โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีสำหรับลูกเสือชาวบ้าน
จาก ChulaPedia
โปรแกรมการเรียนรู้นี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการทดลองการวิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี สำหรับลูกเสือชาวบ้าน ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับตัวแทนลูกเสือชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 50 คน โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการแนวคิดกลุ่มสัมพันธ์ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิส และการเพิ่มศักยภาพตนเองของ แอนโทนี่ รอบบินส์ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี กลุ่มสัมพันธ์ได้เข้าไปมีบทบาทในวงการต่างๆโดยทั่วไป แต่ที่น่าสนใจคือวงการบริหาร หรือในการทำงาน ซึ่งจะเห็นได้จากในปัจจุบันมีการนำหลักการกลุ่มสัมพันธ์เข้ามาประกอบการฝึกอบรม (ทิศนา และเยาวภา, 2522) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์แนวคิดหลักของการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ประกอบด้วย
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ 3) ยึดการค้นพบด้วยตนเอง 4) เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน 5) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ร่วมกับ แนวคิดการจัดกิจกรรมของแอนโทนี่ ร็อบบินส์ ประกอบด้วย
1) การเชื่อมั่นในศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่มีอยู่ภายในตัวผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน 2) การยึดมั่นในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอย่างเท่าเทียมกันโดยยึด " ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นศูนย์กลาง " ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดภายในตัวผู้ร่วมกิจกรรมให้เปล่งประกายออกมาให้มากที่สุด 4) การถือมั่นในความรับผิดชอบต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ที่จะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์ได้ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเน้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ 3) ยึดการค้นพบด้วยตนเอง 4) เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานมีความรับผิดชอบต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ส่วนแนวคิดการจัดกิจกรรมแนวนีโอฮิวแมนนิส ประกอบด้วย 1) บรรยากาศผ่อนคลาย 2) ภาพพจน์ที่ดีต่อตนเอง 3) ปฏิบัติสม่ำเสมอ 4) จูงใจเพื่อส่งเสริมการเรียน
ผู้วิจัยได้นำมาเป็นแนวการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุถึง หัวข้อกิจกรรมซึ่งจากการวิเคราะห์ได้แนวคิดการจัดกิจกรรม ดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเน้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ 3) ยึดการค้นพบด้วยตนเอง เชื่อมั่นในศักยภาพ อันยิ่งใหญ่ภายในตน พัฒนาศักยภาพอันไร้ขีดจำกัด 4) เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงานมีความรับผิดชอบต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ประกอบด้วยกิจกรรม โยคะอาสนะ การหายใจ เต็มปอดสม่ำเสมอ ผ่อนคลาย ทั้งร่างกายและจิตใจ รับประทานอาหารอย่างสมดุล การทำสมาธิ และการคิดในเชิงบวก ผู้วิจัยได้นำพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) 18 ข้อ ประกอบด้วย 1) การเคารพระเบียบของสังคม 2) การเคารพกฎหมาย 3) การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ 4) การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน 5) การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ 6) การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล 7) การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น 8) การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่าการ 9) ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ 10) การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น 11) การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า 12) การประหยัดและอดออมในครอบครัว 13) การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า 14) การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม 15) การสร้างงาน และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก 16) การทำงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา 17) การมีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม และรักษาสาธารณสมบัติ 18) การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา
และความเป็นพลเมืองดีในทัศนะคติของลูกเสือชาวบ้าน ประกอบด้วย 1) มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) มีเกียรติเชื่อถือได้ 3) มีระเบียบวินัย สามารถบังคับใจตนเองได้ 4) สามารถพึ่งตนเองได้ 5) เต็มใจและสามารถช่วยเหลือชุมชน และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ทุกเมื่อ
โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์เป็นพลเมืองดีเพื่อนำไปใช้ประกอบในการวิจัยได้ผลดังมีรายละเอียดคือ 1) มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เคารพกฎระเบียบของสังคม ประกอบด้วย การเคารพระเบียบของสังคม และการเคารพกฎหมาย 2) มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในอุดมการณ์ มีเกียรติเชื่อถือได้ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นผู้ผลิต และผู้บริโภคที่ดี ประกอบด้วย การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และการเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ 3) ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นที่ดีกว่า อดทนต่อความขัดแย้ง แสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล ประกอบด้วย การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่าการ ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และการยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า 4) สามารถพึ่งตนเองได้ ประกอบด้วย การประหยัดและอดออมในครอบครัว การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม การสร้างงาน และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก และการทำงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา 5) มีจิตสาธารณะ เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ กล้าเสนอตนเป็นตัวแทน ประกอบด้วย การมีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม และรักษาสาธารณสมบัติ และการกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร