การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมโดยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบ

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 02:13, 21 มกราคม 2558 โดย Msupawa1 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเป็นรูปแบบของสินค้าที่ผลิตโดยชุมชนต่างๆทั่วประเทศเป็นมาอย่างยาวนานและได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจรวมถึงสะท้อนวัฒนธรรมที่ดีที่สืบต่อกันมา แต่ด้วยวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้สินค้าเหล่านั้นเปลี่ยนไป การใช้งานสินค้าหัตถกรรมก็ลดลงไป หรือเปลี่ยนจากของที่ใช้งานประจำในแต่ละวันเป็นสินค้าที่ใช้ในการตกแต่งหรือเป็นของขวัญไป ทำให้การผลิตสินค้าหัตถกรรมเกิดความถดถอยลงไป ซึ่งในอนาคต งานหัตถกรรมทั้งหลายอาจจะสูญหายไปจากสังคมก็เป็นได้

ในการพยายามช่วยเหลือผู้ผลิตหัตถกรรมในการเพื่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ได้มีงานศึกษาในหลายแนวทางดังเช่นการสร้างโครงการ OTOP และการส่งเสริมการตลาดอื่นๆ แต่การส่งเสริมการออกแบบโดยผู้ผลิตหัตถกรรมยังเน้นการสร้างงานในเชิงงานฝีมือ แต่มีจำนวนน้อยที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ดึงดูดลูกค้าที่อยู่ในเมืองและไม่ได้ใช้งานสินค้าดังที่ผู้ผลิตหัตถกรรมได้เข้าใจ

ความเข้าใจในการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญและจึงเป็นที่มาของแนวคิดนวัตกรรมในการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม โดยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการออกแบบตั้งแต่การสร้างโจทย์ของงานออกแบบให้แก่ผู้ผลิตหัตถกรรม สามารถทำให้ผู้ผลิตหัตถกรรมได้แนวคิดใหม่ๆสำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามที่ตลาดและลูกค้ามีความต้องการ ซึ่งผลที่ได้นั่น คือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างขึ้นจากทักษะฝีมือของผู้ผลิต โดยใช้วัสดุที่มีในชุมชนหรือท้องถิ่น ผลิตเป็นผลงานซึ่งสามารถขายได้ทันทีโดยมีลูกค้าที่ร่วมการออกแบบเป็นผู้ซื้อและนำสินค้าไปกระจายต่อด้วยความภูมิใจที่ตนเองเป็นผู้ร่วมออกแบบ ช่วยสร้างโอกาสทางการขายได้อีกทางหนึ่ง รวมถึงการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารระหว่างลูกค้ากับผู้ผลิตหัตถกรรมในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็เป็นส่วนช่วยในการระดมความคิด ทั้งนี้อินเตอร์เน็ตช่วยทำให้ลูกค้าและผุ้ผลิตไม่จำเป็นจะต้องเจอกันตลอดเวลาในการทำการออกแบบ

แต่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ย่อมมีโอกาสล้มเหลวเสมอ แต่การออกแบบอย่างมีส่วนร่วมจากลูกค้าช่วยลดความเสี่ยงจากการที่คนที่มีความต้องการสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้ามาร่วมพัฒนาสินค้าใหม่และได้สิ่งที่ต้องการออกไป ซึ่งผู้ผลิตก็สามารถทดลองสร้างสินค้าต้นแบบจำนวนน้อยมาทดลองตลาดเสียก่อน ซึ่งเป็นข้อดีของงานหัตถกรรมที่สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ง่ายและถูก และหากสินค้าต้นแบบที่ผลิตออกมาขายไม่ได้ก็ไม่ได้ทำให้ขาดทุนหรือเสียเงินแต่อย่างใด และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิตหัตถกรรมคือการจะต้องศึกษา เรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้ได้มากที่สุด เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจลูกค้าต่อไป

เครื่องมือส่วนตัว