การสะท้อนคิดด้วยวีดิทัศน์
จาก ChulaPedia
การสะท้อนคิดโดยใช้วีดิทัศน์ (Video reflection) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการสะท้อนคิดต่อผลงาน ที่นำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอเรื่องราวของตนเอง หรือการแสดงความคิดเห็นในด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวของผู้เรียนเอง และยังเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้เรียนผ่านวีดิทัศน์ที่ผู้เรียนจัดทำขึ้นเอง โดยมีการผลิตและถ่ายทำวีดิทัศน์ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการบันทึกวิดีโอ เช่น กล้องวิดีโอ[1] [กล้องดิจิทัล][2] กล้องโทรศัพท์มือถือ[3] เป็นต้น ซึ่งวีดิทัศน์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกนำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการเผยแพร่วิดีโอโดยตรง ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของยูทูป ซึ่งเป็นเว็บไซต์ชื่อดัง ในรูปแบบของเว็บ 2.0 มีหลักการทำงานของเว็บไซต์ในการแสดงผลวิดีโอผ่านทางในลักษณะ อะโดบี แฟลช ซึ่งเนื้อหามีหลากหลาย และผู้ใช้สามารถนำวิดีโอไปใส่ไว้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ ผ่านทางคำสั่งที่กำหนดให้ของยูทูบ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[4] การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอตนเองผ่านวิดีทัศน์ ที่เรียกว่า “ดิจิทัลวีดิทัศน์ (Digital Video)” เพื่อเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมการสะท้อนคิดในลักษณะของการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านชิ้นงาน มีส่วนช่วยในกระบวนการของการสะท้อนคิดด้วยตนเอง (Self-reflection) ให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนการถ่ายทอดเรื่องราวของตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนได้สะท้อนประสบการณ์ ความคิดเห็น ผ่านการแสดงออกเพื่อช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ด้าน การพูด การกล้าแสดงออก การคิดอย่างวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดผ่านการผลิตสื่อดิจิทัลต่าง ๆ กระบวนการพัฒนาทักษะการคิดสะท้อน (Reflective Skills) จะถูกพัฒนาและฝึกให้ผู้เรียนสามารถจัดทำและสร้างสรรค์ผลงาน โดยนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ด้วยวิธีการวัดผลตามสภาพที่เป็นจริง โดยมีการสังเกตผลงานของผู้เรียนแต่ละคน ว่าได้มีการใช้ทักษะบูรณาการความรู้ และสาธิตโดยการแสดงค่านิยมและทัศนคติ ผ่านการแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความคิดเห็นจากการทำผลงานของตนเองผ่านสื่อวีดิทัศน์ที่ผู้เรียนได้จัดทำขึ้น
อ้างอิงผิดพลาด:
<ref>
tags exist, but no <references/>
tag was found