นาโนอิมัลชัน

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:19, 22 มีนาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

นาโนอิมัลชัน ผลิตภัณฑ์กันยุงจากสารสกัดสมุนไพร

ยุงนับเป็นพาหะสำคัญของการเกิดโรค ติดเชื้อต่าง ๆ อาทิเช่น มาลาเรีย ไข้เลือดออก เท้าช้าง ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจาก โรคติดเชื้อเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น “ยุง” จึงนับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ของประชากรโลกโดยเฉพาะประชากรในประเทศเขตร้อน เนื่องจากมีสภาพอากาศ เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ โดยวิธีป้องกันไม่ให้ ยุงกัดที่ได้รับความนิยมคือ การใช้ผลิตภัณฑ์ กันยุงที่ประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ไล่ยุง ผลิตภัณฑ์กันยุงในปัจจุบันนิยมใช้สาร เคมีที่มีฤทธิ์ไล่ยุงเป็นส่วนประกอบ ซึ่ง หากใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็น เวลานานอาจทำให้เกิดการระคายเคือง ต่อผิวหนังและตา อาการทางสมอง ชัก และเสียชีวิตได้ ดังนั้นการใช้สารที่มีฤทธิ์ ไล่ยุงจากสารสกัดสมุนไพรแทนการใช้ สารเคมีในผลิตภัณฑ์กันยุง


ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชันที่บรรจุน้ำมัน จากสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุง 3 ชนิด คือ น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันแมงลัก และ น้ำมันหญ้าแฝก ต้นแบบผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชันที่พัฒนาได้มีขนาดของอนุภาคนาโนอิมัลชันอยู่ในช่วง 140-160 นาโนเมตรและมีฤทธิ์ ป้องกันยุงได้นานสูงสุดถึง 4.7 ชั่วโมง ซึ่งมีระยะเวลาออกฤทธิ์นานกว่าต้นแบบผลิตภัณฑ์กันยุงชนิดอิมัลชัน และจาก การศึกษาความคงตัวในด้านขนาดและ ประจุไฟฟ้าของอนุภาคอิมัลชันหลังเก็บไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่า ต้นแบบ ผลิตภัณฑ์กันยุงชนิดอิมัลชันมีการเปลี่ยนแปลงของขนาดและประจุไฟฟ้าของอนุภาค อิมัลชันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ต้นแบบ ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชันไม่มีการ เปลี่ยนแปลงของขนาดและประจุไฟฟ้า ของอนุภาคอิมัลชัน ซึ่งแสดงถึงความ เสถียรและความคงตัวที่ดีของสูตรผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาได้


จุดเด่นอีกหนึ่งประการที่สำคัญของ ผลิตภัณฑ์กันยุงนาโนอิมัลชันที่พัฒนาได้คือ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ อิมัลชันได้ กล่าวคือ สามารถเพิ่มความ เสถียรและควบคุมการปลดปล่อยของน้ำมันจากสารสกัดสมุนไพรได้อีกด้วย ดังนั้น จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการผลิต ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอิมัลชัน ซึ่งมีวิธีการ เตรียมที่ง่าย เลือกน้ำมันเป็นองค์ประกอบ ที่มีราคาเหมาะสมได้ และสามารถถ่ายทอด เทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ดี

งานวิจัยนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อการประดิษฐ์ “นาโนอิมัลชันสำหรับไล่ยุงที่มีสารสมุนไพร ชนิดน้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันแมงลัก และน้ำมันหญ้าแฝก” เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 เลขที่คำขอ 0801003857


อาจารย์ผู้ดูแลบทความ อ. ดร.อภินันท์ สุทธิธารธวัช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว