ตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินผลการใช้ Social Media

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 09:46, 11 กุมภาพันธ์ 2554 โดย Oworawan (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

1. ตัวชี้วัดปริมาณ คือ การกำหนดชนิด และจำนวนของผลผลิตที่จะได้รับในจากการดำเนินงานนั้นๆ เสร็จสิ้น ได้แก่

จำนวนลิงค์ที่เกี่ยวกับสินค้า หรืองค์กรที่ปรากฏในเสิร์ชเอ็นจินดังๆ เช่น Google จำนวนเว็บไซต์ Social Network ที่มีกลุ่มเป้าหมายเข้าไปใช้บริการ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าสู่ Social Network ขององค์กร จำนวนข้อความที่เข้ามาโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้า จำนวนความถี่ (โดยเฉลี่ย) ที่กลุ่มเป้าหมายมักเข้ามาโพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ จำนวนพื้นที่ที่ปรากฏเป็นข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าขององค์กร จำนวนเงินที่ใช้ในการลงทุนทำระบบดูแลสื่อ Social Media จำนวนการสั่งซื้อสินค้า จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สินค้านั้นๆจัดขึ้น

2.ตัวชี้วัดคุณภาพ คือ คุณค่าของผลผลิตที่ได้รับจากการดำเนินงานนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอยู่ในรูปของนามธรรม ซึ่งองค์กรผู้ผลิตสินค้าต่างมีความคาดหวังให้เกิดคุณค่า “เชิงบวก” ได้แก่ ความสัมพันธ์ ความผูกพัน และการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรกับผู้บริโภค ภาพลักษณ์สินค้า และ/หรือภาพลักษณ์ขององค์กร ลักษณะการแสดงความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสินค้าผ่านการโพสต์ข้อความ ระดับความพึงพอใจที่คนในสังคมออนไลน์มีต่อสินค้า การเกิดกระแสปากต่อปาก (WOM) ในโลกไซเบอร์ เกี่ยวกับสินค้า

เขียนโดย ผศ.ดร.วรวรรณ องค์ครุฑรักษา

เครื่องมือส่วนตัว