รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 14:51, 10 พฤศจิกายน 2556 โดย 53778339 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
      ผลของการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และจำนวนวันนอนของผู้ป่วย
      EFFECTS OF USING INFECTION SURVEILLANCE MODEL ON EFFICIENCY OF URINARY TRACT INFECTION SURVEILLANCE AND LENGTH OF STAY
      โดย น.ส. จุฬาพร ยาพรม  นิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล    
      คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รศ. ดร. กัญญดา ประจุศิลป

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
     1) ศึกษาประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยหลังการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อ
     2) เปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อและ 
     3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลังการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อเดือนที่ 1 และเดือนที่ 2             
     กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย จำนวน 11 คน 
     เครื่องมือการวิจัยมีดังนี้ รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วย แผนการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คู่มือการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เครื่องมือที่ใช้กำกับการทดลอง      
     ซึ่งประกอบด้วยแบบวัดความรู้เรื่องการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และแบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพ
     การเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและแบบบันทึกจำนวนวันนอนของผู้ป่วย ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .91
     สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน พิสัยควอร์ไทล์ และสถิตินอนพาราเมตริก ทดสอบโดยใช้เครื่องหมาย (Sign test)

ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยอยู่ในระดับดีและเท่ากัน ในระหว่างที่ศึกษาช่วงเดือนที่ 1 และเดือนที่ 2

      ส่วนจำนวนวันนอนของผู้ป่วยภายหลังการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 

โดยสรุป รูปแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อมีประโยชน์ ผู้บริหารทางการพยาบาลจึงควรพัฒนางานการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย

     และควรพัฒนาการศึกษารูปแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในระบบอื่นๆ ของร่างกายต่อไป
เครื่องมือส่วนตัว