เปลี่ยนความคิด ลิขิตเส้นทางชีวิตของตนเอง

จาก ChulaPedia

ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น

เปลี่ยนความคิด ลิขิตเส้นทางชีวิตของตนเอง เราสามารถไปถึงเป้าหมายชีวิตของเราได้ทุกอย่างหรือไม่ และทำไมไฟแห่งความฝันของเราจึงไม่ลุกโชน

วิธีการพัฒนาตนเอง : การเปลี่ยนวิธีคิด 1. ให้คุณค่ากับสิ่งที่เราคิด ให้มีความเด่นชัด รุนแรง และเร่งเร้า 2. หากเราต้องการจะเป็นอะไร วาดภาพนั้นไว้ในใจ 3. หมั่นคิดซ้ำๆ บ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง


เทคนิคที่ใช้ในการเปลี่ยนวิธีคิด 1. กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด แม้ว่าเคยล้มเหลว หรือมีปมด้อย ไม่จมอยู่กับสิ่งเหล่านั้น 2. ทำใจให้เหมือนเด็ก สนุกกับการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ 3. กล้าจะสร้างเป้าหมาย และใช้เป้าหมายเป็นตัวกำหนดทิศทางในการใช้ชีวิต 4. ไม่เสียเวลาทำตัวให้เป็นที่รักและพอใจของทุกๆ คน เพราะจะทำให้สูญเสียความเป็นตัวของตนเอง 5. เรียน รู้จากความผิดพลาด ไม่ทำให้ความผิดพลาดนั้นเป็นตัวทำลายพลังชีวิต แต่ให้เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น 6. สร้างพลังอำนาจจากภายใน ว่าเรามีความสามารถในการจะทำในสิ่งที่เราต้องการจะทำ 7. ไม่ปิดกั้นตัวเอง และบอกตัวเองว่าเราทำได้ 8. มีเป้าหมายและอุดมการณ์ ที่จะทำให้ความหวังของตนเองประสบความสำเร็จ 9. เมื่อต้องการจะเป็นอะไร ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองให้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายนั้น 10. มีความความรัก และรู้สำนึกในพระคุณของผู้อื่นและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองเรา และมีส่วนช่วยทำให้เรามีวันเวลาที่ดีในปัจจุบัน 11. ไม่ละเลยมาตรฐานในการทำงานหรือการสร้างเป้าหมายชีวิต 12. การสั่งจิตใต้สำนึกว่าเราทำได้ โดยการพูดกับตนเองบ่อยๆ ซ้ำๆ จะทำให้มีกำลังใจและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ 13. หยุดยั้งสิ่งครอบงำในอดีต ไม่ปักใจเชื่อว่าคนอื่นจะดีกว่าเราหรือเราไม่ดีพอ 14. ฝึกมองชีวิตเพื่อคนอื่น บอกตนเองว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้น ส่งผลดีอย่างไรกับสังคมบ้าง จะทำให้เราภูมิใจในชีวิตมากขึ้น 15. มีจิตแช่มชื่นเมื่อนึกถึงความดี ที่เราได้กระทำลงไป


