ผลของการให้อาหารที่มีค่าความต่างของไออนบวกและไออนลบสูง
จาก ChulaPedia
การปรับปรุง เมื่อ 04:15, 15 พฤศจิกายน 2560 โดย Psumpun (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของให้สารเสริม Dietary Cation and Anion Difference (DCAD) ในปริมาณสูงในอาหารต่อการสร้างน้ำนม ในมุมมองที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ การตอบสนองทางสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงระหว่างวันของการกินอาหาร และรูปแบบของมื้ออาหาร การทำงานของกระเพาะหมักร่วมกับการย่อยได้ของสารอาหาร และ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย ในแพะนม ที่เลี้ยงภายใต้สภาวะอากาศร้อนชื้น (High ambient temperature, HTa) ผู้วิจัยเลือกใช้ แพะนมพันธุ์ผสม ตั้งท้องใกล้คลอด จำนวน 10 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว สัตว์ทั้งสองกลุ่มจะได้รับอาหารสองสูตรที่แตกต่างกัน ดังนี้ คือ อาหารควบคุม หรือ Control DCAD (Control, 22.8 mEq/100g DM) และอาหารที่มีปริมาณ DCAD สูง หรือ High DCAD (DCAD, 39.1 mEq/100g DM) แต่อาหารทั้งสองสูตรมี วัตถุดิบและสัดสัดส่วนของอาหารข้นต่ออาหารหยาบเหมือนกัน คือ ข้าวโพดหมัก (Corn silage) 44% และ อาหารข้น (Concentrate) 56% รูปแบบการให้อาหารของแพะตั้งแต่สัปดาห์ 2 ถึง 8 สัปดาห์หลังคลอด จะให้อาหารแบบเต็มที่ (Ad libitum) สองครั้งต่อวันและมีน้ำให้รับประทานได้ตลอดเวลา การทดลองนี้ทำการทดลองภายสภาวะร้อนชื้น (Average THI = 85.2 ) ดังนั้นจึงบ่งชี้ได้ว่าสัตว์ทดลองหรือแพะดังกล่าวถูกเลี้ยงภายใต้สภาวะร้อนชื้น(HTa) และมีความเครียดจากความร้อน ( Heat stress ) ผลการศึกษาอุณหภูมิกายที่วัดทางทวารหนัก (Rectal temperature, Tr) และ อัตราการหายใจ( Respiration rate, RR) ไม่มีความแตกต่างกันในสัตว์สองกลุ่มที่ได้รับอาหารต่างกัน แต่เป็นที่น่าสนใจว่า อุณหภูมิกายในกลุ่มที่ได้รับอาหาร DCAD มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกาย(Tr) น้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหาร Control ในช่วงเวลา 9.00 และ 13.00 นาฬิกา และยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของ การกินอาหาร และรูปแบบของมื้ออาหารในกลุ่ม DCAD เมื่อเทียบกับกลุ่ม Control อีกทั้ง ปริมาณ “วัตถุแห้งที่กินต่อน้ำหนักตัว (dry matter intake /body weight, DMI/BW) ” ในกลุ่มที่ให้อาหาร DCAD ยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตลอดช่วงการทดลอง และสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในสัปดาห์ที่ 8 หลังคลอด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยกลับไม่พบความแตกต่างของปริมาณและองค์ประกอบน้ำนมในทั้งสองกลุ่ม หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเพิ่มขึ้นของ ปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้มีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขนาด และระยะเวลาของมื้ออาหาร หรือ มีสาเหตุจากประสิทธิการหมักของกระเพาะและความสามารถในการย่อยที่ดีขึ้น มากกว่า การมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับ ฮอร์โมนเลปติน (Leptin hormone) ในกระแสเลือด ผลศึกษาระดับอิเล็กโทรไลต์และสมดุลของน้ำในร่างกายสัตว์ที่ได้รับอาหารต่างกันบ่งชี้ว่า ระดับของ โพแทสเซียมไอออน คลอไรด์ไอออน และ ค่าออสโมลาริติ ในกระแสเลือด ช่วงเวลา 9.00 และ 16.00 นาฬิกา ไม่ถูกกระทบจาก ปริมาณ DCAD ที่เพิ่มขึ้นใน แต่กลับบ่งชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของ DCAD เป็นเหตุให้ระดับ โซเดียมไอออน และความแตกต่างระหว่างประจุบวกและลบ ( CAD ) เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลา 16.00 นาฬิกา แพะนมในกลุ่ม DCAD ดื่มน้ำในปริมาณมากกว่าแต่กลับไม่พบความแตกต่างของปริมาณปัสสาวะ และ ระดับ ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic hormone, ADH) ในกระแสเลือดซึ่งเป็นเหตุให้ร่างมีดุลย์น้ำเพิ่มสูงขึ้นของกลุ่ม DCAD ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง หรือ อาจกล่าวได้ว่า DCAD ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณพลาสม่าและปริมาณน้ำเลือด แต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณน้ำนอกเซลซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำทั้งหมดในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จากผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แพะนมที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณ DCAD สูงมีแนวโน้มที่จะมี ปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้ต่อน้ำหนักตัว เพิ่มขึ้น เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของขนาดมื้ออาหาร ระยะเวลามื้ออาหาร ระดับความเป็นกรดด่างของกะเพราะที่เหมาะสม การหมักและการสังเคราะโปรตีนจากจุลชีพ แต่การเพิ่มขึ้นไม่มีความสัมพันธ์กับการทำงานของฮอร์โมนเลปติน อีกทั้งปริมาณ DCAD ที่เพิ่มขึ้นยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกายและเพิ่มความสมดุลของน้ำในร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น ผลการศึกษาดังกล่าวมีส่วนช่วยกระบวนการปรัปตัวเพื่อที่จะระบายความร้อน และช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิกาย(Tr) ภายใต้สภาวะร้อนชื้น(HTa)