บุปผาแห่งอาเซียน
จาก ChulaPedia
บุปผาแห่งอาเซียน Flowers of ASEAN
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ดอก Simpor (Dillenia suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานออกคล้ายกับร่ม รูปดอก Simpor พบได้ในธนบัตรราคา 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านศิลปะการออกแบบงานฝีมือพื้นเมือง ดอก Simpor พบทั่วไปตามแม่น้ำของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม โดยเฉพาะแม่น้ำ Tem-burong และยังพบตามบึง หรือบริเวณที่มีทรายสีขาว ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ชนิดนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ในการรักษาบาดแผล
เวียดนาม (Viet Nam)
ดอก Lotus หรือ ดอกบัว เป็นดอกไม้ที่ชาวเวียดนามถือว่าเป็น 1 ใน 4 ของพันธุ์ไม้ที่มีความสง่างาม ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นสน ต้นไผ่ และต้นเบญจมาศ ดอกบัวเป็นที่รู้จักในนาม “ดอกไม้แห่ง รุ่งอรุณ” พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำของประเทศเวียดนาม สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ความสง่างามของดอกบัวมักถูกกล่าวถึงในบทกลอน และเพลงพื้นเมืองของประเทศเวียดนาม
กัมพูชา (Cambodia)
ดอก Rumdul หรือ ดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมในเวลาค่ำ เนื่องจากกลิ่นหอมนี้เองทำให้ในอดีตมักเปรียบดอกลำดวนกับผู้หญิงเขมร ต้นลำดวนมีความสูง 8-12 เมตร พบได้ทั่วไปในประเทศกัมพูชา และนิยมปลูกในสวนสาธารณะ
อินโดนีเซีย (Indonesia)
ดอก Moon Orchid หรือ กล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ Phalaenopsis amabilis ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย โดยดอกไม้ประจำชาติที่เหลือ คือ ดอก Jasmin-num sambac และดอก Rafflesia arnoldii ดอก Moon Orchid เป็นหนึ่งในบรรดาดอกกล้วยไม้ที่บานนานที่สุด โดยช่อดอกสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นานถึง 2-6 เดือน โดยปกติดอก Moon Orchid จะบาน 2-3 ครั้งต่อปี ก่อนจะโตเต็มที่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงมักพบทั่วไปในที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
ไทย (Thailand)
ต้น Ratchaphruek หรือ ต้นราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีปรองดองของคนไทย ดอกราชพฤกษ์จะเริ่มบานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ขณะผลิบานต้นจะทิ้งใบเหลือเพียงดอกสีเหลืองอร่าม ดอกราชพฤกษ์เป็นที่รู้จักทั่วไปในประเทศไทย และปลูกอย่างแพร่หลายตามแนวถนน
ลาว (Laos)
ดอก Champa หรือ ดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว มีกลิ่นหอม และมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ ดอก Champa เป็นตัวแทนของความจริงใจ และความสุขในชีวิต จึงนิยมใช้ประดับในพิธีต่างๆ หรือทำเป็นพวงมาลัยเพื่อต้อนรับแขก ดอก Champa บานทุกวัน และอยู่ได้นาน จึงมักปลูกอย่างแพร่หลาย และเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในบริเวณวัด
มาเลเซีย (Malaysia)
ดอก Bunga raya หรือ ดอกพู่ระหง เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย กลีบดอก 5 กลีบของดอก Bunga raya เป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ ดอก Bunga raya พบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย และบางส่วนของต้นสามารถนำมาฝช้ประโบชน์ทางการแพทย์ และความงามได้อีกด้วย
พม่า (Myanmar)
ดอก Paduak หรือ ดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทองและส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับการเฉลิมฉลองปีใหม่ของประเทศพม่า เมื่อผลิดอก ต้นของดอก Paduak จะเป็นสีทองตลอดทั้งคืน ชาวพม่าจึงถือว่าต้น Paduak เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรง และความทนทาน ดอกไม้ชนิดนี้ยังหมายถึงวัยหนุ่มสาว และความรัก ดอก Paduak เป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในงานประเพณีแบะพิธีทางศาสนา จึงพบมากในประเทศพม่า นอกจากนี้ ลำต้นยังสมารถนำไปทำเครื่องเรือนได้อีกด้วย
ฟิลิปปินส์ (The Philippines)
ดอก Sampaguita Jasmine เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 1934 ดอก Sampaguita มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดทั้งปี โดยจะแย้มดอกในตอนกลางคืนและส่งกลิ่นหอมประมาณหนึ่งวัน สำหรับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเข้มแข็ง การผลิบานของดอก Sampaguita ถูกนำมาเฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่าและบทเพลงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีความเชื่อว่าดอกไม้ชนิดนี้มีที่มาจากแถบ Himalaya ในศตวรรษที่ 17
สิงคโปร์ (Singapore)
ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมาที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ ด้วยสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม อีกทั้งบานตลอดปี ทำให้ดอกไม้ชนิดนี้ถูกยกสถานะให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 1981 Vanda Miss Joaquim พบได้ทั่วไปในประเทศสิงคโปร์
ข้อมูลและภาพจากหนังสือ บันทึกการเดินทางอาเซียน โดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