แนวทางในการพัฒนาตนเอง 1. ฝึกหัด การแสดงออกเพื่อสร้างนิสัย เริ่มจากการปรับความคิด ความรู้สึก การรับรู้ และการตีความสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เพื่อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการกระทำที่เคยชิน 2. ฝึกหัดคิดเชิงบวกอย่างว่องไวและซ้ำๆ จะทำให้เกิดความรู้สึกที่มั่นคงในการทำสิ่งที่ดีมากยิ่งขึ้น 3. ฝึกหัด การทำความรู้สึกที่ดีให้มีอำนาจ ด้วยการนำความรู้สึกที่ดีไปแทนความรู้สึกทางลบบ่อยๆ จะทำให้สามารถควบคุมจิตใต้สำนึกของตนเองได้ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนิสัยของตนเองในที่สุด 4. ฝึกหัดการทำความรู้จักและเข้าใจความรู้สึกเชิงลบของตนเองและผู้อื่น 5. คนทั่วไปมักมีความเคยชินในการแก้ตัว อดไม่ได้ที่จะแก้ตัวในสิ่งที่ผิดพลาด 6. คนทั่วไปมักยึดติด คิดว่าสิ่งนั้นเป็นของตน ปรับเปลี่ยนไม่ได้ 7. คนทั่วไปมักคิดเรื่องที่ทำให้เป็นทุกข์ วนเวียนอยู่ในใจ ทำให้ทุกข์ใจซ้ำซาก 8. คนทั่วไปมักให้อภัยคนอื่นไม่เป็น จะทำให้ไม่สามารถลืมความรู้สึกทางลบที่เคยเกิดขึ้นได้ 9. ฝึกหัดที่จะบอกตัวเองว่าเรื่องนั้นมันจบแล้ว เลิกคิดถึงสิ่งที่ผิดพลาด ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป 10. ฝึกหัดการมองอดีตที่เป็นทุกข์ในรูปแบบใหม่ โดยการตีความสิ่งที่เกิดขึ้นในทางที่ดี ที่ไม่เคยคิดมาก่อน 11. ฝึกหัดการไม่ใช้ความรู้สึกจากใจนำสมอง เพราะทำให้ขาดสติ มองไม่เห็นปัญหา และพยายามใช้ปัญญาให้เกิดประโยชน์ 12. ฝึกหัดการมองสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่มุมที่หลากหลาย ไม่มองแง่เดียว 13. ฝึกหัดการควบคุมการตัดสินใจ ไม่ปล่อยให้ถูกรบกวนความคิดว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรต่อเรา เพราะเขาอาจจะไม่คิดอะไรต่อเราเลยก็ได้ 14. พยายาม หาตัวแบบในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างแนวทางในการปฏิบัติตนเมื่อต้องประสบกับภัยหรือสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตทั้งในเรื่องงานหรือชีวิต 15. ฝึกหัดการลด ละ และเลิกให้ความสำคัญกับสิ่งที่รบกวนจิตใจ เพราะสิ่งนั้นจะเป็นตัวทำลายสุขภาพ ความสัมพันธ์ ครอบครัว ธุรกิจและสังคม 16. ฝึกหัดการไม่กล่าวโทษผู้อื่น และยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น 17. ฝึกหัดการกล้ารับผิดชอบ กล้าบอกว่าเราเป็นคนผิดและยอมรับผิดชอบเอง จะทำให้ความเครียดที่ทำลายจิตใจของเราลดน้อยลงไป 18. ฝึกหัดการมอบสันติสุขด้วยการอภัย 19. อภัยให้ทุกคนที่เคยทำให้เราเจ็บปวดในทุกๆ เรื่อง การอภัยจะทำให้เราหลุดพ้นจากความไม่สบายใจ เพราะเราจะไม่คิดวนเวียนกับคนที่ทำให้เราโกรธอีกต่อไป 20. การสลัดทิ้งความโกรธทำได้ด้วยการเขียนความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น กับคนที่เราโกรธ แล้วทำลายมันทิ้งเสีย


การสร้างเป้าหมายเพื่อไปให้ถึง 1. สร้างความฝัน คำมั่นว่าต้องไปให้ถึงเป้าหมาย ปล่อยใจให้เป็นอิสระจากพันธนาการหรือข้อจำกัดทั้งปวง 2. วางแผนความฝันให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง ต้องบอกให้ได้ว่าตนเองต้องการอะไรในอนาคต และวาดภาพของตนเองในทุกด้านที่ต้องการ 3. เขียนรายการที่ฝันลงในกระดาษโดยไม่ต้องมีขีดจำกัด 4. กำหนดสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน ควรเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน เด่นชัด วัดได้ และสัมพันธ์กับเวลา 5. สำรวจและถามตัวเองในสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันว่าคุ้มกับเวลาที่เสียหรือไม่ เพื่อให้มีทิศทางในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น 6. สละสิ่งไม่จำเป็น หรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมาย และหาหนทางในการพัฒนาสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ไปถึงความฝัน 7. ลำดับความสำคัญที่จะไปยังเป้าหมาย และวางแผนว่าสิ่งใดที่เป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่ควรจะกระทำก่อนหรือหลัง 8. มั่นใจลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดโดยไม่ลังเล 9. กระทำทุกวัน เชื่อมั่นที่จะเดินทางไปสู่ความฝันของตน 10. ไม่ยอมแพ้ ท้อถอยต่ออุปสรรค หรือเลิกล้มความตั้งใจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชูพงศ์ ปัญจมะวัต

เครื่องมือส่วนตัว