สมรรถนะเฉพาะตำแหน่งกับบรรณารักษ์

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 05:59, 18 พฤษภาคม 2557 โดย Pbhonbha (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

'

เนื้อหา

ความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งของบรรณารักษ์

== THE EXPECTATIONS OF UNIVERSITY LIBRARY ADMINISTRATORS TOWARDS LIBRARIANS' FUNCTIONAL COMPETENCIES

==

พ้นพันธ์ ปิลกศิริ** ผศ.ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์***

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานของบรรณารักษ์ในด้าน ความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะส่วนบุคคลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย 117 แห่ง รวม 117 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 85 ชุด (ร้อยละ 72.62)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมีความคาดหวังต่อสมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์ โดยความคาดหวังที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล และคุณลักษณะส่วนบุคคลเรื่องมีจิตบริการ ความคาดหวังต่อสมรรถนะของบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ส่วนความคาดหวังต่อสมรรถนะของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำทรัพยากรสารนิเทศที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้เรื่องหัวเรื่อง ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศและทักษะในการให้หัวเรื่อง และความคาดหวังต่อสมรรถนะของบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ และทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ


== ABSTRACT

==

The objective of this research is to study the expectations of university library administrations towards librarians’ functional competencies in term of Knowledge, skills, and attribute. The questionnaires were used in data collection from 117 university administrators and 85 questionnaires (72.62%) were returned.

The findings indicate that university library administrator’s overall expectation towards the core competencies of librarians with highest mean score are knowledge on databases, skill in using databases, and having service mind. The expectations towards collection development librarians with highest mean score are knowledge on internal and external information sources and skill in accessing internal and external information sources. The expectations towards cataloging librarians include knowledge on identifying subject headings. The expectations towards reference librarians are knowledge on information searching and skill in information searching.



บทนำ

บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นผู้มีบทบาทในการสนับสนุนการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และการพัฒนาของมหาวิทยาลัย โดยจัดการและพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศให้สามารถตอบสนองการศึกษา เรียนรู้และวิจัยในสาขาวิขาต่างๆในมหาวิทยาลัยโดยมีการบริการ และการสอนการใช้เทคโนโลยีสารนิเทศ (ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548: 14) บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะต้องบริหารทั้งบริหารเวลา (Time management) จัดองค์กร (Organizing) บริหารทรัพยากรต่างๆทั้งทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรสารนิเทศ ทรัพยากรทางการเงิน การตลาด และทรัพยากรทางกายภาพอื่นๆโดยติดต่อสื่อสารกับทั้งภายในห้องสมุด และภายนอก พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างภาวะผู้นำ มีการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ และจัดบริการแก่สาธารณชนท่ามกลางสภาพแวดล้อมต่างๆ และการเปลี่ยนแปลง ในสังคม เช่น ความเปลี่ยนแปลงในความต้องการทรัพยากรสารนิเทศที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงจากสิ่งตีพิมพ์ มาเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น สร้างเครือข่ายทั้งระหว่างห้องสมุด ระหว่างมหาวิทยาลัย และระหว่าง ผู้จำหน่ายทรัพยากรสารนิเทศด้วย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงกฎต่างๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับสารนิเทศ กฎการลงระเบียนจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศเป็นต้น (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 2552; Langley, Edward, and Vaughan 2003; Bridges 2003; Brophy 2005; Gregory 2005) ด้วยบทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์ที่กล่าวมา บรรณารักษ์ต้องพัฒนาสมรรถนะของตนเองเพื่อสามารถที่จะปฏิบัติงานและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ (วิไลวรรณ รัตนพันธ์ 2547: 2) การดำเนินงานในห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายงานเทคนิค และฝ่ายงานบริการผู้ใช้ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่ง จะต้องมีบรรณารักษ์ 3 ตำแหน่งงาน คือ บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ บรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ทำงานด้านเทคนิค และบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ทำงานบริการ (ทักษพร จินตพยุงกุล 2546: 7)


สมรรถนะ

สมรรถนะ คือองค์ประกอบด้านต่างๆของบุคลากร ได้แก่ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการทำงานให้มีประสิทธิผล สมรรถนะเป็นผลรวมของการจูงใจ อุปนิสัย ความรู้ ทักษะ ประเด็นของภาพลักษณ์ของตนหรือของสังคม และเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคลซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์กำหนด องค์กรต่างๆทั้งภาคเอกชน และภาครัฐต่างนำแนวคิดสมรรถนะมาประยุกต์ใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อผลงานที่ดีเลิศขององค์กร (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ 2548; ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล 2549; นิสดารก์ เวชยานนท์ 2550; ศิริรัตน์ พิริยธนาลัยและ จุฑา เทพหัสดิน ณ อยุธยา 2553; Sharmon 2004: 28-29)


องค์ประกอบของสมรรถนะ

สมรรถนะประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่มีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงาน (Shermon 2004: 28-29) ความรู้ คือ ข้อเท็จจริง สารนิเทศที่รวบรวม เรียนรู้ และประยุกต์ผ่านประสบการณ์ การศึกษาและการทดลอง เช่น ความรู้เฉพาะด้านของบุคคล ความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านการบริหารต้นทุน ความรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์ ความรู้ทางเทคโนโลยี เป็นต้น ทักษะ คือ สิ่งที่บุคคลทำได้ดี และฝึกปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความชำนาญ เป็นผลต่อเนื่องของการประยุกต์ความรู้ มีการใช้เทคนิคต่างๆช่วยให้งานประสบผลอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เช่น ทักษะทางเทคโนโลยี ทักษะการทำงานเป็นทีม เป็นต้น คุณลักษณะส่วนบุคคล คือ รูปแบบ ค่านิยม แรงขับ ทัศนคติที่บ่งชี้ พฤติกรรมของบุคลากร (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ 2548:13-15; Shermon 2004: 29) ประเภทของสมรรถนะ สมรรถนะ สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ สมรรถนะหลัก สมรรถนะตามตำแหน่งงาน และสมรรถนะของผู้บริหาร (ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล 2549; นิสดารก์ เวชยานนท์ 2550; ศิริรัตน์ พิริยธนาลัยและ จุฑา เทพหัสดิน ณ อยุธยา 2553) สมรรถนะหลัก คือสมรรถนะที่ทุกคนในองค์กรนั้นๆต้องมีร่วมกัน และเกี่ยวข้องกับผลงานทั้งหมดของทุกคนในองค์กรรวมกัน สมรรถนะหลักสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันขององค์กร มักถูกกำหนดโดยผู้บริหาร หัวหน้างานว่าต้องการให้องค์กรมีภาพลักษณ์โดดเด่นอย่างไร สมรรถนะตามตำแหน่งงาน คือ สมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่งในองค์กรจะต้องมีโดยบุคลากรจะมีความรู้เฉพาะ ทักษะเฉพาะและคุณลักษณะส่วนบุคคลในแต่ละงานที่รับผิดชอบ และมักจะมีเทคนิคในการทำงานประกอบด้วย การกำหนดสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานจะต้องใช้วิธีสำรวจ วิเคราะห์จากบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งนั้นๆ โดยเป็นการประเมินความเหมาะสมของสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานนั้นๆ มากกว่าการที่ผู้บริหารกำหนดในเรื่องสมรรถนะหลักขององค์กร การจัดทำสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานจึงต้องใช้ความร่วมมือจากบุคคลากรในองค์กรมาก โดยจะต้องทบทวนจากคำอธิบายงาน (Job description) ด้วยเพราะต้องรู้ว่าตำแหน่งงานนั้นๆทำอะไร อย่างไร ความเสี่ยง ความท้าทายของตำแหน่งงานนั้นคืออะไร และองค์กรคาดหวังสิ่งใดกับตำแหน่งงานนั้น ส่วนสมรรถนะของผู้บริหาร คือ สมรรถนะที่ผู้บริหารหรือหัวหน้างานในองค์กรณ์นั้นๆจะต้องมี เช่น ภาวะผู้นำ ความสามารถในการวางแผน การบริหารจัดการองค์กร การนำองค์กร การควบคุม รวมทั้งการมองการณ์ไกล เป็นต้น


