ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อก

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 08:16, 7 เมษายน 2558 โดย 53738755 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อก ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อก (Serine proteinase homologues; SPHs) คือโปรตีนที่มีโครงสร้างคล้ายเอนไซม์คลิปโดเมนซีรีนโปรติเนส ซึ่งประกอบด้วยโดเมนที่มีลักษณะคล้ายลวดหนีบกระดาษ (CLIP-domain) และส่วนซีรีนโปรติเนสโดเมน ซึ่งกรดอะมิโนซีรีนในส่วนแอคทีฟไซต์ของซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกนั้นถูกแทนที่ด้วยกรดอะมิโนไกลซีน ส่งผลให้ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกขาดความสามารถในการเป็นเอนไซม์

ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งกุลาดำ การกระตุ้นระบบโพรฟีนอลออกซิเดส การสังเคราะห์เมลานินเป็นกลไกการป้องกันตัวหลักที่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ในสัตว์กลุ่มครัสเตเชียน อาทิ กุ้ง กั้ง หรือปู และในแมลง ซึ่งสัตว์เหล่านี้ใช้ระบบดังกล่าวในการตอบสนองต่อเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา เป็นต้น การสังเคราะห์เมลานินเป็นผลจากการกระตุ้นระบบโพรฟีนอลออกซิเดส (Prophenoloxidase; proPO) ซึ่งใช้การกระตุ้นเป็นลำดับโดยเริ่มจากโปรตีนที่สามารถจดจำลักษณะเฉพาะของเชื้อจุลชีพ จนถึงการกระตุ้นเอนไซม์หลายชนิดอย่างเป็นลำดับขั้น สำหรับกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) มีเอนไซม์ที่สำคัญได้แก่ เอนไซม์โพรฟีนอลออกซิเดส (PmproPO1 และ PmproPO2) และเอนไซม์กระตุ้นโพรฟีนอลออกซิเดส (PmPPAE1 และ PmPPAE2)[1], [2], [3], [4]

นอกเหนือจากเอนไซม์เอนไซม์โพรฟีนอลออกซิเดสและเอนไซม์กระตุ้นโพรฟีนอลออกซิเดส การกระตุ้นระบบโพรฟีนอลออกซิเดสในกุ้งกุลาดำยังมีโปรตีนซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อก (PmMasSPH1 และ PmMasSPH2) เป็นส่วนสำคัญในการทำงานของระบบอีกด้วย ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกเป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับเอนไซม์กระตุ้นโพรฟีนอลออกซิเดส และมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดส ซึ่งการขาดซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสลดลง ส่งผลให้การสังเคราะห์เมลานินในระบบลดลง โดยกลไกการทำงานของซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกอาจเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจับระหว่างซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกกับเอนไซม์กระตุ้นโพรฟีนอลออกซิเดส [5]

การจดจำและจับยึดผนังเซลล์แบคทีเรีย ซีรีนโปรติเนสฮอมอล็อกทั้งสองชนิดจากกุ้งกุลาดำ (PmMasSPH1 และ PmMasSPH2) มีความสามารถในการจับผนังเซลล์แบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบได้


อ้างอิง

  1. Prophenoloxidase system and its role in shrimp immune responses against major pathogens.
  2. Two prophenoloxidases are important for the survival of Vibrio harveyi challenged shrimp Penaeus monodon.
  3. Gene silencing of a prophenoloxidase activating enzyme in the shrimp, Penaeus monodon, increases susceptibility to Vibrio harveyi infection.
  4. PmPPAE2, a new class of crustacean prophenoloxidase (proPO)-activating enzyme and its role in PO activation.
  5. Shrimp Serine Proteinase Homologues PmMasSPH-1 and -2 Play a Role in the Activation of the Prophenoloxidase System.
เครื่องมือส่วนตัว