รับการจัดลำดับมาตรฐาน Gold Standard คือพื้นผิวรากเทียมเอสแอลเอ ที่ได้รับ การพัฒนาโดย ITI Struamann ต่อมา ITI Struamann ไดออกพื้นผิวเอสแอลแอกทีฟซึ่งมีลักษณะทางกายวิภาค ของพื้นผิวเหมือนกับเอสแอลเอ แต่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีโดยการเคลือบด้วยสารเคมีชนิดพิเศษและถูก เก็บในสารละลายไอโซโทนิก โซเดียมคลอไรด์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารคาร์บอน ทำใหมีคุณสมบัติิ Super- Hydrophilicity, Chemical activity สูง และมีมุมสัมผัสของหยดน้ำเป็น 0˚ พื้นผิวชนิดนี้จึงเอื้อต่อการดึงดูดเม็ด เลือดและเซลล์โปรตีน รวมทั้งเอื้อใหญ่เกิดการสร้างตัวของเซลล์กระดูกบนผิวรากเทียม สามารถลดระยะเวลาการยึดติดของกระดูก (Osteointegration) และมีเสถียรภาพพร้อมสำหรับบูรณะครอบฟัน จาก 6-8 สัปดาห์ของเอสแอล เอเป็น 3-4 สัปดาห์


เพื่อเปรียบเทียบค่าไอเอสคิว (1-100 unit) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงเสถียรภาพรากเทียมโดยการวิเคราะห์คลื่น ความถี่เรโซแนนซ์​ระหว่างรากเทียมเอสแอลเอจำนวน 25 ซี่และเอสแอลแอกทีฟจำนวน 26 ซี่ที่ฝังลงบนสัน กระดูกว่างของฟันหลังล่างที่ถูกถอนไปนานมากกว่า 6 เดือน การศึกษานี้ได้ทำการวัดค่าไอเอสคิวทันทีหลังการฝัง และเป็นระยะๆจนครบ 8 สัปดาห์พบว่าค่าไอเอสคิวของรากเทียมทั้งสองชนิดมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 2 หลังจากนั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าไอเอสคิว จนกระทั่งในสัปดาห์ที่ 4 ที่ค่าไอเอสคิวของรากเทียมเอสแอล แอกทีฟกลับมาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่รากเทียมเอสแอลเอให้ค่าไอเอสคิวที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ณ สัปดาห์ที่ 8 ในทุกช่วงเวลาที่ทำการวัดไม่พบว่ารากเทียมสองชนิดมีเสถียรภาพที่ต่างกันทางสถิติอย่างไรก็ตามใน กรณีที่รากเทียมถูกฝังในกระดูกความหนาแน่นระดับ 4 (ความหนาแน่นระดับต่ำสุด) รากเทียมเอสแอลแอกทีฟให้ ค่าไอเอสคิวที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 4 และ 8


สรุป คุณลักษณะทางเคมีของรากเทียมมีผลต่อค่าเสถียรภาพของรากเทียม โดยเฉพาะเมื่อรากเทียมถูกฝัง ในกระดูกความหนาแน่นระดับ 4 โดยรากเทียมเอสแอลแอกทีฟให้ค่าเสถียรภาพรากเทียมสูงขึ้นเร็วกว่าเอสแอลเอ ดังนั้นรากเทียมเอสแอลแอกทีฟน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะย่นระยะเวลาการรักษาก่อนการบูรณะครอบฟันบนราก เทียม โดยเฉพาะในกรณีที่กระดูกรอบรากเทียมมีความหนาแน่นต่ำ

ไฟล์:Root1.jpg

ไฟล์:Root2.jpg

ไฟล์:Root3.jpg

ไฟล์:Root4.jpg


น.ส.ศศิกานต์ ทองบริสุทธิ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์

เครื่องมือส่วนตัว