การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบพหุปัญญา
จาก ChulaPedia
การจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
Gardner (1993) เป็นผู้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ในด้านต่างๆ รวมทั้งหมด 8 ด้าน ดังนี้
1) ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) เป็นความสามารถในด้านการใช้ทักษะการแสดงออกในด้านดนตรีในด้านการชม การสร้างสรรค์จังหวะหรือเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับดนตรี
2) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily – kinesthetic Intelligence) เป็นความสามารถในการประสานสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
3) ปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical – Mathematical Intelligence) เป็นความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาในเชิงตรรกะ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์
4) ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) เป็นความสามารถในการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
5) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) เป็นความสามารถในการจัดการในเรื่องพื้นที่โดยใช้ความคิดและจินตนาการ
6) ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) เป็นความสามารถในการเข้าถึงและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น
7) ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) เป็นความสามารถในการเข้าใจเรื่องต่างๆภายในตัวของตนเอง
8) ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) เป็นความ สามารถในการเรียนรู้เรื่องต่างๆของธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมของตนเอง เช่น พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ทั้งนี้แต่ละบุคคลจะมีระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญาในแต่ละด้านไม่เท่ากัน และมีการผสมผสานความสามารถในแต่ละด้านเหล่านี้ในตัวของบุคคลนั้นๆแตกต่างกันไป โดยการใช้พหุปัญญาสามารถช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญและแก้ไขปัญหาโดยการรู้จักใช้ปัญญาทั้ง 8 ด้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
อาจารย์ผู้ดูแลบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