ความสำคัญของสมรรถนะ

สมรรถนะมีความสำคัญต่อ องค์กร ผู้บริหาร และบุคคลากร สำหรับองค์กรสามารถคัดสรรบุคคลที่มีคุณลักษณะ พฤติกรรมเหมาะสมกับงาน บุคลากรได้รู้ระดับสมรรถนะของตนเอง ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร องค์กรคาดหวังในตัวพนักงานอย่างไร เพื่อสามารถเน้นจุดแข็ง ปรับปรุงจุดอ่อนสู่การพัฒนาตนเองให้ตรงตามความคาดหวังของผู้บริหารและองค์กรได้ สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การอบรมพัฒนาสมรรถนะในด้านที่บุคคลากรขาดไปและเสริมสมรรถนะที่บุคคลากรมี รวมทั้งยังเป็นตัวชี้วัดหลักของผลงานขององค์กรได้อีกด้วยว่า บุคลากรจะต้องมีสมรรถนะใดในระดับใดเพื่อสร้างผลงานตามที่องค์กรได้คาดหวังไว้ (นิสดารก์ เวชยานนท์ 2550; ชูชัย สมิทธิไกร 2552: 28)


สมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์

สมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งในห้องสมุดมหาวิทยาลัยประกอบด้วย 1. ความรู้ ได้แก่ (Thompson 2009: 24-25; American Library Association 2010; Marshall et al. 2012) 1.1 ความรู้เรื่องผู้ใช้และความต้องการสารนิเทศ ในการบริการ บรรณารักษ์ ต้องรู้จักผู้ใช้ห้องสมุดของตนรวมทั้งสารนิเทศที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเนื้อหา รูปแบบ ความทันสมัย ของทรัพยากรสารนิเทศ 1.2 ความรู้เรื่องวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ของห้องสมุด เพื่อใช้ในการวางแผนเรื่องทรัพยากรสารนิเทศที่จะจัดบริการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งการจัดบริการต่างๆ 1.3 ความรู้เรื่องการจัดการบุคลากรเนื่องจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยเป็นองค์กร ที่ประกอบด้วยบุคลากรจำนวนมาก เช่นบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ 1.4 ความรู้เรื่องการจัดการการเงินและงบประมาณในการที่จะใช้ทรัพยากร ทางการเงินตามงบประมาณที่ห้องสมุดมีตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ 1.5 ความรู้เรื่องการประกันคุณภาพ ทั้งคุณภาพของห้องสมุด คุณภาพการบริการ ทรัพยากรสารนิเทศที่ให้บริการในการส่งเสริมการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัย 1.6 ความรู้เรื่องการตลาด ซึ่งบรรณารักษ์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรเชิงรุก โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด (ธมลวรรณ ขุนไพชิต 2550: 141) หรือการบริการที่น่าพอใจ และพัฒนากลไกตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ (นฤมล กิจไพศาลรัตนา 2533: 11-15) 1.7 ความรู้ในเรื่องภาวะผู้นำ ในการนำองค์กร เป็นศูนย์กลางของคณะทำงาน (Northouse 2013: 1-3) ในการควบคุมบุคลากร เพื่อบริหารงานและควบคุมการดำเนินงานของห้องสมุดให้เป็นไปตามกลยุทธ์ของห้องสมุด 1.8 ความรู้ทางการสื่อสาร ทั้งการสื่อสารกับบุคลากรห้องสมุดในการบริหารบุคลากร การสื่อสารกับผู้ประกอบการสารนิเทศภายนอกห้องสมุด และการสื่อสารกับผู้ใช้ห้องสมุดด้วย 1.9 ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงในการจัดการความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบข้อบังคับ และกฎหมาย และความเสี่ยงด้านเหตุการณ์เป็นต้น (ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี 2550: 2-3) 1.10 ความรู้เรื่องการจัดการความเปลี่ยนแปลง ห้องสมุดต้องปรับตัวให้ทันสภาพแวดล้อม ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตาม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามขององค์กร 1.11 ความรู้เรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุด เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ต่างๆ ในการพัฒนาวิชาชีพ หรือความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรสารนิเทศ (Marshall et al. 2012) 1.12 ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Thompson 2009: 25) การสร้างเครือข่ายทางสังคม สร้างความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เป็นต้น (ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548: 14-20) 1.13 ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลซึ่งใช้ทั้งในการในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศและในการบริการสารนิเทศแก่ผู้ใช้ ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะมีการบริการฐานข้อมูลต่างๆ บรรณารักษ์ต้องสามารถแนะนำบริการในฐานข้อมูลต่างๆได้ 1.14 ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จ เป็นพื้นฐานในการใช้งานด้านต่างๆ ในการจัดพิมพ์ จัดการรูปภาพ เช่น การใช้ Spreadsheet การใช้โปรแกรม Word (Thompson 2009: 25) 1.15 ความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการใช้คอมพิวเตอร์ ที่ประกอบด้วย อุปกรณ์ และโปรแกรมจำนวนมาก ที่บรรณารักษ์ต้องใช้และแนะนำผู้ใช้บริการ 1.16 ความรู้เรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ในการค้นหาทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุดที่ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ในการจัดการระบบสืบค้นของห้องสมุด หรือแม้แต่การจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ บรรณารักษ์จะต้องใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการปฏิบัติงาน 1.17 ความรู้เรื่องเว็บเทคโนโลยี ในการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปของเว็บไซต์ เช่น เว็บ 2.0 เว็บ 3.0 เป็นต้น 1.18 ความรู้เรื่องโปรแกรมค้นหา ในการใช้โปรแกรมเพื่อการสืบค้นข้อมูล เช่น กูเกิ้ล (Google) 1.19 ความรู้เรื่องการประชาสัมพันธ์ในการสื่อสารเผยแพร่ข่าวสารให้บุคลากรห้องสมุดโดยเฉพาะผู้ใช้ห้องสมุด ถึงความเปลี่ยนแปลง การบริการ กิจกรรม กำหนดการต่างๆของห้องสมุด สร้างความน่าเชื่อถือ ความเข้าใจระหว่างกัน 1.20 ความรู้ภาษาต่างประเทศในการดำเนินงานด้านต่างๆ 2. ทักษะ นอกจากบรรณารักษ์ต้องมีความรู้ในเรื่องต่างๆแล้ว บรรณารักษ์ยังต้องสามารถทำงานด้านต่างๆได้อย่างดี ทักษะในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งงาน มีดังนี้ (โมดูลที่ 2 ผู้ใช้และการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 2554: 67-69; Marshall et al. 2012; Gregory 2005; Gorman 2001; American Library Association 2010; Marshall et al. 2012) 2.1 ทักษะในการวิเคราะห์ความต้องการสารนิเทศของผู้ใช้ ในการจัดการทรัพยากรสารนิเทศให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ หรือในการบริการสารนิเทศแก่ผู้ใช้ บรรณารักษ์ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 ทักษะในการวางแผน ในการบริหารงานห้องสมุด บรรณารักษ์ต้องมี การวางแผนในการปฏิบัติงานเพื่อดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 ทักษะการจัดการบุคลากร ทั้งในเรื่องการสรรหาบุคลากร การจัดภาระงาน และอำนาจหน้าที่ (ชูไชย สมิทธิไกร 2552) 2.4 ทักษะในการจัดทำงบประมาณ ในการวางแผนการสำหรับงบประมาณ ของห้องสมุดที่คาดว่าจะต้องจ่ายในปีงบประมาณนั้นๆ 2.5 ทักษะในการประเมินคุณภาพของห้องสมุดและทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดควรมีมาตรฐานการดำเนินงานตามที่องค์กร สถาบันต่างๆและหน่วยงานต้นสังกัด 2.6 ทักษะในการสื่อสาร ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และระหว่างองค์กร 2.7 ทักษะในการวางแผนบริหารความเสี่ยงของห้องสมุดเช่น ความเสี่ยงในด้านการทำงาน ซึ่งบรรณารักษ์ควรที่สามารถจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าวเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความผิดพลาดกับการทำงานภายในองค์กรน้อยที่สุด 2.8 ทักษะเรื่องการจัดการความเปลี่ยนแปลง บรรณารักษ์ต้องสามารถจัดการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การปฏิบัติงานเช่น ความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีหรือ ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของทรัพยากรสารนิเทศเป็นต้น 2.9 ทักษะในการสร้างทีมงาน ในการทำงานเป็นทีม บรรณารักษ์ต้องทำงานร่วมกับบรรณารักษ์ด้วยกัน เจ้าหน้าที่และบุคลากรด้านอื่นๆตลอดเวลาเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ (Gregory 2005: 4-6) 2.10 ทักษะในการใช้อินเทอร์เน็ต ในการค้นหาทรัพยากรสารนิเทศหรือการติดต่อสื่อสารกับภายนอกและภายในองค์กร หรือในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ 2.11 ทักษะในการใช้ฐานข้อมูลในการค้นสารนิเทศเพื่อการดำเนินงานภายในห้องสมุดและการสอนและแนะนำผู้ใช้ในการบริการสารนิเทศให้ใช้ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ 2.12 ทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น ในการพิมพ์จัดการงานเอกสาร การจัดการรูปภาพ ประมวลผล หรือการนำเสนองาน เป็นต้น 2.13 ทักษะในการจัดการฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ บรรณารักษ์ต้องใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมต่างๆรวมทั้งอุปกรณ์ซึ่งเป็นพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ 2.14 ทักษะในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในทั้งในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ และการสืบค้นทรัพยากรสารนิเทศเพื่อให้บริการผู้ใช้ 2.15 ทักษะในการใช้เว็บเทคโนโลยี บรรณารักษ์ควรที่จะสามารถนำเว็บเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้ เช่นการใช้เครือข่ายทางสังคม (social network) ซึ่งเป็นการใช้เว็บเทคโนโลยี 2.0 ในการประชาสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ห้องสมุด เป็นต้น 2.16 ทักษะในการใช้โปรแกรมค้นหา เพื่อใช้ในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศภายนอกห้องสมุด 2.17 ทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ บรรณารักษ์จะต้องใช้ภาษาต่างประเทศในการติดต่อสื่อสารเพื่อการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร หรือในการใช้อินเทอร์เน็ต และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (Ameen 2009) 3. คุณลักษณะส่วนบุคคล นอกจากความรู้และทักษะแล้ว บรรณารักษ์ยังจะต้องมีคุณลักษะส่วนบุคคลประกอบการทำงานเพื่อให้ได้ผลดีอีกด้วย ทั้งในด้านงานด้านเทคนิคและงานบริการ ดังนี้ (โมดูลที่ 2 ผู้ใช้และการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 2554: 67-69; สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 2013; Marshall et al. 2012; Cassell and Hiremath 2009: 4-5; Martin and Zaghloul 2011; Marshall et al. 2012) 3.1 มีจิตบริการ คำนึงถึงประโยช์ของผู้ใช้ในงานบริการ หรือแม้จะเป็นงานทางเทคนิค บรรณารักษ์ก็ควรตระหนักถึงงานที่ทำว่า เป็นการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการผ่านการบริการ (สายฝน เต่าแก้ว, สัมภาษณ์; Piyasuda Tanloet and Kulthida Tuamsuk 2011; SLA Professional Ethics Guidelines 2013) 3.2 ไม่เลือกปฏิบัติ กับผู้ใช้โดยให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน วางตนเป็นกลาง ไม่มีอคติไม่ว่าผู้ใช้จะมีฐานะหรืออยู่ในสถานะภาพที่แตกต่างกันอย่างไร 3.3 ใช้วิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรม ปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้อย่างจริงใจ 3.4 มีมนุษยสัมพันธ์ ทั้งกับผู้ร่วมงานในการร่วมมือกับทำงานให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ 3.5 พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ 3.6 มีความเสียสละ เช่นสละตนเพื่อให้ ผู้ใช้ได้รับสิ่งที่ต้องการ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตน 3.7 อดทน อดกลั้น เช่นการอดทนต่อผู้ใช้บริการที่มีสภาวะอารมณ์ที่ต่างกัน อดทนกับการติดต่อสื่อสารกับองค์กรภายนอกที่มีการปฏิบัติงานต่างกัน 3.8 มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการหรือรับผิดชอบต่อความผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น 3.9 มีความกระตือรือร้นในการนำความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาตนเองและองค์กรอยู่ตลอดเวลา (ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548) 3.10 มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร บรรณารักษ์ควรมีทัศนคติต่องานและองค์กรในเชิงบวก เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้องค์กร แสดงศักยภาพของตนตอบสนองเป้าประสงค์ขององค์กรและวิชาชีพได้ดีที่สุด 3.11 เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ในการจัดการทรัพยากรสารนิเทศ หรือในการบริการสารนิเทศแก่ผู้ใช้ บรรณารักษ์จะต้องเคารพกฎหมายลิขสิทธ์ไม่ละเมิดกฎทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งส่งเสริมผู้ใช้ให้ตระหนักถึงกฎหมายนั้นๆด้วย


2. สมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานของบรรณารักษ์ 2.1 สมรรถนะของบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ 2.1.1 ความรู้ ความรู้สำหรับบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศมีดังนี้ (โมดูลที่ 2 ผู้ใช้และการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 2554: 55-91; Gregory 2011) 2.1.1.1 ความรู้เรื่องนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ซึ่งรวมถึงความรู้ ในการจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานทั้งในการคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารนิเทศมาให้บริการ 2.1.1.2 ความรู้เรื่องแหล่งทรัพยากรสารนิเทศทั้งในและนอกห้องสมุด บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ กับภายนอกองค์กร (ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548; 17) 2.1.1.3 ความรู้เรื่องธุรกิจการพิมพ์ บรรณารักษ์พัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรรู้เรื่องธุรกิจการผลิต การบริการและการจัดพิมพ์ 2.1.1.4 ความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศรูปแบบใหม่ เช่น ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องการเข้ามาให้บริการยังห้องสมุดเพื่อตรวจสอบว่าทรัพยากรสารนิเทศดังกล่าว มีอยู่แล้วภายในห้องสมุดหรือไม่ หากต้องการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศดังกล่าวมาให้บริการในห้องสมุด รูปแบบทรัพยากรสารนิเทศนั้นจะอยู่ในรูปแบบใด เช่นวารสารในรูปแบบสิ่งตีพิมพ์ หรือรูปแบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดหาอย่างไร ติดต่อแหล่งใด หากเป็นสำนักพิมพ์ ทรัพยากรสารนิเทศนั้นยังจัดพิมพ์อยู่หรือไม่ เป็นต้น 2.1.1.5 ความรู้เรื่องการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศตามนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อที่จะจัดหาทรัพยากรสารนิเทศต่อไป 2.1.1.6 ความรู้ในการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ในการตรวจสอบทรัพยากรสารนิเทศที่ได้คัดเลือกและจัดหาทั้งเรื่องปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรสารนิเทศ 2.1.1.7 ความรู้เรื่องการคัดทรัพยากรสารนิเทศออก ในกรณีที่ทรัพยากรสารนิเทศล้าสมัย ไม่มีผู้ใช้ทรัพยากรสารนิเทศนั้น และทรัพยากรสารนิเทศนั้นสามารถทดแทนได้ด้วยทรัพยาการสารนิเทศที่ใหม่กว่า หรือมีการตีพิมพ์ใหม่ 2.1.1.8 ความรู้เรื่องการผลิตซ้ำหรือทำซ้ำทรัพยากรสารนิเทศ บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรรู้ว่าทรัพยากรสารนิเทศที่จัดหานั้นมีการผลิตซ้ำ ตีพิมพ์ใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ 2.1.2 ทักษะ ทักษะสำหรับบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศมีดังนี้ (โมดูล ที่ 2 ผู้ใช้และการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 2554: 55-91; Gregory 2011; Matin and Zaghloul, 2011) 2.1.2.1 ทักษะในการจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการ คัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ และการดำเนินงาน 2.1.2.2 ทักษะในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศทั้งในและนอกห้องสมุด เพื่อคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารนิเทศเข้ามาให้บริการในห้องสมุด โดยบรรณารักษ์ต้องตรวจสอบทรัพยากรสารนิเทศที่ห้องสมุดมีว่ามีทรัพยากรสารนิเทศนั้นอยู่แล้วในห้องสมุดหรือไม่ หากต้องจัดหาทรัพยากรสารนิเทศมา จะต้องจัดหาทรัพยากรสารนิเทศนั้นจากแหล่งใด 2.1.2.3 ทักษะในการคัดเลือกสารนิเทศ ที่จะจัดหาเข้ามาให้บริการ ในห้องสมุด โดยกำหนดผู้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ และรูปแบบทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการซึ่งต้องใช้คู่มือ และมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกที่สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศที่จัดทำ และคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ เนื้อหาครบถ้วน 2.1.2.4 ทักษะในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศซึ่งเป็นการจัดให้ทรัพยากรสารนิเทศที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว เข้ามายังห้องสมุด ซึ่งบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศจะต้องเข้าถึงแหล่งสารนิเทศนอกห้องสมุดเพื่อที่จะติดต่อและนำทรัพยากรสารนิเทศนั้นเข้ามาให้บริการยังห้องสมุดจากแหล่งต่างๆ เช่นสำนักพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ประกอบการทางสารนิเทศอื่นๆ โดยวิธีการต่างๆเช่น การจัดซื้อ การบอกรับเป็นสมาชิก การขอรับอภินันทนาการการทำสำเนา เป็นต้น 2.1.2.5 ทักษะในการเจรจาต่อรองกับแหล่งผลิตทรัพยากรสารนิเทศและตัวแทนบอกรับสารนิเทศ เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารนิเทศที่ผู้ใช้ต้องการเข้ามาให้บริการในห้องสมุด 2.1.2.6 ทักษะในการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ในการประเมินทรัพยากรสารนิเทศที่ผ่านการคัดเลือกและจัดหา ในเรื่องปริมาณและคุณภาพว่าทรัพยากรสารนิเทศที่มีนั้นเพียงพอหรือไม่ มีเนื้อหาตรงกับหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีหรือไม่ ผู้ใช้มาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นมากน้อยเพียงใด 2.1.2.7 ทักษะในการคัดทรัพยากรสารนิเทศออก หากทรัพยากรสารนิเทศที่มีอยู่นั้น ล้าสมัย ไม่มีการใช้เป็นระยะเวลานาน อาจต้องคัดทรัพยากรสารนิเทศนั้นออกหรือคัดทรัพยากรสารนิเทศนั้นเพื่อเก็บในสถานที่อื่น 2.1.2.8 ทักษะในการบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ ในกรณีที่ทรัพยากรสารนิเทศที่มีคุณค่า ผ่านการใช้เป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องมีการซ่อมแซม จัดการทรัพยากรสารนิเทศนั้นให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปกติ และพร้อมใช้งานซึ่งอาจทำได้ทั้งก่อนที่ทรัพยากรสารนิเทศนั้นจะชำรุด โดยการป้องกันเสริมสภาพทรัพยากรสารนิเทศนั้น หรือจัดอบรมการใช้ทรัพยากรสารนิเทศที่ถูกวิธีแก่ผู้ใช้ 2.2 สมรรถนะของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ 2.2.1. ความรู้ ความรู้สำหรับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศมีดังนี้ (โมดูล 3 การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 2554: 92-125; ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548; Sanchez 2001) 2.2.1.1 ความรู้เรื่องการทำรายการโดยใช้ AACR2 ซึ่งเป็นพื้นฐานการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศและใช้เป็นกรอบในการเลือกสรรข้อมูลทางบรรณานุกรมจากแหล่งสำคัญของข้อมูลของทรัพยากรสารนิเทศนั้นๆได้ 2.2.1.2 ความรู้เรื่อง MARC ในการลงรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ประกอบด้วยโครงสร้างระเบียน รหัสข้อมูลและเนื้อหาส่วนประกอบภายในระเบียน มีรหัสประจำเขตข้อมูลเป็นรายละเอียดในการบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ในการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ 2.2.1.3 ความรู้เรื่องการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ซึ่งการให้เลขเรียกหนังสือมีหลายระบบด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้คือ ระบบ DDC และระบบ LC ในการให้เลขเรียกหนังสือและรหัสตัวอักษร ซึ่งสัมพันธ์กับ หัวเรื่อง ซึ่งเป็นกลุ่มคำ ที่เป็นศัพท์ควบคุมในการบ่งชี้ทรัพยากรสารนิเทศ (Buttlar and Garcha 1998: 318) 2.2.1.4 ความรู้เรื่องเมทาเดทาซึ่งเป็นการบ่งชี้ข้อมูลของทรัพยากรสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน (Baca 2008: iv; Marcia and Jian 2008: 9-84) 2.2.1.5 ความรู้เรื่องการให้หัวเรื่อง ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศของผู้ใช้ ซึ่งการกำหนดหัวเรื่องสามารถทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศได้โดยตรง (ชนิดา จริยาพรพงศ์, สัมภาษณ์; Buttlar and Garcha 1998: 318) 2.2.1.6 ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศร่วมด้วยในการตรวจสอบความถูกต้องของรายการทรัพยากรสารนิเทศที่จัดทำรายการหรือเพื่อความรวดเร็วในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ เช่น เว็บไซต์ของ OCLC (Online Computer Library Center) เป็นต้น 2.2.2 ทักษะ ทักษะสำหรับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศมีดังนี้ (โมดูล 3 การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 2554: 92-131ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548: 18; Sanchez 2011; Baca 2008; Marcia and Jian 2008) 2.2.2.1 ทักษะในการทำรายการโดยใช้ AACR2 จัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศโดยสามารถนำข้อมูลที่ต้องใช้มาจากแหล่งข้อมูลที่กำหนดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 2.2.2.2 ทักษะการทำรายการโดยใช้ MARC สามารถจดจำหมายเลข เขตข้อมูล ตัวบ่งชี้ และรหัสเขตข้อมูลย่อยที่ต้องใช้เป็นประจำได้ 2.2.2.3 ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ในการสร้างเลขชี้นำไปยังทรัพยากรสารนิเทศ การแบ่งแยกสาขาวิชา เนื้อหาวิชาของทรัพยากรสารนิเทศให้ถูกต้อง 2.2.2.4 ทักษะในการจัดทำเมทาเดทาซึ่งก็คือการจัดทำข้อมูลของข้อมูล ที่จะบ่งชี้แหล่งทรัพยากรสารนิเทศนั้น สำหรับทำรายการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ให้รวดเร็วและถูกต้องด้วย (Baca 2008: 4; Marcia and Jian 2008: 5) 2.2.2.5 ทักษะในการให้หัวเรื่อง บรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศต้องบ่งชี้เนื้อหาของทรัพยากรสารนิเทศโดยให้วลีที่ได้รับการกำหนดให้ใช้เป็นหัวเรื่องได้อย่างถูกต้อง และครอบคลุมเนื้อหาของทรัพยากรสารนิเทศนั้น โดยใช้คู่มือประกอบได้อย่างถูกต้อง 2.2.2.6 ทักษะในการใช้เว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อความถูกต้องและรวดเร็วในการปฏิบัติงาน เช่นในกรณีที่ไม่สามารถหาหัวเรื่องและเลขหมู่ที่เหมาะสมกับเนื้อหาทรัพยากรสารนิเทศนั้นได้ บรรณารักษ์สามารถตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์และฐานข้อมูลออนไลน์ได้ (ชนิดา จริยาพรพงศ์, สัมภาษณ์) 2.3 สมรรถนะของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า 2.3.1 ความรู้ ความรู้สำหรับบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้ามีดังนี้ (Cassell and Hiremath 2009) 2.3.1.1 ความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิงในการค้นคว้าหาสารนิเทศ ที่ถูกต้องกับคำถามต่างๆของผู้ใช้ ซึ่งทรัพยากรสารนิเทศที่บรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าต้องรู้จัก เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือรายปี อักขรานุกรมชีวประวัติ หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ นามานุกรม บรรณานุกรม ดรรชนีวารสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาล และหนังสือคู่มือ เป็นต้น 2.3.1.2. ความรู้เรื่องการสัมภาษณ์อ้างอิง เพื่อเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้บรรณารักษ์หาคำตอบจากทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิงได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น การสัมภาษณ์อ้างอิงจะมีทั้งคำถามที่บรรณารักษ์สามารถหาคำตอบได้ทันที และคำถามที่บรรณารักษ์ต้องใช้เวลาค้นคว้า ชี้แนะแนวทางให้ผู้ใช้ (Leong 2008) 2.3.1.3 ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ในการสืบค้นสารนิเทศภายในและภายนอกห้องสมุดเพื่อให้บริการผู้ใช้ ในปัจจุบัน บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า จะใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ช่วยในการค้นคว้าหาคำตอบได้รวดเร็ว กว้างขวาง (Peter 2005: 208 – 214) 2.3.1.4 ความรู้เรื่องการประมวลสารนิเทศสำเร็จรูป เนื่องจากบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าต้องสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้ว่าผู้ใช้ต้องการทรัพยากรสารนิเทศที่มีเนื้อหาอย่างไร ในรูปแบบใด และสามารถประมวลสารนิเทศสำเร็จรูปทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมกับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม (จินดารัตน์ เบอรพันธุ์ 2548: 11-12) 2.3.1.5 ความรู้เรื่องการรู้สารนิเทศ สร้างกิจกรรม หรือการสอน แนะนำการรู้สารนิเทศ เนื่องจากบรรณารักษ์จะได้พบปะกับผู้ใช้และรู้จักวิธีที่จะสร้างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและรู้สารนิเทศ 2.3.1.6 ความรู้เรื่องแหล่งทรัพยากรสารนิเทศที่มีทั้งภายในและนอกห้องสมุด เพื่อหาคำตอบหรือในการสืบค้นสารนิเทศจากภายนอกห้องสมุดเพื่อให้บริการผู้ใช้ 2.3.2. ทักษะ ทักษะสำหรับบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้ามีดังนี้ (Cassell and Hiremath 2009) 2.3.2.1 ทักษะในการใช้ทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิง ในการเลือกว่าต้องใช้ทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิงชนิดใด เพื่อค้นคว้าหาคำตอบให้ผู้ใช้ 2.3.2.2 ทักษะในการสัมภาษณ์อ้างอิง ทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ว่าต้องการสารนิเทศชนิดใด มีรายละเอียดเพียงใดและเพื่อใช้ในการใด 2.3.2.3 ทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าต้องสามารถช่วยผู้ใช้สืบค้นสารนิเทศ ทั้งจากทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุด หรือแหล่งสารนิเทศภายนอกห้องสมุด 2.3.2.4 ทักษะในการเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศที่มีทั้งภายในและนอกห้องสมุด เพื่อค้นหาทรัพยากรสารนิเทศที่มีภายในห้องสมุดทางรายการทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด ซึ่งบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าต้องสามารถใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการค้นคว้า รวบทั้งการใช้ฐานข้อมูลของห้องสมุด หากทรัพยากรสารนิเทศนั้น ไม่สามารถค้นหาได้ภายในห้องสมุด บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าก็ควรค้นหาทรัพยากรสารนิเทศจากภายนอกห้องสมุดได้เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต โปรแกรมค้นหาต่างๆเป็นต้น 2.3.2.5 ทักษะในการประมวลสารนิเทศสำเร็จรูป เนื่องจากบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าจะได้พบปะกับผู้ใช้ ได้เห็นความต้องการและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ กับทรัพยากรสารนิเทศ บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าจึงควรเข้าใจรูปแบบ ของทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและเนื้อหาไปตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 2.3.2.6 ทักษะในการสอนการใช้ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารนิเทศ ในการสอนให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ (อาชัญญา รัตนอุบล 2013) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่บรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าต้องมีและให้ความสำคัญ

