การจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 08:10, 15 มกราคม 2558 โดย Msupawa1 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆผู้ป่วยเบาหวาน แต่ละคนมีการดำเนินการของโรค แตกต่างกัน และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน องค์การอนามัยโลก (WHO) [1] รายงานว่าภาวะน้ำตาลในในเลือดสูง (Hyperglycemia) ที่ไม่ได้รับการควบคุมจะทำลาย ระบบต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท และระบบหลอดเลือด ส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ สอดคล้องกับ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ที่กล่าวว่าการที่ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดบน้ำตาลได้ และลดระดับน้ำตางในเลือดที่เกาะในเม็ดเลือด (HbA1c) ทุก 1% จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้ถึง 40% ซึ่งความสำคัญอยู่ที่การจัดการในการดูแลตนเอง การจัดการในการดูแลตนเอง CDC [2] ได้กล่าว่า มีกลยุทธ์ 3 อย่างที่ใช้ควบคุมระดับน้ำตางในเลือด คือ 1 การรับประทานอาหารที่แคลอรี่ต่ำ 2 การเพิ่มการออกกำลังกาย 3 การใช้เทคนิคในการลดความเครียด ซึ่งพบว่าผู้ปวยหลายคนทำแล้วประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับ ได้ใช้วิธีการที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวยังไม่มีการศึกษา ดังนั้น ผุสดี สระทอง (3,4)ได้ศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ จัดการตนเอง มาไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีผลระดับน้ำตาล ในเลือด HbA1c≤7อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 18 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2554 - 6 ธันวาคม 2554 โดยใช้ระยะเวลาในการสัมภาษณ์เฉลี่ย 30 นาที ต่อคน การสัมภาษณ์ เชิงลึก ทำให้เข้าถึงข้อมูล ได้หลากหลาย การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ประกอบด้วย 7 ประเด็น คือ (1) การเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน อาหารจากที่เคยรับประทานมากให้ลดน้อยลง (2) การเพิ่มการออกกำลังกาย (3) การเผชิญความ เครียด (4) การพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง (5) การรับประทานยาสม่ำเสมอ (6) การควบคุม ตนเองและ (7) สิ่งสนับสนุนจากครอบครัวและสภาพแวดล้อมซึ่งประเด็นหลัก ที่ผู้ให้ข้อมูลทุกคน เริ่มจัดการตนเองก่อน คือการจำกัดอาหารทั้งด้านปริมาณและชนิด จากนั้นจะเริ่มมีการออก กำลังกายมากขึ้น ด้วยวิธีการต่างๆตามที่มีประสบการณ์เริ่มดูแลจิตใจตนเอง ไม่ให้เครียดจน เกินไป ส่วนการมาพบแพทย์ตามนัดและการรับประทานยาที่ได้รับมา ผู้ให้ข้อมูลทุกคนปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเชื่อว่าต้องทำตามที่บุคคลากรทางการแพทย์แนะนำ เพื่อที่จะไม่มี ภาวะแทรกซ้อน ข้อเสนอแนะ ทีมดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นรายบุคคล เพื่อทราบถึงความต้องการของผู้ป่วยเพื่อนำไปสู่การจัดการตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสมกับ ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละราย 1 World Health Oganization [WHO]. Data and statistics; 2012[cited 2012 April 21].Available from: http://www.who.int/mediacentre.

2 Centers for Disease Control and Prevention[CDC]. Vital signs: prevalence, treatment, and control of hypertension United States, 1999-2002 and 2005-2008. MMWR. 2011;60(4): 103-108. 3 ผุสดี สระทอง. การจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วท.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556. 4 Srathong P, Aumtanee A, Navecharean R. Exploring self-management of patients with diabetes mellitus for effectively controlling blood sugar. journal of Health Research. 2015;29.

เครื่องมือส่วนตัว