มาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ(อุทกภัย) 2553

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

เนื้อหา

สิทธิลดหย่อนภาษีเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย

สิทธิลดหย่อนภาษีเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นมาตรการภาษีที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปใช้หักลดหย่อนหรือหักค่าใช้จ่าย เป็นการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดขึ้นในระหว่างภัยพิบัติได้

ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ มาตรการภาษีของกรมสรรพากร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และผู้บริจาคเงิน/สิ่งของบรรเทาทุกข์ สำหรับภัยพิบัติ อุทกภัย ในปีพ.ศ. 2553 โดยให้สามารถหักลดหย่อนได้เต็มตามสิทธิที่ได้รับ ทั้งการบริจาคผ่านทางหน่วยงานรัฐ หรือผ่านทางภาคเอกชน ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์การขอลดหย่อนภาษีในกรณีต่างๆไว้อย่างครอบคลุม

กรณีเงินบริจาค

ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้จ่ายเงินหรือโอนเงินเข้าบัญชีช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจัดโดย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ( เป็นตัวแทนรับเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย ) ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 อสมท. หรือกองทุนภาคเอกชน เป็นต้น สามารถนำเงินบริจาคนั้นหักลดหย่อนได้ตามจริง(รวมกับเงินบริจาคอื่นๆด้วย) แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว

ผู้บริจาคที่เป็นบริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคนำมาหักรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิในปีที่บริจาค นอกจากนี้กรณีทรัพย์สินหรือสินค้าที่นำไปบริจาคก็ได้รับยกเว้นภาษี

กรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือ หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เมื่อได้รับเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค จะได้รับยกเว้นเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนความเสียหาย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีที่เกิดรอบภาษีนั้นๆ

บุคคลธรรมดาที่ประสบอุทกภัย เมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงิน/ทรัพย์สินที่ได้รับจริงเพื่อการนี้ รวมถึงกรณีที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐก็ได้รับการ

กรณียกเว้นภาษีเงินได้

ผู้รับบริจาคหรือผู้รับเงินชดเชยจากภาครัฐที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ประสบอุทกภัย ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้นเช่น เดียวกัน

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้ รับจากการประกันภัย เพื่อชดเชยความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือ จากการหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว

การขยายเวลาการยื่นแบบแสดง รายการภาษี สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ที่ต้องยื่นแบบในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2553 ได้รับการขยายเวลาโดยให้นำไปยื่นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบภัย ในพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ

อ้างอิง

ที่มาข้อมูล กรมสรรพากร

ผู้รับผิดชอบบทความ ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ

เครื่องมือส่วนตัว