กฎหมายวิทยุโทรทัศน์
จาก ChulaPedia
คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ( กบว.) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน ๑๖ คน เป็นกรรมการ คณะกรรมการ กบว. ยังได้แต่งตั้งอนุกรรมการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการต่าง ๆ เช่น รายการละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และโฆษณา ทำให้อำนาจหน้าที่ในด้านการควบคุมเซนเซอร์รายการเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่าอำนาจหน้าที่ด้านอื่น ๆ คณะกรรมการ กบว. ยังได้แต่งตั้อนกรรมการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการต่าง ๆ เช่น รายการละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และโฆษณา ทำให้อำนาจหน้าที่ในด้านการควบคุมเซนเซอร์รายการเป็นที่รู้จักของประชาชนมากกว่าอำนาจหน้าที่ด้านอื่น ๆ ในปี ๒๕๓๕ ภายหลังวิกฤตการณ์การเมืองเดือนพฤษภาคม รัฐบาลได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๕
ให้มีคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง�และวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ( กกช.) หรือ National Broadcasting Commission (NBC) ประกอบด้วย
- นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน - กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงาน (ที่เป็เจ้าของคลื่นความถี่) ๘ คน - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ วารสาร - ศาสตร์หรือสื่อสารมวลชน ๓ คน - ผู้แทนองค์การเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ ๕ คน - อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นกรรมการ และเลขานุการ
ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ยังไม่สามารถกำกับดูแลให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเสนอข่าวสารที่เป็นจริงและรายการที่มีคุณภาพได้ ในช่วงที่มีการดำเนินการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ด้วย เนื่องจากเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ปิดบัง และบิดเบือนความจริง
ดังนั้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลและส่งเสริมกิจการด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ หรือเรียกชื่อย่อว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น�ความถี่ฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน ๗ คน ซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาที่เป็นตัวแทนของส่วนราชการ, สถาบันการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, องค์กรหรือสมาคมวิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ และองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อสารมวลชน หรือใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ �และแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
2. กำหนดให้มีการจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยให้มีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะระดับ ท้องถิ่น เป็นสถานีประจำจังหวัด ให้จัดสรรคลื่นความถี่โดยคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้จัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ โดยได้รับการสนับสนุนจาก กสช.
โดย Introduction to Mass Media Team Teaching
รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
รศ. ปัทวดี จารุวร
ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต
ผศ. เมธา เสรีธนาวงศ์
อ. ไศสทิพย์ จารภูมิ
รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์