การแพร่กระจายของรังสีไอโอดีน-131
จาก ChulaPedia
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 บริษัทโตเกียว อิเลคทริก พาวเวอร์ (เทปโก้) ได้ออกมายอมรับว่า พบน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในระดับสูงนอกเตาปฏิกรณ์เป็นครั้งแรกที่บริเวณอุโมงค์ซ่อมบำรุงใต้ดินที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเพียง 55 เมตร โดยเป็นอุโมงค์ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ที่ตรวจพบระดับกัมมันตภาพรังสีสูงกว่าปกติ 1 แสนเท่าในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจทำให้มีการไหลซึมของของเหลวที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีออกไปสู่พื้นที่นอกโรงงาน และยังสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการในการควบคุมสถานการณ์อีกด้วย ซึ่งมีขีดความสามารถในการแผ่รังสีสูงทะลุทะลวงทำอันตรายต่อเซลล์ และอวัยวะภายในได้ทันทีที่เข้าสู่ร่างกายและทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
เนื้อหา |
มาตรการการตรวจอาหารนำเข้า
ตามมาตรการเฝ้าระวังสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน จะต้องเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจความปลอดภัยก่อน ทั้งนี้ จากการพบปริมาณการปนเปื้อนในน้ำทะเลแถบประเทศญี่ปุ่นตอนเหนือมากขึ้นจะมีการติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีสัญญาณที่อันตรายมากขึ้น อาจต้องพิจารณาเพิ่มประเทศที่ต้องสุ่มตรวจสินค้า เช่น เกาหลี จีนด้วย โดยการส่งตัวอย่างสินค้าตรวจจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
การปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน
ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐทั้งด้านนิวเคลียร์ และสุขภาพออกมาเตือนว่าน้ำใต้ดิน อ่างเก็บน้ำ และน้ำทะเลในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าไดอิจิ ต้องเผชิญกับการปนเปื้อนอย่างมีนัยสำคัญจากกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกจากโรงไฟฟ้าซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะน้ำและน้ำทะเลปริมาณมหาศาลถูกนำไปใช้เพื่อลดความร้อนของเตาปฏิกรณ์ซึ่งเสียหายอย่างหนักรวมทั้งบ่อเก็บแท่งปฏิกรณ์ใช้แล้ว น้ำที่ฉีดพ่นเข้าไปย่อมต้องปนเปื้อนกับกัมมันตภาพรังสีซึ่งยากที่จะทำให้เชื่อว่าจะไม่ส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงตามมา เพราะคงไม่มีที่สำหรับเก็บเพียงพอสำหรับน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีปริมาณมากขนาดนี้ แม้ว่าปริมาณกัมมันตภาพรังสีจะเจือจางลงแต่เรื่องคงไม่จบลงอย่างสวยงามแน่นอน จำเป็นต้องได้รับข้อมูลจากทางการญี่ปุ่นมากกว่านี้จึงจะประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนได้
การแพร่กระจายของรังสีไอโอดีน-131 (ธาตุพลูโทเนียม) หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นปี 2554
พลูโทเนียมที่เกาหลีใต้
หลายประเทศได้ตรวจพบสารกัมมันตรังสีแล้วแม้แต่จะมีระดับเพียงเล็กน้อยยังไม่ส่งผลใดๆ ต่อสุขภาพก็ตาม โดยสถาบันความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีใต้ระบุว่าตรวจพบไอโอดีน-131 ในกรุงโซลและสถานที่อื่นๆ ทั่วประเทศอีก 7 แห่ง แต่ปริมาณน้อยมากจนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี ทางการเกาหลีใต้ได้เริ่มตรวจสอบปลาที่จับได้ในน่านน้ำเกาหลีใต้ว่ามีการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีหรือไม่
พลูโทเนียมที่จีน
ประเทศจีนได้เปิดเผยว่าตรวจพบไอโอดีน-131 ในระดับต่ำในอากาศหลายพื้นที่ของประเทศ ตั้งแต่พื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ในนครเซี่ยงไฮ้ของมณฑลกว่างซี และมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซึ่งพัดมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไดอิจิ แต่ยืนยันว่ายังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการใดๆ เพราะไม่มีผลกระทบกับสุขภาพ ทางกระทรวงสาธารณสุขจีนได้สั่งการให้มีการตรวจสอบน้ำดื่มและอาหารใน 14 พื้นที่ รวมถึงกรุงปักกิ่งและนครเซี่ยงไฮ้ว่ามีการปนเปื้อนใดๆ หรือไม่
พลูโทเนียมที่ฟิลิปปินส์
สถาบันวิจัยนิวเคลียร์ของฟิลิปปินส์ประกาศว่า ตรวจพบกัมมันตภาพรังสีระดับต่ำที่ยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอากาศเช่นกัน พร้อมกับร้องขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกเพราะมีการตรวจพบกัมมันตภาพรังสีเช่นนี่ในหลายประเทศทั่วโลก
พลูโทเนียมที่สหรัฐอเมริกา
สหรัฐระบุว่าพบไอโอดีน-131 ใน 13 รัฐตั้งแต่ชายฝั่งด้านตะวันออกในรัฐแคลิฟอร์เนียไปจนถึงชายฝั่งตะวันตกในรัฐแมสซาชูเซตส์ ทั้งในอากาศและน้ำฝนคาดว่าจะถูกพัดพามากับลมและเมฆจากมหาสมุทรแปซิฟิกสร้างความหวั่นวิตกไปทั่วประเทศ แม้เจ้าหน้าที่จะยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ตาม แม้กัมมันตภาพรังสีสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลแต่จะลดระดับความเข้มข้นลงไปเรื่อยๆ
พลูโทเนียมที่เวียดนาม
ในเวียดนามมีการตรวจพบไอโอดีน-131 เช่นกัน
พลูโทเนียมที่แคนาดา
มีรายงานการตรวจพบไอโอดีน-131 ระดับต่ำ
พลูโทเนียมที่เยอรมนี
มีรายงานการตรวจพบไอโอดีน-131 ระดับต่ำ
พลูโทเนียมที่อังกฤษ
มีรายงานการตรวจพบไอโอดีน-131 ระดับต่ำ
อ้างอิง
ที่มาข้อมูล
มติชน ฉบับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