ละครประยุกต์

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 03:34, 21 มีนาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ละครประยุกต์ Applied Theatre

“ละครประยุกต์” เป็นคำใหม่ และกลายเป็นร่มใหญ่ที่ครอบคลุมลักษณะ ของการละครนอกกรอบ หรือละครที่ไม่เป็นตามแบบฉบับ (convention) คำว่า ละครประยุกต์ ให้ความรู้สึกถึงความไม่เข้มข้น ไม่ขลัง ไม่แข็งแรง ไม่เหมือน คำว่า “ ศิลปะการละคร” เฉยๆ ซึ่งดูว่าบริสุทธิ์ และมีคุณค่า ทั้งๆที่ในความจริงแล้ว การนำศิลปะ หรือ การละครไปประยุกต์ใช้นั้น ทำให้ละครกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่มีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรม เพื่อผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำเกม กิจกรรมละครเหล่านี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความเข้าใจวิธีคิด และเรียนรู้การได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น ละครประยุกต์นำละคร ไปสู่คนธรรมดา ละครประยุกต์ เป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้เรียก การทำงานละครหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานละคร และกระบวนการละครที่ล้วนนำพาให้ ผู้แสดง ผู้ที่มีส่วนร่วม และผู้ชม ได้มีประสบการณ์นอกเหนือไปจาก การรับชม (viewing)ละครตามแบบฉบับ(conventional) การแสดงได้รับการสนใจและเกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากคนธรรมดาอีกทั้งยังนำเสนอเรื่องราวของคนเหล่านี้ โดยใช้สถานที่จริง และมีพื้นที่การแสดงที่ไม่ใช่ โรงละคร อาจจะเกิดที่ไหนก็ได้ ในชุมชน โรงเรียน กลางวัน ข้างถนน ในคุก ศาลาวัด ที่ไหนก็ตามแต่ที่มีผู้ชม กลุ่มคน ให้ความสนใจ ละครประยุกต์จะได้รับการตอบรับอย่างดีในบริบทสังคมที่งานชิ้นนั้น มีการสร้างขึ้น และแสดง สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ทั้งผู้แสดง และผู้ชม ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยทางอ้อม คำว่า โรงเรียน (School drama/theatre) โรงพยาบาล และในชุมชน ในคุก หรือพื้นที่ที่มีการเก็บกดทางความคิดและสังคม”(theatre of the oppressed) ละครจึงนำไปปรับใช้กับการทำ “ละครบำบัด” (Drama Thearapy) หรือใช้เป็นกระบวนการในการทำกิจกรรมเพื่อผู้คนหลากหลาย สามารถไปประยุกต์ใช้กับสาขาวิชาอื่น เช่น ศิลปะแขนงอื่น ศิลปะแบบพื้นบ้านพื้นถิ่น การศึกษา วัฒนธรรม จุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้ พัฒนาการของผู้คนที่ร่วมกิจกรรม หรือผู้ชม นำสู่การเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม


อาจารย์ผู้ดูแลบทความ อ.พรรัตน์ (ศิลปะการละคร)

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว