ต้นทุนน้ำนมดิบ

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 09:25, 22 มีนาคม 2554 โดย Pphruet (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

เนื้อหา

การคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบ

สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆในการประกอบการ อาทิ ราคาขายหน้าโรงงานไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายปี แม้ปัจจุบันต้นทุนปัจจัยการประกอบการมีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาน้ำนมผลิตเกินความต้องการมีการเททิ้งนับเป็นความสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมาก และยิ่งการที่รัฐบาลได้มีการตกลงระหว่างประเทศทางด้านการค้าเสรี WTO และ FTA โดยเฉพาะประเทศที่มีความแข็งแกร่งในการผลิตน้ำนมโคเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาถูกและคุณภาพดี ดังนั้นจึงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการให้ได้ข้อมูลต้นทุนน้ำนมดิบ ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรจะต้อง “รู้เรา” อย่างแท้จริงเพื่อแข่งขันกับ “เขา” อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

การบัญชีครัวเรือนเป็นต้นแบบของการบัญชีของคนไทยทั่วไปและโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบอาชีพการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการเกษตรด้านใดย่อมถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจ เกษตรกรเป็นผู้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ดำเนินกิจการ มีการใช้ทรัพยากร คือ การเกิดรายจ่ายเพื่อก่อให้เกิดรายได้ มีการจ่ายผลตอบแทนแก่เกษตรกร ผู้ลงทุนและสามารถมองเห็นผลกำไรซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงาน ผู้เขียนขอขอบคุณหน่วยราชการและสถาบันต่างๆหลายแห่งโดยเฉพาะสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ช่วยเหลือด้านเอกสารเผยแพร่ในโครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีแก่เกษตรกรไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาโคนมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.)ที่ช่วยเหลือทางด้านแนวคิดการคำนวณโครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบและข้อมูลตัวอย่างเพื่อใช้ประกอบการพัฒนาโปรแกรม



การบัญชีครัวเรือนกับการคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบ

ผู้ที่ใกล้ชิดกับต้นทุนน้ำนมดิบมากที่สุด คือ เกษตรกรฟาร์มโคนม เกษตรกรควรมีการบันทึกรายรับและรายจ่ายประจำวัน สรุปเป็นรายเดือน และรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานเป็นรายปีต่อเนื่องกัน ระบบการจัดทำข้อมูลควรเริ่มต้นจากบัญชีของเกษตรกรรายวันที่บันทึกรายรับและรายจ่ายประจำวัน ขั้นต่อมาเป็นการบันทึกและคำนวณค่าเสื่อมราคาซึ่งประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคาโคทุกตัวที่อยู่ในฟาร์ม จำแนกเป็น โครีดนม โคแห้งนม โคพ่อพันธุ์ และโคคัดทิ้งแต่ยังคงเลี้ยงอยู่


โครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบ

หลักการคำนวณต้นทุนน้ำนมดิบใช้หลักต้นทุนรวม ต้นทุนที่ก่อให้เกิดน้ำนม คือ

1. แม่โค

2. ต้นทุนในการการเลี้ยงดูแลรักษาแม่โค

3. ต้นทุนกระบวนการรีดนม

4. การขนส่งผลผลิต

จากกระบวนการผลิตน้ำนมดิบ โครงสร้างต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย ดังนี้


ไฟล์:โครงสร้างต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย.JPG


ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ

วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรงและค่าใช้จ่ายในการผลิต ในทางปฏิบัติ เป็นต้นทุนในการดูแลโคทั้งหมดในฟาร์มซึ่งได้แก่ แม่โคที่ให้น้ำนม แม่โคแห้งนม โคในฝูงโคทดแทน โคพ่อพันธุ์ โคคัดทิ้งหรือโคที่ไม่สามารถให้นมแต่เกษตรกรยังคงเลี้ยงอยู่ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโคทั้งหมดมีทั้งโคที่ให้ผลผลิตและโคที่ไม่ให้ผลผลิต


ไฟล์:โครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบ.JPG

โครงสร้างต้นทุนน้ำนมดิบ สามารถอธิบายได้ว่าต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งหมดไม่ใช้ต้นทุนน้ำนมดิบที่ผลิตได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการจัดการฟาร์มโคนม จากในภาพสำหรับฟาร์มที่มีหารเลี้ยงโคทดแทนเพื่อให้ได้แม่โคที่ผลิตนมในอนาคต ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์


อาจารย์ผู้ดูแลบทความ รองศาสตราจารย์ ดร..พรรณนิภา รอดวรรณะ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว