อนุสาวรีย์

จาก ChulaPedia

การปรับปรุง เมื่อ 07:21, 11 เมษายน 2554 โดย Aariya (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)
(ต่าง) ←รุ่นก่อนหน้า | รุ่นปัจจุบัน (ต่าง) | รุ่นถัดไป→ (ต่าง)
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

อนุสาวรีย์และ อนุสรณ์สถาน เป็นสิ่งหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย ไม่ว่าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พระบรมรูปทรงม้า ร.๕ อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม) อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน อนุสาวรีย์เหล่านี้มีลักษณะของความเป็น “monument” มากกว่าความเป็น “memorial” และหลายๆ คนคงไม่ปฏิเสธว่าอนุสาวรีย์หลายๆแห่งกลายเป็น “landmark” (ที่หมายตา) และยังเป็นงานศิลปกรรมซึ่งแฝงความศรัทธาเป็นที่เคารพบูชาบางคราวไม่ต่างจากรูป “ปฏิมากรรม” (งานประติมากรรมทางศาสนา) ความน่าสนใจของอนุสาวรีย์ในทางภูมิสถาปัตยกรรม ก็คือสถานที่ตั้งของอนุสาวรีย์ หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอาจกลายเป็นอนุสรณ์สถานเป็นภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ และสื่อสาร สื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้ผู้มาเยือนรับรู้ถึงเหตุการณ์ บุคคล ในอดีตได้จากอดีตมีหลักฐานถึงสิ่งก่อสร้าง เพื่อสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ เป็นอนุสรณ์ เป็นการประกาศศักดาเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์เป็นการบันทึกถึงบุคคลหรือเหตุการณ์มาช้านานแล้ว อาจจะตั้งแต่มนุษย์เรียนรู้ที่จะก่อสร้างถาวรวัตถุ อาจจะเริ่มตั้งแต่ สโตนเฮนจ์ ปิรามิด ประติกรรมรูปกษัตริย์ราชินีนักรบ วีรบุรุษ วีรสตรี ซุ้มประตูชัย วิหาร ฯลฯ ในยุคใหม่อนุสาวรีย์เริ่มมีลักษณะเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น มีความเป็นศิลปกรรมสาธารณะ แต่ก็เป็นสื่อความหมายเล่าเรื่องความเป็นมาให้กับคนรุ่นต่อมา ได้จดจำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอนุสาวรีย์ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

ประเภทของอนุสาวรีย์

ในประเทศไทยมีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ในเพื่อเป็นการรำลึกถึงมานานแล้ว วิวัฒนาการของการออกแบบอนุสาวรีย์ในไทยนั้น สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้สามกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  1. อนุสาวรีย์ที่เป็นประติมากรรมรูปบุคคล
  2. อนุสาวรีย์ที่เป็นอาคารหรือประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่
  3. อนุสาวรีย์รูปแบบอนุสรณ์สถานที่มีภูมิทัศน์แวดล้อมประกอบ

อนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานในไทยแยกตามยุค

อนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานในไทยแยกตามยุคสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
  • ช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2475
  • ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2510
  • ช่วงระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2511–2530
  • ช่วงเวลาจาก พ.ศ. 2531 – ปัจจุบัน


อ้างอิง

  • [1] อริยา อรุณินท์. อนุสรณ์สถาน : ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ (Memorial Park : the Commemorative Landscape) วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2549.
เครื่องมือส่วนตัว