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานของบรรณารักษ์ในด้าน ความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะส่วนบุคคล

สมมติฐานการวิจัย 1. ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่า บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรมีความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด และมีทักษะในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ 2. ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่าบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศควรมีความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ และมีทักษะการจัดทำเมทาเดทา 3. ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่า บรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าควรมีความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิงและมีทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ

ขอบเขตและประชากรที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานของบรรณารักษ์ โดย มีประชากร คือ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 117 แห่ง แห่งละ 1 คน รวม 117 คนแบ่งออกเป็น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 30 แห่ง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งและห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 38 แห่ง

สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล

                            ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม

ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด 61 คน (ร้อยละ 71.76) คือ ระดับปริญญาโท สาขาวิชาที่ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยจบการศึกษาระดับสูงสุด คือบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 57 คน (ร้อยละ 67.05) ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุด 43 คน (ร้อยละ 82.50) คือระยะเวลา 1-5 ปี

                            ความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงานของบรรณารักษ์

1. สมรรถนะร่วมของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย 1.1 ความคาดหวังด้านความรู้ เมื่อพิจารณาความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีต่อความรู้ของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งโดยรวม พบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับความรู้ทุกเรื่อง 20 เรื่องในระดับมาก โดยความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงสุด คือ ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ( = 4.49) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐคาดหวังกับความรู้ในระดับมากที่สุด และมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ( = 4.54) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( = 4.59) และ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ความรู้เรื่องโปรแกรมค้นหา (search engine) ( = 4.45) เท่ากัน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงสุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ฐานข้อมูลเป็นแหล่งสารนิเทศที่มีความสำคัญสำหรับการค้นคว้าในปัจจุบันซึ่งสารสนเทศมีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้ฐานข้อมูลเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้บรรณารักษ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลในการบริการให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรที่มีของห้องสมุด ซึ่งงานวิจัยของ Mahmood (2003) ได้ระบุสมรรถนะ 1 ใน 10 เรื่อง ที่จำเป็น คือ สามารถพัฒนาเทคโนโลยีฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม และงานวิจัยของ Leong (2008) ที่ระบุว่าบรรณารักษ์จะต้องสร้างการเข้าถึงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 เรื่อง คือ ความรู้เรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ( = 4.62 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโท คาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้เรื่องผู้ใช้และความต้องการสารนิเทศ และความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ( = 4.44) เท่ากัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุด และมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ( = 4.80) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความรู้เรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกและปริญญาตรี สูงสุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยต้องมีการใช้ทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน ในการแบ่งปันความรู้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในวงการการศึกษา ซึ่งงานวิจัยของ Vezosa (2010) ได้กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในเรื่องการใช้เอกสาร การเข้าถึงบรรณานุกรม การทำให้เป็นดิจิทัลและการเข้าถึงทางวิชาการจากแหล่งสารนิเทศเสรี (open access) รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆร่วมกันนั้นมีความสำคัญมากต่อห้องสมุดในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุด และมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ( = 4.55) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุด และมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสุด คือ ความรู้เรื่องผู้ใช้และความต้องการสารนิเทศ ( = 4.52) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีมีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุด มากและปานกลาง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูล ( = 4.75) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี มีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องผู้ใช้และความต้องการสารนิเทศ ( = 4.48) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความรู้เรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ความรู้เรื่องโปรแกรมค้นหา ( = 4.65 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปมีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องผู้ใช้และความต้องการสารนิเทศ ความรู้เรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ความรู้เรื่องโปรแกรมค้นหา ( = 4.50 เท่ากัน) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวัง ว่าบรรณารักษ์ควรมีความรู้เรื่องโปรแกรมค้นหา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการเข้าถึงสารนิเทศนั้น บรรณารักษ์ควรจะสามารถค้นหาและเข้าถึงสารนิเทศนอกเหนือจากที่มีในห้องสมุดทั้งในการปฏิบัติงานและในการบริการผู้ใช้ (ศศิวิมล ถาวรกิจ 2548: 14-20) 1.2 ความคาดหวังด้านทักษะ โดยรวม พบว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล ( = 4.48) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน คาดหวังกับทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล ( = 4.58 และ 4.35 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คาดหวังกับสมรรถนะด้านทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( = 4.59) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่าทักษะในการใช้ฐานข้อมูล มีความสำคัญสำหรับบรรณารักษ์ทุกตำแหน่ง อาจเป็นเพราะบรรณารักษ์ทุกตำแหน่ง ต่างก็ต้องเข้าถึงข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายและมีเนื้อหากว้างขวาง เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและบริการผู้ใช้ เช่น บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศต้องใช้ฐานข้อมูลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสารนิเทศในการคัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ บรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศต้องใช้ฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ (ชนิดา จริยาพรพงศ์, สัมภาษณ์) และบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าต้องใช้ฐานข้อมูลในการตอบคำถามของผู้ใช้ หรือในการแนะนำให้ผู้ใช้ใช้ฐานข้อมูลได้อย่างดี ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการวิเคราะห์ความต้องการสารนิเทศของผู้ใช้ และทักษะในการวางแผนงาน ( = 4.50 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล ( = 4.45) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล และทักษะในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( = 4.67เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะในการใช้ฐานข้อมูล ( = 4.52 และ 4.41 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุด มาก และปานกลาง ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการใช้ฐานข้อมูล ( = 4.62) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา1-5 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการวิเคราะห์ความต้องการสารนิเทศของผู้ใช้ ( = 4.43) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะ ในการใช้อินเทอร์เน็ต ทักษะในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ( = 4.71เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ทักษะในการสร้างทีมงาน และทักษะในการใช้ฐานข้อมูล ( = 4.56 เท่ากัน) 1.3 คุณลักษณะส่วนบุคคล โดยรวมพบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ในระดับมากที่สุดและมาก คุณลักษณะส่วนบุคคลทีมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ มีจิตบริการ ( = 4.92) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลคาดหวังกับคุณลักษณะส่วนบุคคลในระดับมากที่สุด คุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีจิตบริการ ( = 4.92 และ 4.90 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในระดับมากที่สุดและมาก คุณลักษณะส่วนบุคคลทีมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีความรับผิดชอบ ( = 4.60) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทและผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกคาดหวังต่อคุณลักษณะส่วนบุคคลในระดับมากที่สุดและมาก คุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีจิตบริการ ( = 4.75, 4.81และ 4.93 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ในระดับมากที่สุดและมาก คุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีจิตบริการ ( = 4.84 และ 4.78 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะส่วนบุคคลในระดับมากที่สุดและมาก คุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีจิตบริการ ( = 5.00, 4.80, 4.88 และ4.75 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลเรื่องจิตบริการมีความสำคัญในงานของบรรณารักษ์ทุกตำแหน่งงาน อาจเป็นเพราะงานทุกงานในห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้น ต่างก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อ บริการผู้ใช้ส่งเสริมการศึกษา วิจัย ของนิสิตนักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้ของห้องสมุด บรรณารักษ์ทุกตำแหน่งงานต้องตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของงานที่ทำ ซึ่งแม้แต่งานด้านเทคนิค ก็ยังเป็นการปฏิบัติงานเพื่อผู้ใช้บริการแม้ไม่ได้พบปะกับผู้ใช้โดยตรง(โมดูล 4 การจัดบริการสารสนเทศและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 2554: 138; Special Library Association 2554) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Piyasuda Tanloet and Kulthida Tuamsuk (2011) ที่ระบุว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลเรื่องจิตบริการ เป็นสมรรถนะที่สำคัญสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้า

2. สมรรถนะตามตำแหน่งงานของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.1 ความคาดหวังต่อบรรณรักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ 2.1.1 ความคาดหวังด้านความรู้ เมื่อพิจารณาความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย ที่มีต่อความรู้ของบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ โดยรวม พบว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับความรู้ในระดับมาก 8 เรื่อง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.42) เท่ากัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่า บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรมีความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังต่อบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศว่าควรมีความรู้เรื่องแหล่งทรัพยากรสารนิเทศในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศเข้ามาให้บริการยังห้องสมุดจากแหล่งสารนิเทศซึ่งอาจมีหลายแหล่งทั้งภายในและภายนอก เพื่อสามารถจัดหาทรัพยากรสารนิเทศได้อย่างคุ้มค่ากับงบประมาณและมีความรวดเร็วทันกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งงานจัดหาเป็นงานที่มีความสำคัญสำหรับบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเช่นกัน และความรู้เรื่องแหล่งทรัพยากรสารนิเทศนั้น ยังเป็นความสามารถด้านวิชาชีพที่จะทำให้บรรณารักษ์สามารถได้รับทรัพยากรสารนิเทศที่มีราคาไม่แพงเหมาะสมกับงบประมาณที่มีมาให้บริการผู้ใช้ (สายฝน เต่าแก้ว, สัมภาษณ์) ทั้งนี้จากการศึกษาของ Piyasuda Tanloet and Kulthida Tuamsuk (2011) ยังได้ระบุว่าความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศเป็นสมรรถนะที่สำคัญสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทยในทศวรรษหน้าเช่นกัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ คาดหวังกับสมรรถนะด้านความรู้ในระดับมากและปานกลาง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดและ ความรู้เรื่องการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.50) เท่ากัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คาดหวังกับความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.49) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก 8 เรื่อง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศ รูปแบบใหม่ เช่น ฐานข้อมูลอิเล็กทรอกนิกส์ ( = 4.25) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คาดหวังต่อความรู้ ในระดับมากและปานกลาง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศ รูปแบบใหม่เช่น ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และความรู้เรื่องการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.38 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโท คาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.35) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกมีความคาดหวังต่อความรู้ ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.73) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์มีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.45) ส่วนผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.41) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีมีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมาก และปานกลาง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.38) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากและปานกลาง ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.41) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปีและ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุด ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.65, 4.63 ตามลำดับ) 2.1.2 ความคาดหวังด้านทักษะ โดยรวม พบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.45) ส่วนทักษะในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.36) มีค่าเฉลี่ยในระดับมากเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้คือ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่า บรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรมีทักษะในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่าบรรณารักษ์พัฒนาทรัพยาการสารนิเทศต้องมีทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด อาจเป็นเพราะ ในบทบาทหน้าที่หลักของบรรณารักษ์พัฒนาทรัพยาการสารนิเทศคือการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศเข้ามาให้บริการในห้องสมุดซึ่งบรรณารักษ์พัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ต้องสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศภายนอกห้องสมุด เพื่อดำเนินการจัดหามาโดยวิธการเช่น การซื้อ หรือการขอรับบริจาค โดยบรรณารักษ์งานพัฒนาทรพยากรสารนิเทศจะต้องเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุดก่อน เพื่อดูว่าทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องการจัดหามานั้น มีให้บริการอยู่แล้วในห้องสมุดหรือไม่ และสมควรที่จะจัดหาทรัพยากรสารนิเทศเข้ามาใหม่หรือไม่ (สายฝน เต่าแก้ว, สัมภาษณ์) พบว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ คาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด( = 4.63) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.59) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ทักษะในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.15) เท่ากัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.50) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโท คาดหวังต่อทักษะในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการประเมินทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.42 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.60) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์มีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด( = 4.45) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.52) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีมีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.25) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.41) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด และทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.53 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.63) 2.2 ความคาดหวังต่อบรรณรักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ 2.2.1 ความคาดหวังด้านความรู้ โดยรวม พบว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้เรื่องหัวเรื่อง (Subject headings) ( = 4.47) ส่วนความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.33) อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้คือ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมาก ว่าบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศควรมีความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศเป็นสมรรถนะที่สำคัญของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ เพราะคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศนั้น จะอยู่ในเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศโดยมีคู่มือที่มีมาตรฐานจากการร่วมมือกันทั้งในและต่างประเทศในการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศ และเว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศสามารถบอกแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศได้ รวมทั้งยังทำให้บรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศได้ตรวจสอบความถูกต้องของรายการทรัพยากรสารนิเทศเช่น ในกรณีที่ไม่สามารถตีความหัวเรื่องของทรัพยากรสารนิเทศนั้นได้ (ชนิดา จริยาพรพงศ์, สัมภาษณ์) หรือในกรณีที่ต้องการปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วเนื่องจากทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องวิเคราะห์มีปริมาณมาก บรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ สามารถใช้ เว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศได้ ซึ่งศศิวิมล ถาวรกิจ (2548) ได้ระบุว่า ฐานข้อมูลในเว็บไซต์เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับบทบาทใหม่ของบรรณารักษ์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบสมรรถนะด้านความรู้ของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศจำแนกตามประเภทของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ คาดหวังกับสมรรถนะด้านความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือเรื่อง MARC (Machine Readable Cataloging) และความรู้เรื่องหัวเรื่อง ( = 4.42 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คาดหวังกับสมรรถนะด้านความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องหัวเรื่อง ( = 4.68) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนและผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐคาดหวังกับสมรรถนะด้านความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องหัวเรื่อง (Subject headings) ( = 4.10 และ 4.42 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือความรู้เรื่องการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ เช่น DDC และ/หรือ LC ( = 4.50) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโท คาดหวังต่อความรู้ ในระดับมาก ความรู้เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องหัวเรื่อง ( = 4.47) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก มีความคาดหวังต่อความรู้ ในระดับมากที่สุด ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ เช่น DDC (Dewey Decimal Classification) และ/หรือ LC ความรู้เรื่องหัวเรื่อง ( = 4.53 เท่ากัน) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่าความรู้การจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศมีความสำคัญกับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ อาจเป็นเพราะการจัดหมู่นั้นเป็นงานที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศได้ เพราะการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศนั้น เป็นการบอกตำแหน่งที่จัดเก็บทรัพยากรสารนิเทศ ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศได้ (ชนิดา จริยาพรพงศ์, สัมภาษณ์)โดยบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศต้องมีความรู้ในการกำหนดเลขชี้นำที่ถูกต้องที่จะทำให้ผู้ใช้ค้นหาทรัพยากรสารนิเทศได้ (โมดูล 3 การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ 2554) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Hall- Ellis (2008) ที่ระบุว่า บรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศว่าควรมีสมรรถนะในการวิเคราะห์และจัดทำรายการสารนิเทศ และการศึกษาของ Han and Hswe (2009) ได้ระบุว่าบรรณารักษ์ควรมีความรู้และ/หรือประสบการณ์ในการวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ทั้งนี้ ศศิวิมล ถาวรกิจ (2548) ได้ระบุว่าการจัดหมู การวิเคราะห์เลขหมู่เป็นบทบาทที่สำคัญของบรรณารักษ์ พบว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องหัวเรื่อง (Subject headings) ( = 4.48 และ 4.44 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่าความรู้เรื่องหัวเรื่องมีความสำคัญกับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ อาจเป็นเพราะหัวเรื่องนั้น เป็นช่องทางสำคัญสำหรับการเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศของผู้ใช้ เป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้บริการสามารถค้นได้โดยตรง โดยบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศต้องกำหนดหัวเรื่องที่ถูกต้องตามมาตรฐานการให้หัวเรื่อง และเหมาะสมกับเนื้อหาของทรัพยากรสารนิเทศนั้นด้วย (ชนิดา จริยาพรพงศ์, สัมภาษณ์) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีมีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ เช่น DDC (Dewey Decimal Classification) และ/หรือ LC (Library of Congress Classification) ( = 4.38) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่อง ในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือเรื่องหัวเรื่อง (Subject headings) ( = 4.45 และ 4.50 ตามลำดับ) ส่วนผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความรู้เรื่องการทำรายการโดยใช้ AACR2 (Anglo American Cataloging Rule) และความรู้เรื่อง MARC (Machine Readable Cataloging) ( = 4.65 เท่ากัน) 2.2.2 ความคาดหวังด้านทักษะ พบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 เรื่อง คือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.52 เท่ากัน) ส่วนทักษะในการจัดทำเมทาดาทา ( = 4.29) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีความคาดหวังในระดับมากเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมาก ว่าบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศควรมีทักษะการจัดทำเมทาเดทา จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่า ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการให้หัวเรื่องมีความสำคัญกับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการสารนิเทศ อาจเป็นเพราะว่าบทบาทหน้าที่หลักของบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการสารนิเทศคือการให้เลขชี้นำไปยังทรัพยากรสารนิเทศนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรพยากรสารนิเทศนั้นๆได้ โดยมีหัวเรื่องที่จะระบุว่าทรัพยากรสารนิเทศนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้หัวเรื่องจะช่วยในการระบุเลขชี้นำไปยังทรัพยากรสารนเทศนั้นด้วย ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการสารนิเทศควรมีความเชี่ยวชาญทั้งในการจัดหมู่ และการให้หัวเรื่องที่ถูกต้อง นอกจากนั้นยังต้องมีทักษะในการจัดทำรายการเช่นกัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ คาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.50) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คาดหวังกับทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.71) เท่ากัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.20) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก คาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.63 และ 4.53 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.53) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.57) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.52) พบว่า ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีมีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการให้หัวเรื่องและทักษะในการใช้เว็บไซต์และฐานข้อมูลทางด้านการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.25 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปมีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.50 และ 4.63 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร เป็นระยะเวลา 6-10 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ( = 4.65) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ( = 4.63) เท่ากัน 2.3 ความคาดหวังด้านบรรณรักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า 2.3.1 ความคาดหวังด้านความรู้ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับความรู้ในระดับมากที่สุด ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.51) ส่วนความรู้เรื่องทรัพยากรอ้างอิง อยู่ในระดับมาก ( = 4.39) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่า บรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าควรมีความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิง จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่า ความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิงเป็นสมรรถนะที่มีความสำคัญมากสำหรับบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า อาจเป็นเพราะทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิงนั้นเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่สามารถให้คำตอบได้ทุกสาขาวิชา มีความถูกต้องและสามารถค้นหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าควรสามารถเลือกใช้และหาคำตอบให้ผู้ใช้ได้ (สมร ไพรศรี, สัมภาษณ์) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ คาดหวังกับความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.58 และ 4.59 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับสมรรถนะด้านความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.25) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเห็นว่าความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศมีความสำคัญสำหรับบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อาจเป็นเพราะบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า จะต้องสืบค้นสารนิเทศได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ในการบริการสารนิเทศแก่ผู้ใช้ (สมร ไพรศรี, สัมภาษณ์) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือเรื่องการรู้สารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด ( = 4.50) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทและ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก คาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.47 และ = 4.73 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.55 และ 4.41 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีมีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิง ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.13) เท่ากัน ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีและผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี มีความคาดหวังต่อความรู้ทุกเรื่องในระดับมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.13 และ 4.45 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีควาคาดหวังต่อความรู้ในระดับมากที่สุดและมาก ความรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้เรื่องการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.71 และ 4.63 ตามลำดับ) 2.3.2 ความคาดหวังด้านทักษะ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังกับสมรรถนะด้านทักษะในระดับมาก 6 เรื่อง ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.49) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้คือ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยคาดหวังในระดับมากว่า บรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าควรมีทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ของบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้ามีความสำคัญต่อการบริการ อาจเป็นเพราะ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของการบริการผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้รับทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องการ ทั้งทรัพยากรสารนิเทศจากภายในห้องสมุดที่บรรณารักษ์บริการตอบคำถามจะต้องเชี่ยวชาญเป็นอย่างดีในการสืบค้นสารนิเทศที่ให้บริการภายในห้องสมุดนั้นๆรวมทั้งทรัพยากรสารนิเทศจากภายนอกห้องสมุดด้วยในกรณีที่ทรัพยากรสารนิเทศภายในห้องสมุดไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (American Library Association 2010: 19-20) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ คาดหวังกับทักษะในระดับมากที่สุด และมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ในการเข้าถึงสารนิเทศที่มีทั้งภายในและนอกห้องสมุด( = 4.54) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนคาดหวังกับสมรรถนะด้านทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.63 และ 4.20 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโท และ ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.62, 4.45 และ4.60 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ และผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆ มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุดและมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.60 และ 4.26 ตามลำดับ) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาในสาขาอื่นๆมีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ทักษะในการเข้าถึงสารนิเทศที่มีทั้งภายในและนอกห้องสมุด ( = 4.26 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี และมีความคาดหวังต่อทักษะทุกเรื่องในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.25) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 1-5 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ( = 4.55) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 6-10 ปี มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมากที่สุด ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะในการสืบค้นสารนิเทศ ทักษะในการเข้าถึงสารนิเทศที่มีทั้งภายในและนอกห้องสมุด ( = 4.65 เท่ากัน) ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป มีความคาดหวังต่อทักษะในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะในการใช้ทรัพยากรสารนิเทศอ้างอิง ( = 4.44)


