ปรัชญาขงจื่อ

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 09:21, 22 มีนาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ปรัชญาขงจื่อเกี่ยวกับท่าทีในการเรียนรู้

ขงจื่อกล่าวว่า: “จ้งโหยว ข้าสอนเจ้า เจ้าเข้าใจแล้วใช่ไหม เข้าใจคือเข้าใจ ไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจ นั่นนับเป็นความฉลาด” คำพูดของขงจื่อประโยคนี้สอนว่าในการเรียนรู้ เราควรจะมีความเปิดเผยตรงไปตรงมา หากไม่เข้าใจสิ่งใดก็ไม่ควรจะแสร้งทำเป็นเข้าใจ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรจะโอ้อวดความรู้ความสามารถของตนเอง


ขงจื่อกล่าวว่า: “เมื่อได้พบบุคคลที่มีคุณธรรมสูงส่งอีกทั้งยังมีสติปัญญาความสามารถก็ควรจะเรียนรู้จากคนเขา ในทางกลับกัน หากได้พบบุคคลที่โง่เขลาเบาปัญญาอีกทั้งยังเป็นคนที่ไร้ซึ่งคุณธรรมแล้วก็ควรตรวจสอบการกระทำของตนเองว่ามีจุดบกพร่องเหมือนคนผู้นั้นหรือไม่”คำพูดของขงจื่อประโยคนี้สอนว่าให้รู้จักนอบน้อมถ่อมตนและเตือนว่าเราควรจะเรียนรู้จากบุคคลที่ดีกว่าเรา ขณะเดียวกันก็ควรทบทวนและตรวจสอบการกระทำของตนอย่างสม่ำเสมอว่ามีจุดบกพร่องประการใดหรือไม่


ขงจื่อกล่าวว่า: “หากมีคนกลุ่มหนึ่งเดินมาด้วยกัน ในนั้นอย่างน้อยต้องมีหนึ่งคนเป็นครูของเราอย่างแน่นอน เราต้องเลือกเรียนรู้คุณสมบัติที่ดีในตัวเขา และหากว่าพบข้อบกพร่องของเขา และพิจารณาแล้วว่าตนเองก็มีจุดบกพร่องนั้นเช่นเดียวกัน เราก็ต้องแก้ไขจุดบกพร่องเหล่านั้น” คำพูดของขงจื่อประโยคนี้สอนว่าไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่หรือเวลาใดก็ตาม ก็ควรจะมีความนอบน้อมในและท่าทีในการเรียนรู้จากผู้อื่นที่ถูกต้อง


ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว