การให้ตัวชี้นำทางการมองเห็นและวาจาต่อการควบคุมลำตัวขณะนั่งโน้มตัวในเด็กสมองพิการ
จาก ChulaPedia
เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) เป็นกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวและการทรงท่า ซึ่งมีพยาธิสภาพอยู่ที่สมอง ปัญหาหนึ่งที่สำคัญและพบได้บ่อยของเด็กกลุ่มนี้ คือ ความบกพร่องในการควบคุมลำตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหว หรือการทำกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การนั่ง การยืน หรือการเดิน เป็นต้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก การให้ตัวชี้นำทางการมองเห็น (การมองไปยังเป้าหมายที่กำหนด) หรือตัวชี้นำทางวาจา (การบอกเป้าหมายด้วยการพูด) เพียงอย่างเดียว และการให้ตัวชี้นำร่วมทางการมองเห็นและวาจา สามารถเพิ่มความสามารถในการควบคุมลำตัวขณะนั่งโน้มตัวในเด็กสมองพิการได้ โดยการให้ตัวชี้นำร่วมทางการมองเห็นและวาจาสามารถเพิ่มพื้นที่หรือขอบเขตความมั่นคงในการเคลื่อนไหวของลำตัว และเพิ่มระยะทางการเคลื่อนที่ของลำตัวในทิศทางด้านหน้า ด้านหลัง และด้านซ้ายในเด็กสมองพิการได้ แต่ถ้าให้ตัวชี้นำทางการมองเห็น หรือทางวาจาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเพิ่มขอบเขตความมั่นคง และเพิ่มระยะทางการเคลื่อนที่ของลำตัวเฉพาะทิศทางด้านหน้าเท่านั้น โดยสรุปการใช้ตัวชี้นำร่วมทางการมองเห็นและวาจามีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ตัวชี้นำอย่างใดอย่างหนึ่งในการเพิ่มความสามารถในการควบคุมลำตัวในเด็กสมองพิการ