ข้อเสนอแนะในการวิจัย

จากกการประเมินความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงสมรรถนะของบรรณารักษ์ดังนี้ ความรู้ โรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ควรเปิดสอนรายวิชาเกี่ยวกับผู้ใช้และความต้องการสารนิเทศ อินเทอร์เน็ตและโปรแกรมค้นหา ส่วนบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้เรื่องแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุดในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศมาให้บริการในห้องสมุด สำหรับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้น และเข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุดได้ และสำหรับบรรณารักษ์บริการตอบคำถามควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ในการสืบค้นสารนิเทศเพื่อบริการผู้ใช้ห้องสมุด เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ใน การศึกษาค้นคว้าและวิจัย อันเป็นวัตถุประสงค์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทักษะ สำหรับโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ควรส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาได้ฝึกฝนให้มีทักษะในการใช้ฐานข้อมูล การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และการใช้โปรแกรมค้นหา สำหรับบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศควรมีทักษะในการเข้าถึงแหล่งสารนิเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด โดยหมั่นสำรวจทรัพยากรสารนิเทศที่มีภายในห้องสมุด หาความร่วมมือกับเครือข่าย หรือตัวแทนจำหน่ายทรัพยากรสารนิเทศเพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งสารนิเทศต่างๆได้ ในเรื่องทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศ บรรณารักษ์ควรสร้างทักษะในการคัดเลือกทรัพยากรสารนิเทศที่ถูกต้องตามนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ และสำรวจคู่มือแนะนำทรัพยากรสารนิเทศต่างๆเพื่อการคัดเลือกทีถี่ถ้วนยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างทักษะในการประเมินทรัพยากรสารนิเทศเพื่อมีการประเมินทรัพยากรสารนิเทศได้ถูกต้องเหมาะสมและเกิดผลประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุด สำหรับบรรณารักษ์งานวิเคราะห์และจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศควรเพิ่มพูนทักษะในการจัดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ทักษะในการให้หัวเรื่อง ฝึกฝนใช้คู่มือต่างๆเช่น คู่มือการให้เลขหมู่ DDC หรือ LC ในการกำหนดเลขหมู่ที่ถูกต้อง หรือการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของ OCLC ในการจัดทำรายการในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ หรือคู่มือต่างๆในการกำหนดหัวเรื่องที่ถูกต้องกับเนื้อหาของทรัพยากรสารนิเทศนั้นๆ ส่วนบรรณารักษ์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าควรเพิ่มพูนทักษะในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการบริการผู้ใช้ให้เข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว คุณลักษณะส่วนบุคคล สำหรับโรงเรียนบรรณารักษ์ ควรส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานบริการในห้องสมุดโดยเน้นให้มีจิตบริการ บรรณารักษ์ทุกตำแหน่งงานควรเป็นผู้มีจิตบริการ คือ มีจิตใจพร้อมที่จะให้บริการ และบริการอย่างเต็มใจ กระตือรือร้นในการให้บริการ แม้บรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานด้านเทคนิคก็ควรคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเสมอว่าเป็นการปฏิบัติงานเพื่อผู้ใช้เช่นเดียวกับการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์งานบริการในการทำให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้รับสิ่งที่ตนเองต้องการ เกิดความพอใจ ประทับใจและต้องการกลับมาใช้บริการอีกในโอกาสต่อไป

แนวทางการวิจัยในอนาคต 1. ศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างสมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดคณะหรือสถาบันกับสมรรถนะของบรรณารักษ์หอสมุดกลางในมหาวิทยาลัย 2. ศึกษาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบรรณารักษ์




'รายการอ้างอิง'

ภาษาไทย

“โมดูล 2 ผู้ใช้และการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ." ใน บรรณารักษ์: คู่มือฝึกอบรมครู, 55-91. กรุงเทพฯ:                      
         โรงพิมพ์แห่ งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  2554.
“โมดูล 3 การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ." ใน บรรณารักษ์: คู่มือฝึกอบรมครู, 92-131 . กรุงเทพฯ: 
         โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

จินดารัตน์ เบอรพันธุ์. การประมวลสารนิเทศสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ

         คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548

ชนิดา จริยาพรพงศ์. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิทยทรัพยากร

         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย . สัมภาษณ์. 22 กุมภาพันธ์ 2556.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. การบริหารความเสี่ยง : Risk management. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท, 2550 ชูชัย สมิทธิไกร. การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร.

         พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

ทักษพร จินตพยุงกุล. พฤติกรรมการแสวงหาสารนิเทศของบรรณารักษ์หอสมุดกลาง

         สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

ธมลวรรณ ขุนไพชิต. "การวิจัยกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของบรรณารักษ์ยุคดิจิทัล" วารสารวิทยบริการ 18, 3

         (กันยายน-มีนาคม 2550): 140-146.

นิสดารก์ เวชยานนท์. Competency model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ: กราฟิโก ซิสเต็มส์, 2550. นฤมล กิจไพศาลรัตนา. “บรรณารักษ์นักการตลาด”. ข่าวสารห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6, 3 (2533): 11-15. ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. การค้นหาและวิเคราะห์เจาะลึก Competency ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์

             ,2549.

วิไลวรรณ รัตนพันธ์. การสนับสนุนของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาวิชาชีพของ

          บรรณารักษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

ศศิวิมล ถาวรกิจ. “บรรณารักษ์และการกล่าวถึงบทบาทใหม่” บรรณสาร มศก.ท.19, 2 (2548): 14-20. ศิริรัตน์ พิริยธนาลัยและ จุฑา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. Competency สมรรถนะ เข้าใจ ใช้เป็น เห็นผล.

           กรุงเทพฯ : ซิกเนเจอร์ โซลูชั่นส์, 2553.

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.ห้องสมุด การศึกษา วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และ

         สารสนเทศศาสตร์ในยุคการเปลี่ยนแปลง.กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 2552.

สายฝน เต่าแก้ว. หัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิทยทรัพยากร

         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 22 กุมภาพันธ์ 2556.

สมร ไพรศรี. บรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า สำนักวิทยทรัพยากร

         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 22 กุมภาพันธ์ 2556.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based

         Learning. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน), 2548.

อาชัญญา รัตนอุบล “การรู้สารสนเทศ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://portal.edu.chula.ac.th/patty

          _travel/blog/view.php?Bid=1244087950349417&msite=patty_travel สืบค้น 19 มกราคม 2556.

อัญมณี ศรีวัชรินท์. สมรรถนะตามสายงานบริการของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

          เอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  
             มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553.

ภาษาอังกฤษ

Ameen, Kanwal “Needed competencies for collection managers and their development:

            : perceptions of university librarians” Library Management 30, (2009): 266-275.

American Library Association. “ALA’s Core Competences of Librarianship.” [Online]. Available:

         http://www.ala.org/ala/educationcareers/careers/corecomp/corecompetences
         /finalcorecompstat09.pdf 2009. Retrieved January 23, 2010.

Baca, Martha. Introduction to Metadata. Los Angeles, CA:The Getty Research Istitute, 2008. Bridges, Karl. Expectations of librarians in the 21st century. Westport, Conn. : Greenwood Press, 2003. Brophy, Peter. The academic library. London : Facet Publishing, 2005. Buttlar, Lois and Garcha, Raginder. “Catalogers in academic libraries: There evolving and

         expanding roles” College and research libraries July (1998): 311-321.

Cassell, Kay Ann and Hiremath ,Uma. Reference and information service in the 21st century

         : An introduction. London : Facet Publishing, 2009.

Marshall, Joanne G. et al. “Competencies for Special Librarians of the 21st Century.”

           [Online]. Available: http://www.sla.org/content/SLA/professional/meaning/competency.cfm.
           Retrieved December 12, 2012.

Gorman, G. E.. Information services in an electronic environment. London : Library Association, 2001. Gregory, Gwen Meyer. The successful academic librarial: winning strategies from library

         leaders . New Jersey: Information Today, 2005.

Gregory, Vicki L. Collection development and management for 21st century: Library collections

         : an introduction. NewYork: Neal – Schuman Publisher, 2011.

Langley Anne, Edward Gray, and Vaughan K.T.L.. The role of the academic librarian. Oxford :

          Chandos Publishing, 2003.

Leong, Julia. “Academic reference librarians prepare for change: an Australian case study”

         Library Management  29, (2008): 77-86. 

Marcia Lei Zeng and Jian Qin. Metadata. London: Faced Publishing, 2008. Matin, Jim and Zaghloul, Raik. “Planning for the acquisition of information resource

           management core competencies” New Library World 112, (2011): 313-320.

Marshall, Joanne G. et al. “Competencies for Special Librarians of the 21st Century.”

           [Online]. Available: http://www.sla.org/content/SLA/professional/meaning/competency.cfm.
           Retrieved December 12, 2012.

Northouse , Peter Guy. Leadership : theory and practice. Thousand Oaks : SAGE, 2013. Peter Jacso, "Google Scholar: the pros and the cons", Online Information Review 29, 2 (2005): 208 – 214. Piyasuda tanloet and Kulthoda Tuamsuk. “Core competencies for infoemation professionals of Thai

           academic libraries in the next decade (A.D. 2010-2019).”  The International Information and
         Library Review 43, 4 (2011):122-129.

Sanchez, Elaine R. Conversations with catalogers in 21st century. Santa Barbara: Libraries

            Unlimited, 2011.

Shermon, Ganesh. Competency Based HRM: A Strategic Resource for CompetencyMapping, Assessment

          and Development Centres. New Delhi: McGraw-Hill, 2004.

Thompson, Susan M. Core technology competencies for librarians and library staff

          : A Lita guide. NewYork: Neal – Schuman Publisher, 2009.

Verzosa,Fe Angela M. The future of library cooperation in Southeast Asia [PDF file]. 2004

         [Online].  Available: http://eprints.rclis.org/11221/1/The_future_of_library_cooperation_
          in_Southeast_Asia.pdf Retrived March 2, 2012.
เครื่องมือส่วนตัว