ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารเช้าและกลุ่มอาการเมแทบอลิกของประชากรวัยทำงาน

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารเช้าและกลุ่มอาการเมแทบอลิกของประชากรวัยทำงาน

ภาวะอ้วนลงพุง หรือ metabolic syndrome คือ กลุ่มของปัจจัยเสี่ยงที่ประกอบด้วยโรคอ้วนลงพุง (ไขมันในช่องท้องมาก) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด1 ในปัจจุบันพบว่าการงดรับประทานอาหารมื้อเช้า มีโอกาสเสี่ยงที่เกิดโรคอ้วน2 และในช่วงวัยทำงานพบประมาณร้อยละ 69 งดอาหารมื้อเช้าเป็นประจำ3 จึงมีการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารเช้ากับกลุ่มอาการเมแทบอลิกของประชากรวัยทำงาน ผลการศึกษาพบว่าการงดอาหารมื้อเช้า ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการมีรอบเอวขนาดใหญ่ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ระดับเอช-ดี-แอล คอลเลสเตอรอลในเลือดต่ำ มากกว่าคนที่รับประทานอาหารมื้อเช้าทุกวัน ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารมื้อเช้าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิกของประชากรวัยทำงาน ดังนั้นควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคอาหารได้แก่ การเพิ่มความถี่ในการบริโภคอาหารมื้อเช้าและนมไขมันต่ำ รวมทั้งลดการบริโภคเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมแทบอลิก เอกสารอ้างอิง 1. Grundy, S.M., Cleeman, J.I., Daniels, S.R., Donato, K.A., Eckel, R.H., Franklin, B.A., et al. 2005. Diagnosis and management of the metabolic syndrome: an American Heart Association/National Heart, Lung, and Blood Institute Scientific Statement. Circulation. 112: 2735–2752. 2. Ma, Y., Bertone, E.R., Stanek, E.J., Reed, G.W., Hebert, J.R., Cohen, N.L., et al. 2003. Association between eating patterns and obesity in a free-living US adult population. Am J of Epi. 158: 85–92. 3. Ministry of Public Health, Health System Research Institute. 2009. The report of Thailand population health examination survey III. Nonthaburi: Ministry of Public Health, Health System Research Institute.


นางสาวมยุรา กาญจนานุรักษ์ 5376574133 : นิสิตปริญญาโท ประจำหลักสูตรอาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์ ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : ผศ.ดร. สุญาณี พงษ์ธนานิกร, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม : ผศ.ดร. กุลวรา เมฆสวรรค์

เครื่องมือส่วนตัว